1. บริบทชุมชน
ลักษณะทางภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านปางสาเป็นพื้นที่ลุ่ม การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนและการเพาะปลูกเป็นลักษณะเรียบเชิงเขาและแม่น้ำ
ชาวบ้านปางสาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขมุ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาในการสื่อสารเป็นภาษาพื้นเมือง ส่วนวัยกลางคนและผู้นำชุมชนสามารถใช้ภาษาไทยได้ มีแหล่งน้ำสำคัญได้แก่ แม่น้ำยาว ห้วยยุง ห้วยน้ำลึก ห้วยเอี่ยน และห้วยเขิน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรเป็นอาชีพหลัก รองลงมาคือรับจ้างทั่วไปและช่างทำบ้าน
2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านวังผาง ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
จำนวนครัวเรือน 148 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 950 คน
4.สถานที่สำคัญ
1)โรงเรียนบ้านน้ำโมงปางสา
2)สำนักสงฆ์สันติวธาราม
5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ
เส้นทางน้ำหลักของพื้นที่บ้านปางสาแบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือ 1) น้ำยาว ไหลมาจากอำเภอสองแคว 2) น้ำธรรมชาติจากภูเขาจะไหลหลากเฉพาะช่วงฤดูฝน ประกอบด้วย ห้วยยุง ,ห้วยน้ำลึก ไหลมาจากภูเขาผ่านเขตบ้านสันเจริญ บ้านน้ำลัก บ้านน้ำกิ , ห้วยเอี่ยน และห้วยเขิน แล้วไหลมาลงน้ำยาว
7.พื้นที่เสี่ยง
การเกิดน้ำท่วม/ดินสไลด์ และผลกระทบของบ้านปางสา สาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมคือน้ำที่หลากและปริมาณน้ำสูงในช่วงฤดูฝน ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรที่อยู่ติดริมฝั่งลำน้ำและราบเชิงเขา ตลอดจนกัดเซาะตลิ่งอันมีผลต่อการเกิดดินสไลด์ เกิดผลกระทบ 1) ที่อยู่อาศัยปี 2549 ท่วมบ้านเรือน 9 หลังบริเวณริมน้ำยาว ระดับน้ำ 3 เมตร ท่วมนาน 3 – 4 วัน ปี 2553 ท่วม 3 หลัง ระดับน้ำลดลงเหลือ 1 เมตร ท่วม 1 วัน รวมถึงคอกสัตว์ เครื่องมือการเกษตร และไม้แปรรูปที่ชาวบ้านเตรียมไว้สำหรับซ่อมแซมบ้านจากการเกิดน้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา แต่ในปี 2560-2561 ไม่เกิดน้ำท่วมที่อยู่อาศัย เนื่องจากชาวบ้านปรับตัวย้ายที่ตั้งบ้านเรือนไปอยู่ที่สูงและไกลจากริมน้ำ2) พื้นที่ทำการเกษตรแบ่งเป็น 2.1)ไร่ข้าวโพด บริเวณพื้นที่ในหุบเขาติดฝั่งน้ำยาวท่วมสูง 10 เมตร ปี 2549 ท่วม 3 วัน ปี 2561 ท่วม 1 วัน 2.2) สวนผลไม้บริเวณใกล้กับห้วยยุง เช่น มะม่วง กาแฟ ทุเรียน เป็นต้น ระดับการท่วม 1-2 เมตร 1 วัน ดังนั้น ท่วมพื้นที่เกษตรโดยรวมประมาณ 300 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 7,400 ไร่
8. ผลกระทบ
น้ำที่ไหลบ่าจากภูเขาก็มีผลให้เกิดดินสไลด์ด้วยเช่นกัน เกิดผลกระทบดินสไลด์ลงมาทับถมถนนลูกรังที่ใช้เข้าพื้นที่การเกษตร ในช่วงฤดูฝนชาวบ้านต้องเข้าไปเก็บผลผลิตซึ่งเป็นวิธีการเตรียมตัวรับมือภัยน้ำท่วม แต่ก็ต้องเผชิญกับดินที่ทับถมทาง เมื่อเข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ ผลผลิตเน่าเสียนำไปขายไม่ได้ ความเสียหายของผลผลิตด้านการเกษตรในภาพรวมจึงเป็นสถานการณ์ 2 ลักษณะ คือ 1) ข้าวโพดที่เก็บไม่ทันถูกน้ำท่วมเสียหาย 2)ผลผลิตเน่าเสีย นำไปขายไม่ทัน ทั้งข้าวโพดและผลไม้อื่นๆ
9.การจัดการภัยก่อนเกิด/ระหว่าง/หลังเกิดภัย
ก่อนเกิดภัย
- ชาวบ้านใช้ที่พักสงฆ์สันติวธารามเป็นสถานที่ปลอดภัยในการตั้งจุดรับการช่วยเหลือของภาครัฐ หรือใช้เป็นที่เตรียมรับมือภัยเมื่อสถานการณ์น้ำวิกฤต
- การจัดการภัย เมื่อชาวบ้านเผชิญกับอุทกภัยหนักปี 2549 ในปี 2553 ได้เตรียมยกบ้านให้สูงขึ้น ส่วนบ้านริมน้ำยาวก็เปลี่ยนที่ตั้งบ้านใหม่ในที่สูงและไกลจากริมน้ำ ด้านการเกษตรเตรียมเก็บผลผลิตก่อนน้ำหลาก และปัจจุบันชาวบ้านได้จัดเวรเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ เมื่อมีการเตือนจากระบบโทรมาตรที่สะพานน้ำยาวจะรีบเก็บของขึ้นที่สูง
- ด้านการแจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังจากสถานีโทรมาตรวัดน้ำที่สะพานน้ำยาว และประกาศเสียงตามสาย โดยผู้นำได้รับข้อมูลมาจากบ้านริม และอำเภอสองแคว
ระหว่างเกิดภัย
· หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ แพทย์ ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,ทหาร ,อบต.,อำเภอ, ได้เข้าพื้นที่สอบถามชาวบ้านเรื่องอาหาร ของยังชีพ และเรือยนต์ เพื่อการบริหารจัดการ อีกทั้งช่วยดูแลด้านเศษไม้ ขยะ ออกจากสะพานน้ำยาวซึ่งเป็นทางสัญจรหลักของหมู่บ้าน
หลังเกิดภัย
- การชดเชยเยียวยา จะได้รับเงินชดเชยผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากองค์การบริหารส่วนตำบลผาทอง เช่น ข้าวโพดได้ค่าชดเชย 1,000 -1,500 บาท/ไร่ เป็นต้น โดยมีเงื่อนไขว่าต้องถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ ในกรณีที่เข้าไปเก็บผลผลิตก่อนแล้วไม่สามารถนำออกมาขายได้จะไม้เข้าเงื่อนไขการรับค่าชดเชย
- ด้านการช่วยเหลือ ภาครัฐได้สนับสนุนถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆให้กับผู้ประสบภัย แต่มีข้อจำกัดคือ การนำสิ่งของทุกอย่างใส่รวมกันทำให้อาหารเสียง่าย เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะดูดกลิ่นสบู่และผงซักฟอก หรือปลากระป๋องที่ภาชนะบุบหรือหมดอายุ
- ช่วยดูแลด้านเศษไม้ ขยะ ออกจากสะพานน้ำยาวซึ่งเป็นทางสัญจรหลักของหมู่บ้าน
10.ข้อเสนอแนะ
- เส้นทางเข้าพื้นที่เกษตรที่ดินสไลด์ควรแก้ไขเป็นลำดับแรก
- การบริจาคถุงยังชีพ ให้เปลี่ยนจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและปลากระป๋องเป็นอาหารแห้ง เช่น พริกแห้ง กระเทียม ปลาแห้ง ข้าวสาร เป็นต้น
11.พิกัดพื้นที่
จุดที่ 1 บริเวณดินสไลด์ เป็นเส้นทางหลักใช้สำหรับเข้าพื้นที่เกษตร อีกทั้งน้ำยาวกัดเซาะตลิ่งทุกปี หลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2549 อบต.ได้ทำโครงการสร้างซีเมนต์กั้นตลิ่งแต่ปัจจุบันรับน้ำไม่ไหว




จุดที่ 2 บริเวณสะพานข้ามน้ำยาวและคอกสัตว์ที่อยู่ริมน้ำ เมื่อฤดูฝนน้ำจะพัดเอาขยะ ท่อนไม้ วัสดุทางการเกษตรที่ถูกน้ำท่วมไหลมาติดสะพาน กีดขวางทางน้ำ และคอกสัตว์บริเวณของชาวบ้านที่เสี่ยงต่อการไหลหลากของน้ำ ปี 2553 สะพานน้ำยาวขาด




จุดที่ 3 สะพานห้วยยุง ชำรุดเสียหายจากน้ำกัดเซาะ ปัจจุบันยังไม่มีการซ่อมแซม




จุดที่ 4 ถนนสัญจรเส้นบ้านสันเจริญ – ปางสา ฤดูน้ำหลากจะพัดพาดินโคลนและหินขนาดใหญ่ทับทางสัญจร ตลอดจนน้ำกัดเซาะพื้นที่ใต้ถนนคอนกรีตและท่อระบายน้ำที่อุดตัน



12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
คุณบุญทัน นำสุข ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 084-4844016
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562