1. บริบทชุมชน
บ้านท่าค้ำ 2 เป็นพื้นที่ราบลุ่มตามความยาวของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ชุมชนนำมาใช้อุปโภค บริโภค และใช้ในการเกษตร
อยู่ในความปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลริม โดยมีนายวิชิด กันทะ เป็นผู้ใหญ่บ้านท่าค้ำ 2 ในปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ทำอาชีพทำนา ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลืองเป็นบางส่วนและนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่
2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านท่าค้ำ หมู่ที่ 3 ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อ แม่น้ำน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำน่าน
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
ประชากรจำนวน 799 คน รวม 271 ครัวเรือน
4.สถานที่สำคัญ
1) วัดสุวรรณาวาส
2) โรงเรียนท่าค้ำ
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ
บ้านท่าค้ำมีแม่น้ำน่านไหลผ่านเข้าไปทางหนองหลงโดยหนองหลงนั้นจะมีคลองน้ำเล็กๆ ที่ไหลผ่านไปยังหมู่บ้านป่าไคร้ ซึ่งหากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมหมู่บ้านท่าค้ำน้ำน่านจะหนุนสูงขึ้นไปข้างบนหมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ติดกับริมน้ำ) ดังนั้นจึงทำให้น้ำที่หนุนสูงขึ้นไหลเข้าท่วมหนองหลงซึ่งปากทางที่จะเข้าไปหนองหลงนั้นจะมีท่อระบายน้ำอยู่2 ท่อ ซึ่งท่อนี้เป็นท่อที่มีขนาดเล็กเป็นปัญหาน้ำไม่สามารถที่จะระบายได้ทันการ ดังนั้นจึงทำให้หนองหลงน้ำท่วมไหลเข้าหมู่บ้าน ไร่นา ของชาวบ้าน
หนองหลงเป็นพื้นที่ที่น้ำไหลเข้า – ออก ในเวลาที่ถูกน้ำท่วมหนองหลงจะไม่มีการระบายน้ำได้ทันซึ่งเกิดจากปัญหาท่อน้ำที่อยู่ในพื้นที่หนองหลงเป็นท่อที่ต่ำ มีท่ออยู่ 2-3ท่อด้วยกัน ซึ่งท่อน้ำนี้จะต่ำกว่าจุดท่อที่อยู่บริเวณสะพานที่เชื่อมไปยังอยู่บ้านป่าไคร้
7. พื้นที่เสี่ยงภัย
1) จุดริมแม่น้ำน่าน (ตลิ่งถูกกัดเซาะ) เป็นพื้นที่เนินและถูกน้ำกัดเซาะเมื่อ ปี 61 โดยน้ำไหลเฉี่ยวอยู่บริเวณบ้านที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำ
2) จุดบริเวณวัด (จุดที่น้ำท่วมและลึกที่สุด) เป็นจุดที่วิกฤตของบ้านท่าค้ำ น้ำท่วมสูงถึง 2 เมตร ท่วมขังอยู่ประมาณ 5-6 วันโดยกัน
8.ผลกระทบ
โดยหมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านที่ลุ่มในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร เช่น นาข้าว ไร่ข้าวโพดน้ำท่วมประมาณ 5-6 วันทำให้นาข้าว ไร่ข้าวตาย และพื้นที่อาศัยนั้น 80% ที่ถูกท่วมน้ำ โดยแบ่งออกเป็น จุดที่ 1 บ้านที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำน้ำท่วม 1เมตร – 1 เมตร 50 นั้นจะท่วมน้ำท่วมก่อนเป็นที่แรกและเป็นพื้นที่ที่น้ำไหลเฉี่ยวมาก จุดที่ 2 พื้นที่ที่อยู่บริเวณวัด ซึ่งจะถูกน้ำจากหนองหลง+แม่น่านที่หนุนสูงเข้าท่วม บริเวณน้ำสูงถึง 2-3 เมตร เส้นทางในหมู่บ้านนั้นจะถูกตัดขาด และพื้นที่ที่อยู่อาศัยมีจำนวน 280กว่าหลังคาเรือน และที่ได้รับความเสียหาย 240 กว่าหลังคาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งหมู่บ้านนั้นจะได้รับผลกระทบจากน้ำทุกปี
เนื่องจากทางฝั่งตรงข้ามได้มีการสร้างฝั่งกั้นน้ำจึงทำให้ตลิ่งของหมู่บ้านถูกน้ำกัดเซาะเมื่อ ปี61 เป็นจำนวนมาก
และเมื่อ ปี 49 น้ำท่วมหนักหมู่บ้านโดนน้ำท่วมทั้งหมด
ปี 59 น้ำท่วมหนักแต่มีบางหลังคาเรือนที่น้ำท่วมไม่มาก
ปี 61 น้ำท่วมหนักแต่บริเวณวัดขึ้นไปนั้นน้ำไม่ท่วม
9. การจัดการภัย
- ก่อนเกิดภัย ชาวบ้านได้รับฟังข่าวสารจากสถานีวิทยุลำไยเรดิโอ โทรทัศน์ รวมถึงหอกระจายข่าวในชุมชนที่ทางผู้นำได้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านได้รับทราบในเรื่องของการเฝ้าระวังปริมาณน้ำน่าน รวมถึงการสังเกตสถานการณ์น้ำขึ้น – ลง หากมีการแจ้งจากหมู่บ้านอื่นทางผู้นำจะมีการแจ้งให้กับลูกบ้านเพื่อให้มีการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง การอพยพออกนอกพื้นที่และมีการย้ายผู้สูงอายุอาศัยอยู่บ้านญาติในพื้นที่ใกล้เคียง
- ระหว่างเกิดภัย ทาง อบต.ริม ได้มีการออกพื้นที่แจกจ่ายสิ่งของ อาหาร ถุงยังชีพให้กับบ้านที่ถูกน้ำท่วม
- หลังเกิดภัย ทาง อบต.ริมได้มีการเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการทำความสะอาดพื้นที่อาศัย ถนน และมีการสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย
10. ข้อเสนอแนะ
- ไม่มี
11. พิกัดพื้นที่
จุดที่1 พื้นที่ถูกกัดเซาะ เมื่อปี 61 เนื่องจากมีการก่อสร้างคันหรือตลิ่งบ้านดอนชัย ต้นฮ่างจึงทำให้บ้านป่าค้ำโดนหนักและบ้านที่อยู่ติดริมน้ำและน้ำไหลเชี่ยว



จุดที่ 2 พื้นที่การเกษตรน้ำหนัก 2-3เมตร


จุดที่ 3 ท่อน้ำเชื่อมต่อป่าคา มี 3 ท่อที่น้ำไหลไม่ทัน



จุดที่ 4 สะพานจะที่น้ำไหลเข้า ออกที่เป็นปัญหา ที่โดนน้ำดัน เป็นจุดอับ



จุดที่ 5 โรงไฟฟ้า จุดท่อระบายน้ำที่มีปัญหา คือท่อน้ำต่ำ และเล็กจึงทำให้น้ำระบายไม่ทัน



จุดที่ 6 น้ำที่ท่วมหนักและเป็นจุดวิกฤต ถนนข้างล่างวัด



12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
1) นายวิชิด กันทะ (ผู้ใหญ่บ้าน) 091-8509243
2) ผู้ช่วยทวี 080-4993322
3) ผู้ช่วยวัชรา อินยา 091-8122795
4) พี่เข้ม (รักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน) 098-1652978
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562