[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านทุ่งฆ้อง หมู่ที่ 5 ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

บ้านทุ่งฆ้อง หมู่ที่ 5 เป็นพื้นที่ราบ มีน้ำไหลผ่าน คือ น้ำย่าง ที่ชาวบ้านใช้เป็นน้ำทางการเกษตร ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพการเกษตร ทำนา ข้าวโพด พริก และผักสวนครัว ในหมู่บ้านมีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 400 ไร่

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดกับ บ้านเชียงยืน ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดกับ บ้านหนอง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดกับ บ้านสมบั่ว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดกับ บ้านศิลาเพชร ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

ประชากร 404 คน จำนวน 145 หลังคาเรือน

4.สถานที่สำคัญ

         1) วัดทุ่งฆ้อง

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

         ทิศทางการไหลของน้ำบ้านทุ่งฆ้อง จำนวน 1 สาย ด้วยกันคือ เส้นทางน้ำย่าง หากน้ำย่างมีปริมาณที่มาก น้ำย่างจะเอ่อล้นตลิ่งทำให้เข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร 

7. พื้นที่เสี่ยงภัย

         บ้านทุ่งฆ้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมบ้านที่อยู่ติดริมตลิ่งของแม่น้ำย่าง ระดับน้ำสูง 2เมตร และพื้นที่ที่มีฝายทรุดตัวลงทำให้น้ำเข้าพื้นที่ทางการเกษตรที่อยู่ติดริมน้ำย่างไหว ทำให้มีระดับน้ำสูงราว 1เมตร

8.ผลกระทบพื้นที่

         หมู่บ้านทุ่งฆ้อง ได้รับผลกระทบจากลำน้ำย่าง ในเวลาที่น้ำย่างมีปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้านจำนวน100กว่าไร่ รวมถึงพื้นที่อาศัยของชาวบ้านที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำย่าง ได้รับผลกระทบจำนวน 9 หลังคาเรือน 

9. การจัดการภัย 

  • ก่อนเกิดภัย ชาวบ้านทุ่งฆ้องได้มีกาติดตามข่าวสารทางวิทยุชุมชน โทรทัศน์ หอกระจายข่าวในชุมชนโดยทางผู้นำชุมชนได้มีการประกาศ การติดตามน้ำ รวมถึงการเฝ้าระวังการขนย้ายสิ่งของขึ้นบริเวณที่สูง และการนำผู้สูงอายุ ผู้ป่วยไว้ที่บ้านญาติ
  • ระหว่างเกิดภัย มีหน่วยงาน เข้ามาแจกอาหารกล่อง และถุงยังชีพ บริเวณบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
  • หลังเกิดภัย มีการสำรวจพื้นที่ที่ไดรับผละกระทบ เช่นพื้นที่ทางการเกษตร เพื่อจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย

10. ข้อเสนอแนะ    

  • ไม่มี

11.พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 ฝายต้นเคาะ (ต้นเคาะ) เพราะแม่น้ำกัดเซาะฝายทำให้ฝายทรุดตัวลง และมีปัญหาในเรื่องของตลิ่งพัง ตลิ่งพังเมื่อปี 58 และปีที่หนักสุดปี 61 ฝายของกรมทรัพยากรมาทำ

จุดที่ 2 ฝายพร้าว ฝายที่หมู่บ้านได้รับผลประโยชน์ 5 หมู่บ้าน บ้านเซี่ยว ม.6 บ้านสบบั่ว ม.2 บ้านพร้าว ม.8 บ้านก๋ง ม.1 ปัญหาน้ำย่างเปลี่ยนทิศทางการไหล คือ เป็นกล่องเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะแต่ปัจจุบันนั้นตลิ่งพังทุกปี (น้ำย่าง) น้ำไหลไปทางบ้านสบบั่ว

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) นายเกียรติ 081-0350847

            2) นายเฉลิม 084-4348577

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562