1. บริบทชุมชน
ลักษณะของภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านวังทอง หมู่ที่ 2 ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ราบสูงสลับราบต่ำเรียบริมฝั่งลำน้ำยาว
มีแหล่งน้ำสำคัญ 3 แหล่ง คือ ลำน้ำยาว ห้วยภู และห้วยขวา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ผู้คนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ
2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านแหน2 ต.ผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแสนทองต.ผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนเส้นหลักน่าน – เชียงคำ และองค์การบริหารส่วนตำบลผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตป่าสาธารณะ ต.ผาตอ และต.แสนทอง จ.น่าน
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
จำนวนครัวเรือน 70 หลังคาเรือน ประชากร 276 คน
4.สถานที่สำคัญ
- วัดวังทอง
- โรงเรียนวังทอง
- ศาลาประชาคมหมู่บ้าน
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ
เส้นทางน้ำของบ้านวังทองมี 2 สายหลัก คือ 1) เส้นน้ำยาว มาจากเขตอำเภอสองแควไหลผ่านบ้านสบเป็ด บ้านน้ำโมง และบ้านแหน 2 และไหลลงแม่น้ำน่าน 2) เส้นน้ำธรรมชาติจากภูเขา คือ ห้วยภู จากภูเขาด้านทิศตะวันตกและห้วยขวาจากภูเขาด้านทิศใต้ของชุมชน ทิศทางการไหลของน้ำเมื่อฤดูฝนน้ำจากภูเขาจะไหลลงด้านลงผ่านพื้นที่ทำนาที่อยู่ต่ำกว่าเพื่อไหลลงแม่น้ำยาว
7.พื้นที่เสี่ยง
พื้นที่การเกษตร สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมบ้านวังทอง คือ 1) น้ำจากน้ำยาวล้นตลิ่งเข้าท่วมบริเวณพื้นที่เกษตรติดริมตลิ่งลำน้ำยาว เนื่องจากตลิ่งต่ำ ระดับความสูงจากน้ำประมาณ 1 – 2 เมตร 2) น้ำป่าหลากจากภูเขาลงสู่ลำห้วยภูและลำห้วยขวา ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวที่เป็นที่สูงและอยู่ห่างจากไร่ข้าวโพดประมาณ 1 กิโลเมตร ระดับการท่วม 1.50 เมตร นาน 1 วัน
8. ผลกระทบ
ผลผลิตทางการเกษตรที่เสียหายในโซนนี้เป็นช่วงเพาะปลูกข้าวโพด เสียหายทั้งหมดจำนวน 100 ไร่ ลักษณะการท่วมเป็นแบบท่วมหลาก 2 – 3 ครั้ง/ปี จากการบอกเล่าของชาวบ้าน ในปี 2549 – 2554 ระดับน้ำท่วมสูงถึง 6 เมตร แต่ในปี 2560 – 2561 ระดับน้ำท่วม 4 เมตร นาน 2 วัน และพื้นที่น้ำป่าไหลหลากจากภูเขาทำให้นาข้าวเสียหายประมาณ 75 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 150 ไร่ ส่วนใหญ่เสียหายจากดินโคลนไหลทับต้นข้าวที่ยังไม่แข็งแรง
9.การจัดการภัย
ก่อนเกิดภัย ชาวบ้านวังทองได้เตรียมจุดปลอดภัยไว้ในกรณีน้ำท่วมวิกฤตจำนวน 3 จุด คือ วัดวังทอง โรงเรียนวังทอง และหอประชุมหมู่บ้าน แต่ยังไม่เคยมีการปฏิบัติการจริง
ในการจัดการภัยน้ำท่วมของชาวบ้านจะรับฟังข่าวสารการแจ้งเตือนภัยจากหนังสือราชการอำเภอท่าวังผา โดยผู้นำจะประกาศเสียงตามสาย ในการเตรียมพร้อมชาวบ้านจะเริ่มเก็บผลผลิตของข้าวโพดให้ได้มากที่สุด หากไม่ทันก็ต้องปล่อยให้เป็นความเสียหาย ส่วนผู้นำชุมชนจะมีแหล่งข้อมูลการแจ้งเตือนจากทั้งอำเภอท่าวังผา, องค์การบริหารส่วนตำบลผาตอผ่านช่องทางไลน์และโทรศัพท์มือถือ
ระหว่างเกิดภัย ผู้ใหญ่บ้านจะประกาศเสียงตามสายแจ้งให้คนในชุมชนเตรียมความพร้อมเก็บสิ่งของสำคัญต่าง ๆ ให้ทันเวลา
หลังเกิดภัย การชดเชยจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ 1) การชดเชยนาข้าวและข้าวโพด สนับสนุนจากเกษตรอำเภอ จำนวน 800 – 1,200 บาท/ไร่ จากองค์การบริหารส่วนตำบลผาตอ จำนวน 200บาท/ไร่ ส่วนข้าวโพดจะต้องมีเงื่อนไขต้องเสียหาย100% 2) สนับสนุนพันธุ์ปลาจากกรมประมง
ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างก่อสร้างตลิ่งและลำเหมืองน้ำยาวของชลประทานเขตลำปาง โครงการเริ่มปี2561 ระยะทางที่สร้างในชุมชนประมาณ 15 กิโลเมตร
10.ข้อเสนอของชาวบ้าน
- การขุดลอกน้ำยาวตลอดสายเพื่อการระบายน้ำอย่างรวดเร็วช่วงหน้าฝน
11.พิกัดพื้นที่
จุดที่1 บริเวณสะพานข้ามน้ำยาวและบริเวณพื้นที่ปลูกข้าวโพดริมตลิ่ง สะพานมีปัญหาในฤดูน้ำหลากมีเศษขยะ ท่อนไม้ ซังข้าวโพดขวางทางระบายน้ำใต้สะพาน และมีแนวโน้มที่ดินใต้สะพานจะทรุดตัวส่วนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเกิดปัญหาตลิ่งน้ำยาวต่ำ




12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
1) คุณบุญทรง ผู้ใหญ่บ้าน 093-1312829
2) คุณมนูญ รักษา อบต. 098-3314705
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562