[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านดอนตัน หมู่ที่ 12 ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

ภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านดอนตัน หมู่ 12 ตำบลศรีภูมิ  อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ลุ่ม

ลักษณะคล้ายแอ่งกระทะ มีแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน และหนองหลวงเมื่อถึงช่วงฤดูน้ำหลากจึงกลายเป็นพื้นที่รองรับน้ำอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกร ซึ่งนิยมปลูกพืชไร่และพืชสวน เช่น ไร่ข้าวโพด นาข้าว เป็นต้น  มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 1,000 ไร่  ผู้คนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  บ้านม่วง ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อกับ  บ้านดอนตัน หมู่ 4 ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ  บ้านห้วยเดื่อ ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ  บ้านดอนมูล ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

จำนวนครัวเรือน 137 หลังคาเรือน  จำนวนประชากร 364 คน 

  • สถานที่สำคัญ

1) วัดบ้านดอนตัน

2) หอเตือนภัย ตั้งอยู่ในวัดบ้านดอนตัน

3) โรงเรียนบ้านดอนตัน 

4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนตัน

5) องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ

บ้านดอนตัน หมู่ที่ 12 มีแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน และหนองหลวง ทิศทางการไหลของน้ำจะไหลตามแม่น้ำน่านที่อยู่ทางตะวันตกของชุมชน ในช่วงฤดูฝน ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านสูง ส่วนหนึ่งจะไหลลงหนองหลวง และส่วนหนึ่งระบายไปตามลำน้ำน่าน 

7. พื้นที่เสี่ยง

สาเหตุหลักของการเกิดอุทกภัยบ้านดอนตัน หมู่ 12 เกิดจากการพังทลายของตลิ่งฝั่งแม่น้ำน่านด้านทิศเหนือชุมชน ในช่วงฤดูฝน เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม แม่น้ำน่านเพิ่มปริมาณสูงทำให้น้ำทะลักและไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและชุมชน และไหลลงที่หนองหลวง จากการบอกเล่าของชาวบ้าน เล่าว่าการทิศทางการไหลในช่วงอุทกภัยเป็นการไหลตามร่องน้ำน่านเดิม

8. ผลกระทบ

ตลิ่งแม่น้ำน่านพังทลายซ้ำซาก เนื่องจากมีการนำหินมาวางป้องกันน้ำที่ไม่ถาวร อีกทั้งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดจำนวน 1,000 ไร่ เป็นช่วงเกษตรกรปลูกข้าว ผลผลิตเสียหาย มีดินโคลน ซังข้าวโพดแห้ง และท่อนซุงต่างๆ ไหลทับถมต้นข้าว ท่วม 3 วัน  ปี 2549 ท่วมนาน 4-5 วัน  ปี 2560-2561 ท่วม 3-4 วัน ระดับน้ำ 2 เมตร เท่ากันทั้ง3ปี ท่วมที่อยู่อาศัยทั้งหมด 137 หลังคาเรือน รวมถึงวัด โรงเรียน ตลาดในชุมชน และถนนสัญจร ระดับน้ำ 3 เมตร ท่วม 3-5 วัน 

9. การจัดการภัย  

ก่อนเกิดภัย  เมื่อเกิดเหตุอุทกภัยชาวบ้านได้มีการปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือในเบื้องต้น โดยการประกาศเสียงตามสายแจ้งการเฝ้าระวังจากผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจากอำเภอทุ่งช้างและอำเภอเชียงกลาง มีการแจ้งขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง ถ้าสถานการณ์เริ่มรุนแรงจะอพยพกลุ่มเปราะบางก่อนเป็นอันดับแรกไปยังจุดปลอดภัย ได้แก่ โรงเรียน และบางส่วนอพยพไปบ้านญาติพี่น้องใกล้เคียง (ที่ผ่านมายังไม่ถึงขั้นอพยพ) ชาวบ้านจะมีเรือไว้ประจำบ้านของตัวเอง  

ระหว่างเกิดภัย  องค์การบริหารส่วนตำบลศรีภูมิ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งในการช่วยเหลือดูแล โดยตั้งเป็นศูนย์บัญชาการ เตรียมพร้อมเรือไว้สำหรับอพยพและขนส่งอาหารให้ชาวบ้านที่ประสบภัยซึ่งก็มีข้อจำกัดสำหรับบ้านที่อยู่ในซอยแคบอาจได้รับไม่ทั่วถึง  การจัดการของชาวบ้าน เมื่อน้ำเริ่มเข้าพื้นที่อยู่อาศัยจะช่วยเหลือตัวเอง นำผู้ป่วย ผู้สูงอายุ สิ่งของ ย้ายไปที่หมู่บ้านห้วยเดื่อ บ้านขอน และบ้านนาอุดม ตำบลศรีภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านญาติพี่น้อง จะคอยเตรียมการช่วยเหลือด้านที่นอน ที่จอดรถ และอาหาร

หลังเกิดภัย  ด้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะเข้ามาดูแลเรื่องสุขอนามัยหลังน้ำลด ยารักษาโรคของผู้ป่วย และโรคที่มากับน้ำ    ภาครัฐจะแจ้งให้ชาวบ้านสำรวจความเสียหายเบื้องต้นรายครัวเรือนเพื่อแจ้งผู้ใหญ่ แล้วส่งรายงานให้อำเภอดำเนินการจ่ายเงินชดเชยรวมทั้งข้าวกล่อง น้ำดื่ม และถุงยังชีพ  การจัดการภัยหลังน้ำลดของชาวบ้านจะทำความสะอาดบ้าน เก็บของ ซึ่งเป็นวิถีที่ชาวบ้านจัดการตัวเองเป็นประจำ

10.ข้อเสนอแนะ

  • ควรทำตลิ่งป้องกันน้ำจากแม่น้ำน่านให้แข็งแรงถาวร จะสามารถลดความเสี่ยงน้ำท่วมได้มาก
  • แก้ไขระบบหอเตือนภัย ซึ่งส่งสัญญาณมาจากส่วนกลาง เมื่อเกิดอุทกภัยหอเตือนไม่ทำงาน ทำให้ศักยภาพในการจัดการภัยของชุมชนลดลง

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 บริเวณตลิ่งแม่น้ำน่านหินที่ทำตลิ่งไม่แข็งแรงถาวร ฤดูฝนน้ำไหลบ่ากัดเซาะตลิ่งพัง ไม่สามารถช่วยป้องกันน้ำจากแม่น้ำน่านได้

จุดที่ 2 วัดบ้านดอนตัน มีหอเตือนภัยแต่ใช้งานไม่ได้

จุดที่ 3 โรงเรียน ชาวบ้านตั้งเป็นจุดปลอดภัยเพราะมีอาคารสูงและอยู่ใกล้ชุมชน แต่ก็ยังเป็นพื้นที่น้ำท่วมสูง

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

1) คุณเศวต นันท์ชัย  ผู้ใหญ่บ้าน 093-2822466

2) คุณโชค เดชไกร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 0635786841

 เรียบเรียงข้อมูลโดย   อาภาพร  หินคล้าย 09-5304-9453

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562