ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าวังผา โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ สถาบันพัฒนาประชาสังคม
ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน, ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) และศูนย์เชื่อมโยงความรู้และการวิจัยนวัตกรรมการจัดการภัยพิบัติ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
การประชุมปฏิบัติการ
การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน
การประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติของพื้นที่ท่าวังผา และกำหนดแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงระดับตำบล/เครือข่ายตำบล/อำเภอ
เนื้อหาประกอบด้วยการทบทวนข้อมูล ความเสี่ยงภัยพิบัติระดับตำบลของพื้นที่ท่าวังผา ร่วมออกแบบแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงระดับตำบล/เครือข่าย และการขับเคลื่อนกลยุทธ์/แผนตำบล และยกระดับสู่แผนระดับอำเภอ
ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย แกนนำ/ผู้นำชุมชนในพื้นที่เสี่ยงจำนวน 46 หมู่บ้าน ใน 10 ตำบลของอำเภอท่าวังผา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายกฯ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)10 แห่ง ใน 10ตำบล, ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รพ.สต., สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, อำเภอ, สถานีตำรวจภูธรท่าวังผา, โรงพยาบาลท่าวังผา, อุทยานแห่งชาตินันทบุรีและหน่วยรักษาความสงบอำเภอท่าวังผา, เจ้าหน้าที่ฝายน้ำยาว, ทหาร ปภ.จังหวัดสาขาเชียงกลาง รวมจำนวน 69 คน โดยมีผลการประชุมมีดังนี้
ลำดับการดำเนินงานสนับสนุนชุมชนลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติในพื้นที่อำเภอท่าวังผา

ทั้ง 3 เวทีได้สะสมข้อมูลที่เริ่มมีความชัดเจน พร้อมกับการพัฒนากระบวนการแนวทางเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ราวช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี พบว่าความเสี่ยงของอำเภอท่าวังผาครอบคลุม 10 ตำบล อย่างน้อย 46หมู่บ้าน ขณะที่หน่วยงานท้องถิ่นมีการเตรียมความพร้อมรับมือ หลายเรื่องมีข้อเสนอที่จะต่อยอดการทำงาน อาทิ การบูรณาการแผนรับมือภัยพิบัติระดับอำเภอที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของพื้นที่อย่างแท้จริงทั้งเชิง ป้องกัน เตรียมพร้อม เผชิญ และฟื้นฟู
ชุดข้อมูลที่ได้นำไปสู่การจัดการตนเองของพื้นที่ในเชิงปฏิบัติการจริง ส่วนหนึ่งเห็นถึงความจำเป็นนำไปสู่แผนระดับท้องถิ่น ทำให้เห็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนคือ “ชุมชนท้องถิ่นมีความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติใน ปี 2562” ด้วยท้องถิ่นมีข้อจำกัดด้านกำลังคนที่ไม่อาจดูแลได้อย่างทั่วถึง ทันการ
ดังนั้นระบบการดูแลตนเองเบื้องต้นจึงสำคัญ จากข้อมูลยังมีส่วนที่ต้องการเติมเต็ม เช่น ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ขณะที่หน่วยงานต้องสร้างระบบการเตือนภัย ระบบการสนับสนุนต่าง ๆ จึงเห็นได้ว่าต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นการบูรณาการแผนระหว่างท้องถิ่นและอำเภอ ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างของการบริหารยามเกิดภัย
ประมวลสภาพการณ์ปัจจุบัน จากมุมมองของคนท่าวังผา
- ลดความเคยชินท่าวังผาประสบภัยน้ำท่วมในทุกปี จนกลายเป็นความเคยชินของชุมชน ความพยายามในการจัดแนวคิดเพื่อเตรียมเป็นการลดความวุ่นวายในการเผชิญเหตุด้านหนึ่งเพื่อให้เห็นระบบการบริหารจัดการภัยที่มีเจ้าภาพ ผู้ปฏิบัติ ผู้ประสาน งบประมาณที่ชัดเจน สามารถเชื่อมบูรณาการกับหน่วยงานอื่นเช่น พชอ. (คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) โดยให้ถือภัยพิบัติเป็นประเด็นสำคัญของอำเภอ และมี พชต.ที่ชุมชนสามารถเสนอประเด็นนี้ได้เช่นกัน
- จัดเก็บข้อมูลกลุ่มเสี่ยงการมีข้อมูลและจัดระบบการช่วยเหลือผู้เปราะบางยามเกิดภัยสามารถลำดับการช่วยเหลืออพยพ โดยเฉพาะเมื่อต้องรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่ไม่ทราบข้อมูลพื้นที่ ข้อมูลเหล่านี้จะเอื้อให้เกิดการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องทันท่วงที เพราะหมายถึงชีวิตผู้คน
- มีข้อมูลและระบบการแจ้งเตือนภัยที่ต้องกำหนดหน่วยงานที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัย มีผู้รับผิดชอบชัดเจน ข้อมูลเฝ้าระวังในอำเภอเมืองสามารถรับจากท่าวังผาซึ่งน้ำใช้เวลาเดินทางราว7 ชั่วโมง ขณะที่พื้นที่ท่าวังผาต้องรับข้อมูลจากแหล่งใดเพื่อให้มีเวลาในการเตรียมพร้อมรับมือตามสภาวะความเสี่ยงที่แตกต่าง ข้อมูลจะต้องแจ้งเตือนแก่หมู่บ้านที่จะรับน้ำเป็นอันดับแรก ใครแจ้ง มีสัญญาณเตือนอะไร แท้จริงการจัดระบบในพื้นที่มี แต่อาจไม่เพียงพอ ผู้นำเพียงคนเดียวไม่สามารถสื่อสารได้ครอบคลุม การเตือนภัยนำมาสู่การเตรียมพร้อม เช่น จำนวนผู้อพยพเท่าไร เพื่อจัดเตรียมสถานที่ อาหาร จำนวนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลต้องดูแล รวมถึงงบประมาณ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้แผนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
- นำเสนอความต้องการในการป้องกันและบรรเทาภัยจากสถานการณ์น้ำท่วมในปี2549 และต่อเนื่องอีกหลายครั้งชุมชนต่างรับรู้ดีถึงความเสียหายที่เกิด และมีข้อเสนอไปยังหลายหน่วยงาน แต่ยังไม่ได้รับตามข้อเสนอโดยเฉพาะด้านงานก่อสร้างยิ่งมีการซ้อมกับหน่วยงานชุมชนยิ่งไม่อยากร่วม และหันกลับมาพึ่งพาตนเอง พยายามอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
- จัดการตนเองในพื้นที่นำเสนอให้เห็นว่าชุมชนสามารถดูแลตนเองได้ และมีส่วนที่ยังขาดจำเป็นต้องสนับสนุน เพิ่มเติมสามารถจัดทำในรูปแบบเอกสารข้อมูลสื่อสารกับผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ลดทอนความเสี่ยงแนวทางลดเสียหายแม้อยู่กับภัยจนกลายเป็นความคุ้นชิน แต่อย่างน้อย การรับมือ ป้องกัน เฝ้าระวังยังคงเป็นความจำเป็นสำหรับชุมชน การทราบข้อมูลล่วงหน้า จัดเก็บสถิติ ปริมาณน้ำ ปริมาณฝน ทำให้คาดการณ์เวลาเดินทางของน้ำ ระดับการท่วม ระยะเวลาท่วม ลำดับการท่วม ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ต้องรู้ว่าค้นหาได้จากแหล่งใด ข้อมูลดังกล่าวสามารถจัดทำเป็นแผนของหมู่บ้าน และเชื่อมต่อไปยังแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เช่นกัน
- โครงสร้างการจัดการภัยระดับชุมชนอำเภอเวียงสามีการจัดระบบในชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในรูปแบบของคณะทำงานชุมชน เนื่องจาก อปท. มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอสำหรับการดูแลพื้นที่ อีกทั้งยังตกเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเดียวกันอีกด้วย ในหมู่บ้านมีคณะทำงานที่แบ่งออกเป็นฝ่ายเช่น ฝ่ายอพยพเคลื่อนย้าย ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายสื่อสาร เป็นต้น ในแต่ละฝ่ายยังมีการกำหนดคุณสมบัติของทีมที่สอดคล้องกับภารกิจตัวอย่างเช่น ฝ่ายอพยพ ต้องพายเรือ และว่ายน้ำได้ ขณะที่ฝ่ายพยาบาล สมาชิกจะเป็น อสม. ซึ่งมีฐานความรู้ด้านการดูแลเรื่องสุขภาพเป็นทุน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดต่างต้องรู้ระบบการจัดการภัยร่วมของชุมชน
ทบทวนข้อมูล/วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติในระดับพื้นที่
การทบทวนข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติในระดับพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลภัยพิบัติระดับชุมชน และข้อมูลระบบการเฝ้าระวังเตือนภัย จึงแบ่งการปรึกษาหารือออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ข้อมูลภัยพิบัติระดับชุมชน โดยชุมชน และหน่วยงานท้องถิ่น (อปท.และ รพ.สต.แบ่งกลุ่มย่อยตามสภาพพื้นที่)
- ทบทวนกายภาพ/เส้นทางน้ำ/จุดเสี่ยง (ข้อมูลเอกสาร/ผัง)
- ผลกระทบ ความรุนแรง
- ข้อเสนอการจัดการภัย
กลุ่มที่ 2 การบูรณาการแผนระดับอำเภอ (หน่วยงานระดับอำเภอโดย ผู้แทนหน่วยงาน)
- แผนการจัดการตนเองของชุมชน
- กรรมการ
- ระบบข้อมูล
- การเสนอสู่แผน อปท.
ข้อมูลภัยพิบัติระดับตำบล
ตำบลศรีภูมิ

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ศรีภูมิมีเส้นน้ำสายหลัก คือแม่น้ำน่านโดยน้ำจะไหลผ่านบริเวณโค้งน้ำและไหลเข้าท่วมพื้นที่ต่อไปยังบ้านสบหนอง บ้านดอนตัน ระด้บน้ำท่วมสูงราว 2 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่บ้านดอนตัน ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ กระแสน้ำท่วมไหลแรง น้ำท่วมราว 7 วัน | บ้านเรือนเสียหาย 450 ครัวเรือนเนื่องจากไม่สามารถจัดเก็บสิ่งของได้ทัน และมีต้นข้าวโพดที่ถูกพัดพาเข้ามาติดในบ้านเรือนพื้นที่เกษตรเสียหาย1,000 ไร่สถานที่สาธารณะเสียหาย โดยเฉพาะโรงสีพระราชทาน ด้วยอยู่ในพื้นที่ต่ำน้ำระบายออกช้า ท่วมขังนานเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ | จัดสร้างผนังป้องกันตลิ่งและน้ำท่วมบริเวณโค้งน้ำน่านเป็นจุดน้ำเข้าท่วมพื้นที่ ยกระดับคอสะพานให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม เพื่อให้สามารถอพยพได้ |
ตำบลตาลชุม

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ตาลชุมน้ำล้น จากหนองหลวง มายังหมู่บ้าน และน้ำน่านบริเวณสะพานระดับต่ำ น้ำไหลผ่านท่อเข้าท่วมจากทิศใต้และเหนือ | น้ำท่วมเส้นทางไม่สามารถสัญจรหรืออพยพได้ระยะเวลาท่วมขังนาน 1 สัปดาห์ | 1. สร้างผนังกั้นน้ำบริเวณตำบลศรีภูมิจะช่วยชะลอความเร็วของน้ำบริเวณสะพานข้ามน้ำน่าน |
ตำบลยม

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ตำบลยมแม่น้ำย่าง ต้นน้ำอยู่ที่ภูเขา ผ่านถนนเพชรมา น้ำย่างมีตลิ่งกั้น ลักษณะหินสร้างตาข่าย ปัจจุบันชำรุดทำให้ตลิ่งถูกกัดเซาะ | กระทบบ้านเรือน 18 หลังคาเรือน – บ้านทุ่งฆ้อง ท่วมจำนวน 10 หลัง โดย 9 หลังระดับน้ำท่วมสูง 50 ซม.- 1 เมตร และ 1 หลัง ระดับน้ำท่วมสูงมาก 1-2 เมตร ระยะเวลา 1 วัน – บ้านสบบั่ว 8 หลัง ระดับน้ำท่วมสูง 50 ซม.-1 เมตร – บ้านก๋ง ไม่ท่วมบ้านเรือน พื้นที่เกษตรเสียหาย รวม 500 ไร่ บ้านทุ่งฆ้อง จำนวน 100 ไร่ บ้านสบบั่ว จำนวน 150 ไร่ บ้านก๋ง จำนวน 250 ไร่ | 1. ตั้งจุดเตือนภัยที่ อบต. หรือบริเวณเหนือสะพานเพื่อให้เสียงกระจายไปทั่วตำบลได้ ข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์จากตำบลศิลาเพชร 2. สร้างตลิ่งกั้นน้ำ-ท่อเหลี่ยมบริเวณเส้นทางน้ำ |
ตำบลจอมพระ

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
พื้นที่จอมพระ น้ำย่างหลากล้นตลิ่งจะท่วมพื้นที่เกษตร จำนวนท่วมสูง 1-3 เมตร และน้ำท่วมถนนระบายไม่ทันเอ่อเข้าบ้านเรือน | พืชผลทางการเกษตรเสียหาย 1,220 ไร่จาก 4 หมู่บ้าน บ้านนาฝ่า 120 ไร่ บ้านใหม่ 100 ไร่ บ้านนาเผือก 500 ไร่ บ้านสลี 500 ไร่ บ้านเรือนเสียหาย จากเหตุน้ำระบายไม่ทัน บ้านใหม่ 3 หลัง บ้านสลี 1 หลัง ฝายชำรุด ตลิ่งถูกกัดเสาะพังลงจากกระแสน้ำ | สร้างแนวป้องกันตลิ่งพังทั้งสองฝั่งแม่น้ำย่างจัดทำรางระบายน้ำขนานเส้นถนน |
ตำบลผาตอ

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ผาตอมีน้ำยาวไหลผ่านกั้นเขตพื้นที่ระหว่างตำบลผาตอ และผาทอง พื้นที่ของผาตอเกิดน้ำท่วมในทุกปี เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ ระบบการตรวจสอบน้ำยาวทราบข้อมูลจากอำเภอสองแคว ด้านน้ำน่านรับข้อมูลจากทุ่งช้างเฉลิมพระเกียรติ ผาตอ ที่บ้านแหน2 มีน้ำป่า และนานหนุน2 และ 3 มีน้ำยาวหนุนท่วม เราคิดว่าเรามีฝายน้ำยาวกั้นน้ำได้มาก แต่เอาไม่อยู่ | 1. บ้านเรือนที่อยู่บริเวณริมน้ำยาว และจะได้รับผลกระทบมากหากน้ำน่านหนุนบ้านที่ประสบภัยได้แก่ บ้านนาหนุน 2 และบ้านนาหนุน 3 และบ้านแหน 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำป่าและท่อระบายน้ำเส้นถนนมีขนาดเล็ดน้ำระบายไม่ทัน รวมบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 96 ครัว ระดับน้ำ 1 เมตร ท่วมนานสุด 1 วัน 2. พื้นที่เกษตรเสียหายรวม 400 ไร่ | 1.เปลี่ยนขนาดท่อบริเวณถนนทางหลวงท่าวังผา-เชียงคำบริเวณบ้านแหน 2. สร้างแนวตลิ่งกั้นน้ำล้น บริเวณบ้านนาหนุน 2และนาหนุน 3 3. สร้างฝายกั้นเก็บชลอน้ำ 4. จัดทำรางระบายน้ำต่อเนื่องจากที่สร้างไว้ 5.สร้างกลุ่มไลน์เฝ้าระวังภัยน้ำท่วมร่วมกับตำบลผาทองเพื่อแจ้งเตือน 6. จัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง และยาเวชภัณฑ์ |
ตำบลผาทอง

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ผาทองมีแม่น้ำยาวแบ่งเขตกับตำบลผาตอ ทำให้มีน้ำท่วมบริเวณบ้านปางสา บ้านวังผางบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ส่วนบ้านแหน และบ้านแหน1 และบ้านแหน 3 มีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน เนื่องจากน้ำระบายน้ำไม่ทัน ส่วนบ้านสันเจริญ บ้านน้ำกิมีน้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ | 1. บ้านเรือนกระทบ 29 หลัง จาก 3 หมู่บ้าน (ม.1,3,8) 2. พื้นที่เกษตรเสียหาย 345 ไร่ บ้านปางสาท่วม 10 เมตร 3. ระยะเวลาการท่วม 2 เมตร นาน 2-3 วัน | 1. สร้างกลุ่มไลน์ภัยพิบัติแจ้งข่าวเตรียมตัวในพื้นที่โดยเป็นกลุ่มไลน์ข้อมูลร่วมกับตำบลผาตอเนื่องจากมีสภาพการณ์การท่วมเช่นเดียวกัน 2. จัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยงและยาเวชภัณฑ์ |
ตำบลแสนทอง

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
แสนทองเป็นตำบลที่ได้รับผลกระทบจากน้ำริมเป็นหลัก และน้ำน่านส่วนหนึ่งที่ติดกับเขตพื้นที่ พื้นที่ชุมชนบ้านน้ำไคร้และบ้านสันติสุขเป็นพื้นที่ป่าเขามีความเสี่ยงดินโคลนถล่ม (บ้านน้ำไคร้ 6 หลัง และบ้านสันติสุข 12 หลัง) | 1) ระดับน้ำท่วมสูง 1-4 เมตร นาน 1-4 วัน โดยเฉพาะชุมชนติดแม่น้ำริม ส่วนน้ำป่าท่วมไม่เกิน 1 เมตร ระยะเวลา 1 วันกระทบครัวเรือน 350 ครัวเรือนพื้นที่การเกษตร 400 ไร่ตลิ่งพังบางจุดของพื้นที่สันติสุข | 1) สร้างกลุ่มไลน์การแจ้งเตือนในตำบลแสนทอง 2) จัดการแจ้งเตือนภัยผ่านวิทยุ และหอแจ้งส่งสัญญาณ 3) ขุดทางลัดน้ำกลางหมู่บ้านระบายน้ำในฤดูฝน และเลี้ยงปลาในฤดูแล้ง ระยะทาง 15 เมตร 4) จัดทำข้อมูลกลุ่มเสี่ยง และความต้องการยา เวชภัณฑ์ |
ตำบลป่าคา

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
พื้นที่ป่าคา ได้รับผลกระทบหนักในปี 2549 บ้านต้นฮ่าง บ้านหนองบัว บ้านดอนแก้ว ทุกครัวเรือนได้รับผลกระทบ และบ้านฝายมูลได้รับผลกระทบบางส่วนในพื้นที่ลุ่ม ด้วยพื้นที่ฝายมูลติดกับริมน้ำย่าง บ้านต้นฮ่างติดกับน้ำย่างและมีสภาพเป็นพื้นที่ต่ำ ด้านหนองบัวพื้นที่ติดร่องแหย่ง อีกทั้งเป็นพื้นที่ต่ำ และดอนแก้วเป็นที่ต่ำของหมู่บ้าน | 1) ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่ท่วมสูง นอกจากนี้ยังมีเศษขยะ ท่อนไม้ซุง กิ่งไม้ วัชพืช (ข้าวโพด) ไหลเข้าบ้านเรือน และบริเวณ – สะพานบ้านฝายมูล 379 ครัวเรือน จำนวน 1,055 คน น้ำท่วม 70 ซ.ม.-1 เมตร – บ้านต้นฮ่าง 276 ครัวเรือน จำนวน 750 คน น้ำท่วมสูง 2เมตร นาน 4 วัน – บ้านหนองบัว 250 ครัวเรือน จำนวน 700 คน น้ำท่วมสูง 3 เมตร ท่วมนาน 4 วัน – บ้านดอนแก้ว 130 ครัวเรือน จำนวน .. คน น้ำท่วมสูง 2 เมตร – มีโรคระบาด (ฉี่หนู/น้ำกัดเท้า/ตาแดง/ไข้หวัด) ที่มาพร้อมกับน้ำท่วม – โครงสร้างพื้นฐานเสียหาย ถนนชำรุดจากกระแสน้ำ ตลิ่มริมน้ำพัง ลำเหมืองเสียหาย – พื้นที่เกษตรริมน้ำย่างและน้ำน่านเสียหาย | 1) จัดสร้างอุโมงค์ท่อส่งน้ำขนาดใหญ่ลอดถนนเก่าและใหม่ให้น้ำสามารถไหลได้เร็ว 2) ขุดลอกลำห้วย ร่องน้ำ (ห้วยร่องแหย่งบริเวณหนองบัว) 3) เรียงหินยาแนวป้องกันตลิ่งพัง ลำน้ำย่างช่วงบริเวณบ้านฝายมูล-บ้านต้นฮ่าง 4) ขุดลอกแม่น้ำย่าง จากบ้านฝายมูล-บ้านหนองม่วง 5) ขุดลอกร่องน้ำจากหนองหยิบ-วัดดอนแก้ว |
ตำบลท่าวังผา

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ท่าวังผาได้รับผลกระทบ 4 หมู่บ้าน คือ บ้านวังว้า บ้านสบยาว บ้านอาฮาม และบ้านท่าวังผา ทั้งจากน้ำป่า (บางหว้า) ไหลหลากและน้ำน่านล้นตลิ่ง น้ำมาจากทางตะวันออก และมีลักษณะน้ำท่วมขัง เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ | 1) พืชการเกษตรเสียหายราว 1,000 ไร่ 2) ครัวเรือนได้รับผลกระทบ ราว 600 ครัวเรือน บ้านอาฮามน้ำระบายไม่ทันเนื่องจากมีถนนสายน่าน-ทุ่งช้าง (4 เลน) ซึ่งในปี 2549 ได้แกนแนวทางแก้ปัญหาไปยังแขวงทางน่าน และมีการลงสำรวจพื้นที่แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด บ้านสบยาว บ้านอาฮาม และบ้านท่าวังผา น้ำจาก 3 สาย ทั้งน้ำน่าน น้ำยาว และน้ำริม ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ | 1) เปิดเส้นทางระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดการท่วมขังพื้นที่บ้านอาฮาม 2) เสริมตลิ่งในรูปแบบเขื่อนป้องกันตลิ่ง ฝั่งแม่น้ำ 3) ติดตั้งจุดวัดระดับความสูงของน้ำจากปัว (น้ำน่าน) |
ตำบลริม

กายภาพ/เส้นทาง/จุดเสี่ยง | ผลกระทบ | ข้อเสนอ |
ตำบลริมเป็นพื้นที่ต่อจากตำบลแสงทอง มีแม่น้ำน่านเป็นสายสำคัญไหลผ่าน และอีก 2 สายน้ำสำคัญคือน้ำยาว และน้ำริม โดยน้ำยาว ล้นริมฝั่ง ขณะที่น้ำน่านหนุนเข้ามา ในพื้นที่มีการสร้างอ่างเก็บน้ำริมเสร็จน่าจะบรรเทาสถานการณ์น้ำท่วมได้ | 1) บ้านเรือน ระดับน้ำท่วมความสูง 3-5 เมตร นาน 2-15 วัน โดยเฉพาะบ้านเชียงแลจุดบรรจบ 3 สายน้ำ 2) พื้นที่การเกษตร | 1) เปลี่ยนจุดเตือนภัยไปตั้งยังฝายน้ำยาว เนื่องจากจุดตั้งเดิมเตือนล่วงหน้าเพียง 5 นาที 2) จัดสร้างพนังป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ – หมู่ที่ 4-6 สร้างพนังริมตลอดแนวแม่น้ำริมและน้ำยาว ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ – พื้นที่หมู่ที่ 2,3,7 3) จัดทำประตูปิด-เปิด รอยต่อหนองหลง บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา และบ้านท่าค้ำ 2 หมู่ที่ 7 ตำบลริม เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อยกลับหมู่ที่ 7 4) ขุดลอกลำน้ำน่าน บริเวณแพสูบน้ำหมู่ที่ 3 ตำบลริม เพื่อเพิ่มความลึกให้ทางน้ำน่านไหลเร็วยิ่งขึ้น |
การบูรณาการแผนระดับอำเภอ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัย ของพื้นที่ทั้งลำน้ำยาว ( 4 ตำบล) ลำน้ำน่าน ( 5 ตำบล) ลำน้ำย่าง ( 3 ตำบล) รายละเอียดของจุดเสี่ยงของพื้นที่ ผลกระทบ เพื่อจัดทำข้อเสนอ สู่การป้องกัน ลดปัญหา เตรียมความพร้อม เผชิญเหตุ และฟื้นฟู โดยให้ความสำคัญกับ 2 ส่วนคือ ระบบเฝ้าระวังเตือนภัย และ ศูนย์ข้อมูลเตือนภัย
ระบบเฝ้าระวังเตือนภัย
1)ข้อมูลจำเป็น
- จุดวัดระดับน้ำ เช่น น้ำน่าน (เชียงกลาง,ปัว), น้ำยาว (ท.65 บ้านผาตอ, จุดวัดน้ำฝน), น้ำย่าง (จุดวัดน้ำฝน)
- จุดเตือนภัยน้ำท่วม
- ปริมาณน้ำฝน
- ระยะทาง-เวลา จากต้นน้ำ-ท่าวังผา
2)แนวทาง
- ข้อมูลที่ไม่ online ต้องประสานให้มีการ online
- ต้องมีเจ้าหน้าที่กรมน้ำ/กรมชลมาเป็นเครือข่ายเตือนภัย
- ข้อมูลน้ำฝน ต้องแลกเปลี่ยนกับทางอุทยาน
3)ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง
ต้องจัดการระบบ/ระดับความเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยง (มาก-ปานกลาง-น้อย) โดยทีม สสอ., รพ.สต., อสม.
4)การวิเคราะห์-ประเมินข้อมูล
ฐานข้อมูลต้องรวบรวม ติดตั้งในระดับอำเภอ และตำบล เพื่อให้เป็น “ศูนย์” สามารถนำไปวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ ให้มีการประเมินที่น่าเชื่อถือและทันเหตุการณ์ “การทำงานในรูปแบบเครือข่ายอำเภอ”
5)ทรัพยากร/บุคลากร (รายละเอียดข้อมูลจุด ตำแหน่ง การรับรู้ร่วมกันของชุมชนและหน่วยช่วยเหลือ)
- พื้นที่ปลอดภัยในการอพยพ
- จุดรับส่งกลุ่มเสี่ยง
- จุดรับความช่วยเหลือ
6)การเตือนภัย
- ข้อมูลที่ใช้แจ้งเตือน (น่าเชื่อถือ,เป็นวิทยาศาสตร์)
- มีการกลั่นกรอง วิเคราะห์ประเมินก่อนเตือน/สื่อสาร
- มีหลายช่องทางการสื่อสาร เช่น line กลุ่ม, เสียงตามสาย, วิทยุชุมชน
- การกระจายการรับรู้ให้กว้างขึ้น
ศูนย์ข้อมูลเตือนภัยท่าวังผา
การบริหารจัดการที่เกี่ยวพันกันแบ่งออกเป็น 4ส่วน คือ ศูนย์ข้อมูลเตือนภัยท่าวังผา, เครือข่ายข้อมูลภัยพิบัติท่าวังผา, ชุมชน และกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ประสบภัย
สำหรับศูนย์เตือนภัยท่าวังผา มีเครือข่ายข้อมูลภัยพิบัติท่าวังผา ที่ได้จากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- อุตุนิยมวิทยาท่าวังผา ข้อมูลเกี่ยวกับพายุ/ฝน
- กรมชลประทาน ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ
- อุทยานแห่งชาติฯ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน
- กรมทรัพยากรน้ำ เกี่ยวกับเครื่องเตือนภัย
- Gisda ข้อมูล อากาศ พายุ น้ำฝน
ข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวจะถูกวิเคราะห์ประมวลโดยศูนย์ข้อมูลเตือนภัยท่าวังผา ทั้งน้ำท่วม ดินถล่ม การติดตามรอยเลื่อน โดยมีการสื่อสารผ่าน Line ภัยพิบัติท่าวังผา, สถานีวิทยุชุมชน, เอกสาร ส่งไปยังชุมชนที่มความเสี่ยง ก่อนจะสื่อสารไปยังกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ประสบภัย
แลกเปลี่ยนมุมมอง
- การมีหน่วยศูนย์กลางในจัดการภัยระดับอำเภอ ซึ่งมีข้อมูล และลำดับความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงคล่องตัว กระจายไปยังพื้นที่อย่างทั่วถึง เอื้อต่อหน่วยงานภายนอกที่จะช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง
- การจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ โดยที่อำเภอเวียงสาร่วมกันระหว่าง อปท. ศูนย์กลางที่เทศบาลเวียงสา เป็นจุดรวมในการรับสิ่งของ โดยศูนย์ระดับอำเภอต้องมีข้อมูลของทุกตำบล ข้อมูลการติดต่อ รู้เส้นทาง จุดเสี่ยง จุดกระจายสิ่งของ และการช่วยเหลือ รวมถึงข้อมูลภัยเพื่อการแจ้งเตือน แม้การบัญชาเหตุการณ์เป็นบทบาทของนายอำเภอ แต่หลายครั้งพบว่านายอำเภอมีข้อมูลความเข้าใจต่อพื้นที่ไม่มากเท่ากับ อปท. จึงต้องร่วมมือกัน
กลไกการจัดการภัย
ศูนย์ข้อมูลเป็นฐานสำคัญที่จะรวบรวม สร้างระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารตัดสินใจ และในระดับตำบล มีกลไกในการดูแล สำคัญคือฐานชุมชนในการจัดการตนเอง จึงประกอบด้วย 3ระดับ คือ
ระดับที่ 1 ระดับชุมชน การจัดการตนเองต้องพิจารณาระบบที่มีอยู่ และพัฒนา ประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
ระดับที่ 2 ระดับตำบล เป็นกลไกในการดูแล ข้อมูลระดับตำบล
ระดับที่ 3 ระดับอำเภอ
อำเภอท่าวังผาก้าวสู่ช่วงระวังภัยน้ำท่วมในเดือนสิงหาคม ดังนั้นการขับเคลื่อนงานมีระยะเวลาในการเตรียมพร้อมรับมือราว 2 เดือน สิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อรับมือในแต่ละระดับ คือ
ระดับอำเภอ
1) การเฝ้าระวังเตือนภัยที่ชัดเจนทันกาล
2) กลไก/เครือข่ายจัดการภัย
3) บูรณาการแผนอำเภอ
4) ซ้อมรับมือ
ระดับตำบล
1) กลไกแผนจัดการภัย
ระดับชุมชน
1) ชุมชนมีระบบกลไกการจัดการภัย
2) ผู้ประสบภัยรู้และเข้าใจ จัดการตนเองได้
การดำเนินงานของศูนย์ฯ จะนำไปสู่การจัดการที่ไม่ว่าน้ำจะท่วมมากน้อยรับมือกับสถานการณ์ได้เนื่องจากภัยควบคุมได้ยาก การมีแผนรับมือ การสร้างความเข้าใจในการจัดการตนเองสำคัญยิ่ง และเมื่อต่างเห็นว่าการมีแผนการเฝ้าระวัง หน่วยกลไกการจัดการศูนย์ระดับอำเภอ จึงต้องคิดในเชิงรายละเอียด อาทิ การบูรณาการแผนที่แต่ละหน่วยมี การสร้างให้ อปท. มีแผนรับมือร่วมกัน ส่งเสริมให้ชุมชนรับมือได้จริงในเชิงปฏิบัติทั้ง 10 ตำบล ทั้งนี้การเริ่มต้นดำเนินการอาจพิจารณาจากความจำเป็น ความพร้อม เพื่อให้ทางโครงการฯ และภาคีสามารถหนุนเสริม แลกเปลี่ยนไปในทิศทางเช่นนี้
แนวทางการขับเคลื่อนการจัดการภัย
การระดมความคิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มระดับหน่วยงาน และกลุ่มตำบล โดยมีโจทย์สำคัญของแต่ละกลุ่ม คือ
กลุ่มหน่วยงาน
- องค์ประกอบกลไก
- ระบบการเตือนภัยที่ชัดเจน แม่นยำ สื่อสารได้ทั่วถึง
- ข้อมูลสำคัญ
กลุ่มตำบล
- ข้อมูลการจัดการตนเอง
- พื้นที่ดำเนินการ
แผนปฏิบัติการศูนย์การจัดการระดับอำเภอ(กลุ่มหน่วยงาน)

องค์ประกอบกลไกปฏิบัติการเฝ้าระวังเตือนภัย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทั้งหมด14หน่วยงาน แบ่งตามบริบทงานออกเป็น 3กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มหน่วยสนับสนุนข้อมูล ได้แก่
- กรมอุตุนิยมวิทยา ท่าวังผา (ข้อมูลเกี่ยวกับพายุ/ฝน)
- กรมอุตุนิยมวิทยา ต้นน้ำน่าน(ข้อมูลเกี่ยวกับพายุ/ฝน)
- อุทยานแห่งชาตินันทบุรี (ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝน)
- กรมทรัพยากรน้ำ (ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ)
- กรมทรัพยากรธรณี (ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ชุดดิน ดินถล่ม)
- กรมชลประทาน (ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำ)
- Mr.เตือนภัยของหมู่บ้าน (ข้อมูลเกี่ยวกับจากพื้นที่เสี่ยงภัย และเตือนภัยระดับชุมชน)
- GISDA (ข้อมูลเกี่ยวกับพายุ/ฝน และกระบวนการข้อมูล)
กลุ่มหน่วยวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
- ฝ่ายความมั่นคง อ.ท่าวังผา (เฝ้าระวังภัยและเตือนภัย และเป็นศูนย์บัญชาการเมื่อเผชิญเหตุ)
- ปภ.สาขาเชียงกลาง (เฝ้าระวังภัยและเตือนภัย)
กลุ่มหน่วยแจ้งเตือนข้อมูล ได้แก่
- ปภ.ท้องถิ่น 10 ท้องถิ่น (เฝ้าระวังภัยและเตือนภัย)
- ม.พัน 10 (ทหาร)
- ตชด.
- ตำรวจ
ข้อมูลที่สำคัญ
- ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและจุดเสี่ยง ระดับอำเภอ
- ข้อมูลพายุ และปริมาณน้ำฝน ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีข้อมูลในราย 1 ชม. 3 ชม. และ 24 ชม.
- ข้อมูลปริมาณน้ำท่า และน้ำสะสมในแหล่งน้ำ
- ข้อมูลระยะเวลาการไหลของน้ำ 3 ลุ่มแม่น้ำ
- ข้อมูลทางธรณีวิทยา เช่น ชุดดิน การอุ้มน้ำ Land Use
- ข้อมูลทรัพยากรและบุคลากร เช่น เวชภัณฑ์ เรือ เครื่องสูบน้ำ พร้อมกับมีแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ
- ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง
การแจ้งเตือนภัย
- ใช้ข้อมูลจากหน่วยวิเคราะห์และประเมินผล ซึ่งจะได้ข้อมูลออกมาเป็นฐานเดียวกัน
- กระจายข้อมูล2ทาง คือ ลงสู่พื้นที่ท้องถิ่น และหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป
- รูปแบบการสื่อสาร
Group Line (95 คน) →Line ตำบล →ชุมชน
เอกสารราชการ
วิทยุชุมชน
วิทยุสื่อสาร (ว.)
แผนปฏิบัติการเตรียมการ

แผนปฏิบัติการชุมชน/ตำบล (กลุ่มตำบล)

จากการทบทวนสถานการณ์พื้นที่สู่การออกแบบปฏิบัติการลดทอนความเสี่ยง หลักการสำคัญคือ ผลกระทบที่เกิดมากน้อยมีการป้องกัน หลีกเลี่ยงผลกระทบให้น้อยลง ซึ่งมี 3 ส่วนสำคัญ คือ
ส่วนแรก รู้ภัยเป็นอย่างไร น้ำมาจากไหน มากน้อยแค่ไหน เกิดผลกระทบอย่างไร
ส่วนที่ 2 ความเปราะบาง เมื่อเกิดภัย กลุ่มที่ได้รับผลกระทบ เสี่ยงมาก (ลำบากมาก) ในส่วนนี้ยังไม่เห็นรายละเอียดของข้อมูล
ส่วนที่ 3 การจัดการภัย อย่างไร ชุมชนได้รู้และเข้าใจร่วมกันถึงการจัดการ ผ่านแผนงานและโครงสร้างการจัดการในพื้นที่
ภายใต้ข้อมูลภัย ยังต้องมีข้อมูลสำคัญที่ต้องการรายละเอียด เช่น ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ศักยภาพของชุมชนที่มีเพื่อนำมาสู่แผนการจัดการภัยที่มีความต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ดังนั้นแผนการจัดการของชุมชน จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพ โดยมี อปท.สนับสนุน จากข้อเสนอการจัดการปัญหาหลายเรื่องชุมชนสามารถดำเนินการร่วมกับ อปท.ได้
ข้อมูลสำคัญเพื่อการจัดการตนเอง
- ผัง และพื้นที่เสี่ยง ผลกระทบทำให้รายหลังคาเรือน
- กลุ่มเสี่ยง ตำแหน่ง/ประเภท/บุคคล/ความต้องการในช่วงประสบภัย
- ทุน ในมิติต่าง ๆ ในการจัดการ เช่น อุปกรณ์ กำลังคน กลุ่ม เรือ พื้นที่อพยพ การจัดการ
- แผนการรับมือ และโครงสร้างการทำงานร่วมกัน
พื้นที่ดำเนินการ
จำนวน 10 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
- ตำบลตาลชุม 2หมู่บ้าน
- ตำบลศรีภูมิ 3หมู่บ้าน
- ตำบลริม 5หมู่บ้าน
- ตำบลป่าคา 7หมู่บ้าน
- ตำบลแสนทอง 8 หมู่บ้าน
- ตำบลผาตอ 3หมู่บ้าน
- ตำบลผาทอง 4หมู่บ้าน
- ตำบลจอมพระ 7 หมู่บ้าน
- ตำบลยม 3 หมู่บ้าน
- ตำบลท่าวังผา 4หมู่บ้าน
กระบวนการในการจัดเก็บข้อมูลรายเวทีอาจคัดเลือกตำบลหรือกลุ่มตำบลนำร่องในรูปแบบคณะทำงานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ตำบลอื่นได้มาเรียนรู้ในเวทีทั้งเรื่องการทำข้อมูล การสร้างความเข้าใจ วิเคราะห์ร่วมกัน อาจทำให้เห็นแผนการจัดการร่วมกันในบางสถานการณ์/พื้นที่ ที่ไม่อิงเพียงเขตการปกครอง แต่อาจพิจารณาจากภูมินิเวศ
3) แผนปฏิบัติการ
