ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โครงการเสริมศักยภาพภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่ววนการสร้างสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน โดย มูลนิธิพัฒนาประชาสังคม
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก่อตั้งสมัชชาองค์กรประชาสังคมไทย” หนึ่งในกิจกรรมของโครงการเพื่อดำเนินงาน โครงการเสริมศักยภาพภาคประชาสังคมเป็นหุ้นส่วนการสร้างสังคมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ทางสถาบันฯ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ก่อตั้งสมัชชาองค์กรประชาสังคมไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เป้าหมายเพื่อให้สามารถเป็นกลไกตัวแทนในระดับชาติและระดับพื้นที่ขององค์กรภาคประชาสังคมในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมในระดับจังหวัดและประเทศอย่างยั่งยืน

สำหรับเวทีครั้งนี้จัดขึ้น วันที่ 13-14 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมบอลรูม ชั้น 6 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี ผู้เข้าร่วมการประชุมรวมทั้งสิ้น 152 คน ประกอบด้วยแกนนำ ศปจ.
กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป
วัตถุประสงค์ในการประชุมรวมถึงกำหนกการจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ในช่วงที่ 1 เรื่องการประชุมสมัชชาองค์กรภาคประชาสังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน 1) (ร่าง) ธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยและ 2) คำประกาศเจตนารมณ์ การก่อตั้งสภาประชาสังคมไทย ช่วงที่ 2 กองทุนประชาสังคมระดับจังหวัด โดยให้ ศปจ.รายงานสถานกาณ์ภาพรวมกองทุนพัฒนาสังคมระดับจังหวัดทั่วประเทศ และช่วงที่ 3) TD Forum สถานการณ์บ้านเมือง สภาประชาสังคมไทยและการรวบรวมรายชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง) พ.ร.บ. การเสริมสร้างวัฒนธรรมการเมืงในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(ร่าง) ธรรมนูญสภาประชาสังคมไทย โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป
ในกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป้าหมาย SDG 17 ของสหประชาชาติ คาดหวังว่าภาคประชาสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วม จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกๆเรื่อง รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมในประเทศไทยมีความแตกต่างหลากหลายกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังขาดการจัดตั้งองค์กรหรือกลไกกลางที่จะสนับสนุนและบริหารจัดการให้เกิดความเป็นเอกภาพ
ในช่วงปลายปี 2562 ข่ายเครืองานชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคม 76จังหวัดและ 6 พื้นที่โซนของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของวุฒิสภา และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้พัฒนากรอบแนวคิดการจัดตั้งและจัดทำยกร่างธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยขึ้น นำเสนอต่อเวทีกระประชุมสมัชชาองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อพิจารณารับรองและให้ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดตั้งและดำเนินงาน โดยเชิญชวนผู้แทนองค์กรร่วมลงนามในท้ายคำประกาศเจตนารมณ์การก่อตั้งสภาประชาสังคมไทย และให้ ศปจ.ทุกท่านได้พิจารณาปรับแก้ (ร่าง) ธรรมนูญรวมกันเพื่อให้เกิดความทุกต้องและเห็นพ้องรวมกันในที่ประชุม
โดยมีการพิจารณาปรับแก้ทั้งหมด 5 หมวดด้วยกัน เช่น หมวด 1 ทั่วไป ทาง ศปจ. ภูเก็ต (กับกำดูแล หมายถึงเราไม่ได้เป็นหัวหน้าแต่เรากำกับดูแลกันเอง (ดูแลซึ่งกันและกัน) ) เชียงใหม่ (องค์กรที่เข้ามาร่วมกันเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพิ่มเข้ามา และเป็นองค์กรภาคประชาสังคม นครปฐม (กลุ่มคน คณะบุคคล ชมรมที่มารวมตัวกัน และไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องของการแสวงหาผลกำไร ในเอกสารไม่มีการพูดถึงหน่วยงานภาครัฐ หรือจะให้มีต้องเพิ่มคำว่าภาครัฐหรือถ้าไม่มีต้องเขียนเป็นต้องไม่ใช่ภาครัฐ) (เอกสารปรับแก้ ร่างธรรมนูญ แนบท้ายสรุปการประชุม) และที่ประชุมได้มีการตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก จำนวน 5 ท่าน ในการพิจารณาปรับแก้ช่วยกันพิจารณาเพิ่มเติม (ร่าง) ธรรมนูญเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) คุณชำนาญ วัฒนศิริ 2) อ.รัตนา สมบูรณ์วิทย์ 3) คุณจุฑาพร พันธุ์วัฒนา 4) คุณเกรียงไกร และ 5) คุณสิทธิธรรม เลขวิวัฒน์
เมื่อมีการปรับแก้ (ร่าง) ธรรมนูญเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อยแล้วในที่ประชุมมีมติเห็นชอบธรรมนูญสภาประชาสังคมไทยร่วมกันและทางที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานเฉพาะกิจ จำนวน 11 ท่าน ได้แก่
- คุณชำนาญ วัฒนศิริ จังหวัดกำแพงเพชร
- คุณรัตนา สมบูรณ์วิทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
- คุณจุฑาพร พันธุ์วัฒนา จังหวัดลพบุรี
- คุณเกรียงไกร บุญประจง จังหวัดยโสธร
- คุณเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ จังหวัดขอนแก่น
- คุณสุเนตร ทองคำพงษ์ จังหวัดพิษณุโลก
- คุณสุพจน์ สงวนกิตติพันธุ์ จังหวัดภูเก็ต
- คุณแก้ว สังข์ชู จังหวัดพัทลุง
- คุณสุทธิพงษ์ ลายทิพย์ จังหวัดตรัง
- คุณศิริพร ปัญญาเสน จังหวัดลำปาง
- คุณสุทธิธรรม เลขวิวัฒน์ จังหวัดระยอง
เพื่อเตรียมคำประกาสเจตนารมณ์การก่อตั้งร่วมถึงการร่วมลงนามท้ายคำประกาศ เพื่อดำเนินการก่อตั้งสภาประชาสังคมไทยตามหลักการและแนวทางของธรรมนูญฉบับนี้
ทางโครงการได้มีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งมูลนิธิในการทำงานภาคประชาสังคม จำนวน 10 จังหวัดโดยกันเพื่อเป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) จังหวัดนราธิวาส 3) จังหวัดกำแพงเพชร 4) จังหวัดอ่างทอง 5) จังหวัดลำปาง 6) จังหวัดสุราษฎร์ธานี 7) จังหวัดสมุทรปราการ 8) จังหวัดชุมพร 9) จังหวัดจันทบุรีและ10) จังหวัดนครราชสีมา
TD Forum สถานการณ์บ้านเมือง กฎหมายปฏิรูปการเมือง COVID-19 โดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกวุฒิสภา
ในการร่างพระราชบัญญัติการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้นยังไม่มีใครขยับ โดยทางเครือข่ายสภาประชาสังคมไทยจะเป็นผู้ริเริ่ม เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการขุบเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างมีระบบมีแผนงานและทิศทางเดียวกัน จะทำให้การขับเคลื่อนมีพลังสามารถเปลี่ยนแปลงคนไทยทั้งประเทศได้ จึงจำเป็นต้องมีแผนแม่บทวางแนวทางและกลไกการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม บูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลและความจำเป็นเร่งด่วน
- วิกฤติความขัดแย้งทางสังคม การเมืองที่ยึดเยื้อเรื้อรัง
- แผนปฏิรูปประเทศด้านทางการเมือง พ.ศ. 2561-2565 ระบุให้การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองฯ เป็นมาตรการสำคัญส่วนหนึ่ง
- มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- เสริมสร้างให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชน
- พัฒนาคนในชาติให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาของประเทศและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทสให้มีความั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน
- ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมกันบ่มเพาะปลุกฝังความเชื่อค่านิยมและทัศนคติที่ดีงามตามหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

สถานการณ์บ้านเมือง กระแสปฏิวัติมวลชน จริงหรือ?
- ปฏิวัติโค่นล้มอะไร เพื่อจะนำไปสู่สิ่งใหม่
- ใครคือองค์กรนำ ใครเป็นผู้นำการปฏิวัติมีเครดิตทางสังคมขนาดไหน
- อะไรเป็นมูลเหตุสำคัญของการปฏิวัติ ผู้ที่จะถูกโค่นล้มมีความผิด ชั่วช้าเลวทรามไร้ประสิทธิภาพอย่างยิ่ง?
- ผลปลายทางของการปฏิวัติจะนำไปสู่วิวัฒน์ อะไรคือหลักประกัน
- กระบวนการปฏิวัติจะก่อตัวและมีพัฒนาการขั้นตอนอย่างไร ผู้นำมีหลักประกันอะไรที่จะไม่หลุดไปสู่ความวิบัติ
สถานการณ์ COVID-19

วันที่ 14 สิงหาคม 2563
แนวทางการขับเคลื่อนภารกิจในระยะต่อไป โดย ดร.วณี ปิ่นประทีป
ในการวางแผนรวบรวมรายชื่อ เสนอกฎหมายฯ นั้น แบ่งออกเป็น 76 จังหวัด โดยให้ทาง ศปจ.รวบรวมรายชื่อจังหวัดของตนเองตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้ โดยมีแบบฟอร์มในการเสนอร่างกฎหมายและให้นำส่งเอกสารรายชื่อในการประชุมครั้งต่อไปใน วันที่ 24 กันยายน 2563
และนัดหมายครั้งต่อไป การประชุมในวันที่ 24 กันยายน 2563 ในเรื่องการพัฒนาระบบกองทุน และสภาประชาสังคมไทย