รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 55) “สภาพลเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช”

ประวัติ ความเป็นมา

  • สภาพลเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง  เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด ก่อนการจัดตั้งได้มีการสำรวจความสมัครใจของคนในพื้นที่ เพื่อสอบถามความต้องการในการจัดตั้งศูนย์ฯ โดยสถาบันพระปกเกล้า  ได้มีการเชิญภาคประชาชนจากภาคส่วนต่าง ๆ มาพูดคุยกัน เมื่อมีความต้องการ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมืองขึ้น เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ 
  • ในระยะแรก ภารกิจ คือ การสำรวจปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่ รวมไปถึงการสำรวจเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ ที่กำลังทำงานขับเคลื่อนอยู่ในจังหวัด ด้วยการจัดเวทีสาธารณะในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัด ซึ่งมีอยู่ 23 อำเภอ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อรับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ

เป้าหมายขององค์กร

  • เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย สร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้แก่คนในพื้นที่  สร้างความเข้มแข็ง เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือเครือข่ายต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน

รูปแบบการมีส่วนร่วม

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันพระปกเกล้าสองแสนบาทต่อปีงบประมาณ เพื่อใช้ในการสนับสนุนการทำกิจกรรมที่มาจากความคิดของประชาชนในพื้นที่

รายชื่อเครือข่ายสภาพลเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 50 องค์กร ได้แก่

  1. จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. กร.มน.จังหวัดนครศรีธรรมราช
  4. สภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช
  5. ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  6. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดนครศรีธรรมราช
  7. คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานเขต 11 
  8. คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดนครศรีธรรมราช
  9. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช
  10. ชมรมอนุรักษ์หนังตะลุงพันธุ์แท้จังหวัดนครศรีธรรมราช
  11. สมาคมชาวสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช
  12. มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (โครงการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กพิการโดยชุมชน) 
  13. เครือข่ายยมนา (ยาง ผลไม้ นา) 
  14. เครือข่ายอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำอช.)จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  15. เครือข่ายสวัสดิการชุมชน จ.นครศรีธรรมราช 
  16. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช 
  17. เครือข่าย YSF (Young Smart Farmer) 
  18. เครือข่ายคลองสวยน้ำใส 
  19. โรงเรียนพลเมืองท่าศาลา อ.ท่าศาลา
  20. โรงเรียนพลเมืองเขาน้อย อ.สิชล
  21. โรงเรียนพลเมืองปากน้ำฉวาง อ.ฉวาง
  22. โรงเรียบพลเมืองเขาแก้ว อ.ลานสกา
  23. ชมรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครศรีธรรมราช
  24. ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดนครศรีธรรมราช
  25. ชมรมผู้ประกอบการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ นครศรีธรรมราช 
  26. ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมทุ่งโพธิ์
  27. ชมรมพลังงานทดแทนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  28. เครือข่าวเหยี่ยวข่าวทีนิวส์จังหวัดนครศรีธรรมราช
  29. อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจำหมู่บ้านและชุมชน (อป.มช.) จ.นครศรีธรรมราช
  30. กลุ่มสร้างบ้านให้ปูสร้างที่อยู่ให้ปลา (บ้านหน้าทับ)
  31. กลุ่มปลูกพืชผสมผสานไร้สารพิษ
  32. สมาคมอาสาสมัครสาธารณะสุขเพื่อสังคมจังหวัดนครศรีธรรมราช
  33. สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
  34. สมาคมคนตาบอดจังหวัดนครศรีธรรมราช
  35. เครือข่ายเกษตรทางเลือก
  36. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
  37. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จ.นครศรีธรราม
  38. เครือข่ายคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรี
  39. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.นครศรีธรรมราช
  40. สมาคมสตรีมุสลิม(มุสลีมะห์)จังหวัดนครศรีธรรมราช
  41. ชมรมพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขนอม
  42. ศูนย์พึงได้โดยพลเมืองหญิงนครศรีธรรมราช
  43. กลุ่มอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็งนครศรีธรรมราช
  44. สมาคมท่องเที่ยวขนอม
  45. กกต.จังหวัดนครศรีธรรมราช
  46. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอลานสกา
  47. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอนบพิตำ
  48. เครื่องข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอเชียรใหญ่
  49. เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนอำเภอหัวไทร
  50. มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์สาขาลานสกา นครศรีธรรมราช

กิจกรรมขององค์กร

ช่วงปีแรกๆ (พ.ศ. 2548-2549) เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อสร้างพลเมืองให้เข้มแข็ง โดยจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนฯ และ มีการนำประเด็นปัญหาในพื้นที่มาสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ เรื่องการบริหารจัดการน้ำ

ช่วง พ.ศ. 2550 นอกเหนือจากการจัดเวทีเยาวชนที่ดำเนินการต่อเนื่องมาแล้ว ยังมีการจัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่อีกครั้งหนึ่งดังเช่นปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นวาระการพัฒนาของจังหวัด 10 วาระขึ้น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ภาคีเครือข่ายจึงได้พัฒนาวาระทั้ง 10 เรื่องในรูปแบบของ “โมเดลการพัฒนา”

ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ยังได้มีการจัดเวทีสาธารณะขึ้น 2 ครั้ง เพื่อจัดทำข้อเสนอประกอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550

ปี พ.ศ. 2551 ดำเนินการจัดค่ายเยาวชน 4 ครั้ง  

ผลงานเด่น

การจัดทำ “แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราชฉบับเจ้าเมือง หรือ แผนเจ้าเมือง ซึ่งหมายถึง แผนพัฒนาจังหวัดฉบับที่ประชาชนเป็นผู้ยกร่างขึ้น แผนนี้ได้บรรจุเรื่องต่าง ๆที่ภาคประชาชนต้องการ เพื่อเสนอให้ภาครัฐพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา หรือ ออกเป็นนโยบายสาธารณะ หรือ ผนวกรวมเข้าไปกับแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อให้สนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน โดยทำต่อเนื่องมาแล้ว 10 ปี และจุดเด่นของแผนนี้ที่มีความแตกต่างจากข้อเสนอโครงการ หรือ แผนอื่นๆ คือ เป็นแผนที่จะช่วยบอกทิศทางความต้องการของคนในพื้นที่ มิใช่มุ่งของบประมาณมาดำเนินการ

การคัดเลือกประเด็นปัญหา ใช้กระบวนการหาฉันทามติ คือ การให้ความสำคัญกับ “เหตุผลและข้อมูล” และ เน้นการรับฟังซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะลงมติกันเพื่อเลือกปัญหา ทำให้ได้ข้อสรุป ซึ่งในการพัฒนาแผนเจ้าเมืองนี้ ได้มีการจัดประชุมหลายครั้ง และประสบความสำเร็จในการจัดทำแผนพัฒนาฉบับเจ้าเมืองฉบับแรกในปี พ.ศ. 2553

ผลจากการสำรวจข้อมูลในช่วงแรก พบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ยังไม่ทราบบทบาทของตนเองในฐานะพลเมือง และ มีปัญหาในแง่ของการส่งเสริมการขับเคลื่อนกิจกรรมภาคพลเมืองในระดับท้องถิ่น

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 24 ก.พ. 2564