ภาคกลางในส่วนที่อยู่ตอนกลางและตะวันตก เมื่อแยกส่วนที่เป็นภาคตะวันออกและปริมณฑลกรุงเทพฯ ออกไปต่างหาก
มี 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครนายก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี

ตาราง แสดงความหนาแน่น จำนวนองค์กรชุมชนต่อจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคกลาง
ลำดับ | จังหวัด | จำนวนองค์กรชุมชน(อชช.)รายจังหวัด | จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)รายจังหวัด | ความหนาแน่น อชช./อปท. | เกรด | สีสัญลักษณ์ |
1 | กาญจนบุรี | 3,286 | 122 | 26.93 | 1 | |
2 | ชัยนาท | 2,153 | 60 | 35.88 | 2 | |
3 | นครนายก | 1,270 | 46 | 27.61 | 1 | |
4 | นครสวรรค์ | 4,664 | 143 | 32.62 | 2 | |
5 | พระนครศรีอยุธยา | 3,241 | 158 | 20.51 | 1 | |
6 | ราชบุรี | 2,771 | 112 | 24.74 | 1 | |
7 | ลพบุรี | 3,340 | 126 | 26.51 | 1 | |
8 | สระบุรี | 2,894 | 109 | 26.55 | 1 | |
9 | สิงห์บุรี | 1,273 | 42 | 30.31 | 2 | |
10 | สุพรรณบุรี | 2,965 | 127 | 23.35 | 1 | |
11 | อ่างทอง | 1,636 | 65 | 25.17 | 1 | |
12 | อุทัยธานี | 2,341 | 64 | 36.58 | 2 | |
รวม | 31,834 | 1,174 | 27.12 | 1 |
ในภาพรวม พื้นที่ภาคกลาง 12 จังหวัด มีอัตราความหนาแน่นขององค์กรชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อชช./อปท.) ในระดับต่ำ คือ 27.12 อชช./อปท. (ระดับ 1)
ปัจจัยส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก พื้นที่ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก ประชากรหนาแน่น มีชุมชนเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก.