จากการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติด้านการแข่งขันของไทยในสถานการณ์การระบาดของโควิดทั่วโลก มีข้อสังเกตและเสนอแนะบางประการ

ในด้านอันดับการแข่งขัน ปี 2563 ที่จัดโดยสถาบัน IMD (IMD World Competitiveness Center )ประเทศไทยมีอันดับลดลง 4 อันดับ (คือ จาก ที่ 25 เป็นที่ 29 จาก 64 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก) โดยได้คะแนน 75.387 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย
“IMD จัดอันดับโดยดูปัจจัยหลักทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดีขึ้น ในขณะที่ด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มอันดับลดลงอย่างต่อเนื่อง”
สำหรับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจนั้น ประเทศไทยเคยได้รับการจัดอันดับด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลก อย่างต่อเนื่องมา 3 ปีในช่วงปี 2560 – 2562 ก่อนที่จะมีอันดับลดลงในปี 2563 (14)และต่อเนื่องมาถึงปี 2564 (21)
ในด้าน GDP ปี 2563 ติดลบ 6.1 (เปรียบเทียบ ปี 2562 เป็นบวก 2.6) แต่ก็นับว่ายังดีกว่ายุควิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2541 ที่ติดลบ 7.6
ในด้าน GNP ปี 2563 เฉลี่ย 236,815 บาท/หัว/ปี มีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคตะวันออกกับภาคอีสาน ห่างกันถึง 6 เท่า
ในด้านงบวิจัยและพัฒนา ปี 2563 งบวิจัยฯ คิดเป็น 1.1 % GDP หรือ ประมาณ 182,357 ล้านบาท (สัดส่วน รัฐ /เอกชน เป็น 78/22)
ในด้านประเด็นเป้าหมาย สำหรับปี 2564/2565 มีการกำหนดไว้ 4 เรื่อง คือ 1) เศรษฐกิจท้องถิ่น Local Economy 2)เครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญ Growth Engines ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรม-บริการทางการแพทย์ อาหาร ยานยนต์สมัยใหม่ ท่องเที่ยว 3) ศักยภาพ-คุณภาพคน 4) ปัจจัยพื้นฐาน
ความสำเร็จในการวัคซีนโควิดและภูมิคุ้มกันรวมหมู่ของสังคมไทย ทั้งมิติความครอบคลุมและมิติความรวดเร็วในการเข้าถึงร้อยละเป้าหมาย เป็นปัจจัยสำคัญต่อการกลับฟื้นชีวิตเศรษฐกิจ สังคม ท่องเที่ยว และการเดินทาง
สำหรับประเด็นท้าทายสำหรับแผนปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการแข่งขัน
ด้านเศรษฐกิจ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ Big Data/Digital Platform, บูรณาการระหว่างหน่วยงาน, ปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบุคลากร/แรงงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ส่วนด้านพลังงาน ประเด็นสำคัญ คือ แผนงานการรวม 3 การไฟฟ้า, ปรับโครงสร้างและราคาพลังงาน, ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า, ระบบฐานข้อมูลกลาง และการแก้ไขกฎหมาย 6 ฉบับ
สำหรับข้อเสนอแนะ สำหรับเร่งรัดดำเนินการ
มี 5 ประเด็น คือ
1) ควรเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของรัฐทุกระดับ
2) ควรแก้สถานะด้านการเงิน การเข้าถึงสภาพคล่อง และการปรับโครงสร้างหนี้
3) ควรสร้างบรรยากาศการแข่งขันของหน่วยงานรัฐ โดยอาจใช้มาตรการรางวัลจูงใจ
4) ควรเพิ่ม-ขยายเวลา สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไปจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ
5) ความปรับวิธิการติดตามงานปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติ โดยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง วุฒิสภา ปยป. และ ปยป.กระทรวง/กลไกเชิงพื้นที่.
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 16 ก.ย. 2564