รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 96) “ ปฏิรูปเศรษฐกิจยุคโควิด ”

สถานการณ์โควิด-19 ทำลายระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทย ธนาคารโลกและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประเมินความรุนแรงของผลกระทบสำหรับประเทศไทยว่าหนักยิ่งกว่าวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540

รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 96) “ ปฏิรูปเศรษฐกิจยุคโควิด ”

การติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการดำเนินงานของแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เต็มไปด้วยปัญหา อุปสรรคและความท้าทาย ทำให้ต้องมีการติดตามประเมินปัญหาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากโรคระบาดโควิดและปรับปรุงมาตรการและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจยังถือได้ว่าเป็นกรอบการพัฒนาที่มีคุณค่า หน่วยงานสามารถปรับประยุกต์ในสถานการณ์โควิดได้เป็นอย่างดี  

เป้าหมายของแผนนี้ มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ 2) กระจายความเจริญและความเข้มแข็งของภาคสังคม 3) ปรับบทบาท โครงสร้าง กลไกสถาบันบริหารจัดการเศรษฐกิจ

ส่วนตัวชี้วัดเป้าหมาย มี 4 อย่าง คือ 1) GDP 2.5%  2) อันดับความสามารถแข่งขันเป็นที่ 25 ของโลก  IMD top 25   3) ค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค(Gini Coefficient)เท่ากับ 0.41  4) อันดับประสิทธิภาพภาครัฐเป็นที่ 2 ของอาเซียน IMD top 2 

ซึ่งข้อมูลความก้าวหน้าจากรายงานของรัฐบาลในรอบ มกราคม-มีนาคม 2564  พบว่าใกล้เคียงเป้าหมาย  1) GDP 1.66 (ปี 2562)  2) อันดับการแข่งขันของประเทศเป็นที่  29 (ปี 2563)  3) ระดับความเหลื่อมล้ำ วัดจากค่าสัมประสิทธิ์จีนี เท่ากับ 0.420 (ปี 2562)  4) อันดับประสิทธิภาพภาครัฐอยู่ที่ 23 ของโลก  และเป็นที่ 2 ของอาเซียน (ปี 2563)

สำหรับแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจที่ปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบสูง 5 เรื่องและกฎหมาย 7 ฉบับ ดังนี้

1.การสร้างเกษตรมูลค่าสูง   มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1) GDP เกษตรขยายตัว 3.8%   2) มูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูป- เกษตรชีวภาพ-เกษตรเทคโนโลยี เป็น 20%  3) รายได้เงินสดสุทธิทางเกษตรเพิ่ม 5%ต่อปี

2.การท่องเที่ยวคุณภาพสูง มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1) ค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่อวันเพิ่ม 10% ต่อปี  2) รายได้ท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่ม 10%ต่อปี  3) ลำดับการแข่งขันท่องเที่ยวสุขภาพ ปลอดภัยและยั่งยืนสิ่งแวดล้อมของWEFอยู่ในกลุ่ม Top 50

3.โอกาส SMEในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1) GDP-SME 42 %  2) อันดับการใช้เทคโนโลยี IMD อยู่ใน Top 36  3) มูลค่าการค้าอิเล็คทรอนิค SME เพิ่ม 1 เท่าตัว  4) Start Up เกิน 30 ล้าน เพิ่มขึ้น 20% ต่อปี

4.ศูนย์การค้าการลงทุนของภูมิภาค มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1) อันดับความยากง่ายการประกอบธุรกิจ WB Top 20  2) จำนวนกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ เพิ่ม 20% ต่อปี  3) มูลค่าลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ Top 3 ของอาเซียน 

5.การพัฒนาศักยภาพคน  มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1) คะแนนความสามารถพัฒนาทุนมนุษย์ WEF เพิ่ม 20% ต่อปี

6.การปรับปรุงกฎหมาย มีตัวชี้วัดเป้าหมายกฎหมาย 7 ฉบับ ได้แก่ 1) พรบ.คนเข้าเมือง 2522  2) พรบ.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 2560  3) พรบ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 2542  4) ร่าง พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ พ.ศ. ….  5) ร่างพรบ.ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ….  6) พรบ.ภาษีสรรพากร 2560 7) พรบ.การผังเมือง 2562

มีข้อเสนอแนะส่วนตัวจากผู้รายงานว่าควรเพิ่มตัวชี้วัดที่ประชาชนอยากรู้ เช่น  1) ฐานข้อมูลกลางของเกษตรแปลงใหญ่ทั่วประเทศ ศูนย์เรียนรู้สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ  2) สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศโดยเฉพาะท่องเที่ยวด้านสุขภาพ  3) ฐานข้อมูลกลางสินค้าและบริการSME  4) สถิติการนำเข้าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และสินค้าด้านความมั่นคง  5) โครงการ One Country One Platform (OCOP) ไปถึงไหน  6) ผลงานประจำปีของสำนักงานบูรณาการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ  7) เงินงบประมาณในรอบปี ที่ใช้เยียวยาและฟื้นฟูจากโควิด

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 28 ก.ย. 2564