MENU

รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 97) “ปฏิรูปพลังงานที่ประชาชนสัมผัสได้”

แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงานเป็นส่วนประกอบหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติด้านความสามารถในการแข่งขัน เป็นแผนที่มีประเด็นปฏิรูปจำนวนมาก รวม 17 ประเด็นด้วยกัน  

รายงานประชาชน โดย ส.ว.พลเดช (ฉบับที่ 97) “ปฏิรูปพลังงานที่ประชาชนสัมผัสได้”

ในช่วงแรกๆ กรรมาธิการด้านพลังงานของวุฒิสภามีข้อสังเกตว่าการขับเคลื่อนของฝ่ายรัฐบาลและส่วนราชการค่อนข้างช้า จึงมีข้อเสนอแนะเร่งรัด ในการรายงานความก้าวหน้า รอบปี 2563 ว่า

1) เร่งรัดให้นำประเด็นปฏิรูปที่ทำเสร็จแล้ว(4,13) ไปสู่การออกนโยบายและดำเนินการให้เกิดผล 2)เร่งรัดผลักดันประเด็นปฏิรูปที่มีความคืบหน้า(2,5,7,15) ให้บรรลุผล  3)ส่วนประเด็นปฏิรูปที่ล่าช้า(9,11) ควรปรับปรุงหรือยกเลิกกันไปเสียเลย

อันที่จริงในเป้าหมายของแผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ได้กำหนดไว้สั้นๆว่า มุ่งยกระดับความสามารถการแข่งขันด้านพลังงานของประเทศ  โดยมีตัวชี้วัดเป้าหมายรูปธรรมเพียง 2 ประการเท่านั้น คือ 1)อันดับของประเทศด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเป็นอันดับ 25 ของโลก คือ IMD top 25  2)ความเข้มข้นการใช้พลังงาน เป็น 7.5 หน่วย (พันตันน้ำมันดิบ/พันล้านบาท) 

สำหรับข้อมูลความก้าวหน้าล่าสุดจากรายงานของรัฐบาลในรอบเดือนมกราคม-มีนาคม 2564  พบว่า คืบหน้าได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายของแผนฯมาก กล่าวคือ   1)อันดับที่ประเทศ ด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน เป็นที่ 25 (ปี 2562)  2)ความเข้มข้นการใช้พลังงาน (ปี 2562) 7.54 

สำหรับในระยะยาว แผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจที่ปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบสูง 5 เรื่องและกฎหมาย 8 ฉบับ ดังนี้

1.ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จด้านกิจการไฟฟ้า One Stop Service  มีตัวชี้วัดเป้าหมาย ได้แก่ 1)กระบวนการอนุมัติอนุญาต ลดเวลาได้จริงในปี 2564  2)กกพ.มีมาตรฐานการตรวจสอบประเมินโรงไฟฟ้า 3)กฟน.กฟภ.เชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ทุกเวลา ทุกสถานที่ 24 ชั่วโมง

2.ศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติ  มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1)จัดตั้งศูนย์ NEIC ในกระทรวงพลังงาน ภายใน 2564  2)จัดตั้งระบบกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร  3)เชื่อมโยงข้อมูลภายนอกในปี 2564  4)พัฒนาแนวทางการเป็นองค์การอิสระ ในปี 2565

3.บริษัทจัดการพลังงานสำหรับหน่วยงานภาครัฐ มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1 )ครม.ให้ความเห็นชอบหลักการ ภายใน 2563  2)มีระเบียบวิธีปฏิบัติที่ครม.เห็นชอบ 2565 และใช้จริง 2566 

4.พัฒนาปิโตรเคมี ระยะ 4   มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1)แผนพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพลาสติกและเคมีภัณฑ์ 2564  2)แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะ 4 พื้นที่ภาคตะวันออก  3)แผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะ 4 ในพื้นที่อื่น  4)มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ

5.ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ  มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1)ผลการศึกษาสัดส่วนโรงงานไฟฟ้าฐานกับโรงงานไฟฟ้าอื่น 2)แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า PDP2022  3)ศึกษาการปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า  4)นำแผน PDPไปปฏิบัติตั้งแต่ปี 2565

ผู้รายงานมีความเห็นส่วนตัวว่า ควรเพิ่มตัวชี้วัดรูปธรรมที่ประชาชนอยากรู้ เช่น ความก้าวหน้าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย กลไกและระบบที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ และราคาพลังงานที่ถูกลง

6.การปรับปรุงกฎหมาย มีตัวชี้วัดเป้าหมาย คือ 1)พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550  2)ระเบียบกระทรวงพลังงานว่าด้วยการนำรูปแบบ ESCO มาใช้กับภาครัฐ ภายใน 2565  3)ร่างแนวปฏิบัติของสำนักงบประมาณสำหรับคำขอและผูกพันงบประมาณของESCO  4)ร่างแนวปฏิบัติและสัญญามาตรฐานกรมบัญชีกลางสำหรับ ESCO  5)ระเบียบจัดตั้งกลไกจัดทำแผนบูรณาการและการลงทุน ระยะ 5 ปี  6)ระเบียบ กฎเกณฑ์สำหรับThird Party Access ของระบบขนส่งและจำหน่าย  7)ระเบียบส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขันที่ใช้พลังงานทดแทน  8)ระเบียบส่งเสริมกิจการจำหน่าย

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป / 1 ต.ค. 2564