เสาหลักสำคัญ เพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำประสบการณ์
จากประเทศเยอรมัน : การศึกษาและเรื่องการเมืองเป็นเรื่องเดียวกัน ริเริ่มในปี ค.ศ. 1950
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

• การศึกษา คุณภาพใหม่ มุ่งสู่การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อการมีส่วนร่วมของพลเมืองในทางการเมืองอย่างมีความรับผิดชอบต่อประเทศ เพื่อขจัดความไม่รู้เท่าทันทางการเมือง
• การศึกษาคุณภาพใหม่ มุ่งสู่การขจัดความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคมอุตสาหกรรมเยอรมันที่กรรมกรถูกเอาเปรียบและยากจนเป็นกรรมกรจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูก เปิดโอกาสใหม่ให้กับทุกชนชั้นด้วยการศึกษา เพื่อการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และเกิด SME ทั่วประเทศ กลายเป็นกระดูกสันหลังของชาติ (SME is the backbone of the country) ในทศวรรษ 1960
• การศึกษาใหม่ คือ การมุ่งสร้างพลเมือง โดยเตรียมความพร้อมตั้งแต่เด็กเล็กไปจนโต โดยเป็นการศึกษาที่ปลอดจากการชี้นำและครอบงำ ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้ใหม่ที่ผู้เรียนมีอิสระภาพในการแสดงซึ่งความคิดเห็น มีความรับผิดชอบสูง มีวินัยต่อตนเอง ผู้เรียนค้นพบตนเอง และการแสวงหาคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และด้วยการสร้างพลเมืองเช่นนี้ จึงพัฒนาสู่ทักษะในการส่วนร่วมทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศอย่างเข้มข้น

พลเมืองเยอรมันจึงเป็นผลพวงหรือผลผลิตของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) ที่ทำให้ประเทศเยอรมันหลุดพ้นจากการไร้เสถียรภาพทางการเมือง และความยากไร้ความเหลื่อมล้ำ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่ประเทศที่มั่นคงมีเสถียรภาพทางการเมือง และมีเศรษฐกิจมั่นคง ไม่มีความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคมของพลเมืองเยอรมัน จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education) ประสบการณ์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) เริ่มในปี ค.ศ. 1996 เพื่อเป็นการสร้างพลเมืองในแนวทางประชาธิปไตยด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ
• การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองเพื่อทลายความไม่รู้ (Ignorance) ในเรื่องการเมืองประชาธิปไตยที่ถูกครอบงำโดยเผด็จการมายาวนาน เพื่อให้ชาวเกาหลีมีวัฒนธรรมประชาธิปไตย การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง เพื่อสร้างประชาชน ให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบมีอิสระ เพื่อความก้าวหน้าของสาธารณรัฐเกาหลี
• การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองเกาหลีเน้นสร้างคุณภาพในตัวผู้ใช้สิทธิ์ทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ซึ่งจำเป็นต้นเตรียมเก็กเล็กไปจนโต เมื่อมีการเลือกตั้งทำให้ได้สมาชิกรัฐสภาที่มีคุณภาพที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ในรัฐสภา
• การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในเกาหลีใต้ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง จากความเข้มแข็งของพลเมือง อันส่งผลให้พลเมืองเกาหลีมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจอย่างมาก
• การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในเกาหลีใต้ให้อิสรภาพทางความคิดในการแสดงออกเพื่อการค้นพบตนเองของผู้เรียนโดยไม่ครอบงำหรือชี้นำผู้เรียน อันก่อให้เกิดความตื่นตัวในการประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สู่สังคมโลก และเป็นประเทศที่ยกระดับจากประเทศกำลังพัฒนาสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว จากประเทศยากจนและเป็นคนป่วยของเอเชีย สู่ประเทศที่พัฒนาก้าวหน้าทั้งการเมืองและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ