เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 16.00 น. ห้องประชุม Tulip ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 57 คน ประกอบด้วย (1) ภาคเหนือ จำนวน 7 จังหวัด (2) ภาคกลาง จำนวน 8 จังหวัด (3) ภาคอีสาน จำนวน 7 จังหวัด (4) ภาคใต้ จำนวน 8 จังหวัด
ทางโครงการสนับสนุนกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัด ได้ทำการจัดประชุมชี้แจงโครงการฯ ร่วมกับทางผู้ประสานงานภาคประชาสังคมในแต่ละจังหวัด โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้ เข้าใจถึงรายละเอียดการทำโครงการทั้งหมด โดยมีเนื้อหาสำคัญในการประชุม ได้แก่
- แผนภาพตัวโครงการในการดำเนินงาน
- เป้าหมายโครงการ
- วัตถุประสงค์
- ตัวชี้วัด
- แผนการดำเนินงานโครงการ (ตลอดระยะเวลาทั้งโครงการ)
- กิจกรรมหลักของตัว TOR
- นิยามกลุ่มประชากรเฉพาะ
- เรื่องกลไกระดับจังหวัดในการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ
- การวางแผนการจัดทำฐานข้อมูล
- นวัตกรรม และองค์ความรู้ในการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ
และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุมตลอดระยะเวลาของการประชุม ประเด็นสำคัญที่ร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ ความหมาย สถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มเป้าหมาย ของประชากรกลุ่มเฉพาะในจังหวัดที่จะสำรวจ










Table of Contents
สรุปสถานการณ์ และนิยาม ของกลุ่มประชากรเฉพาะ
กลุ่มที่ 1 ผู้พิการ
สมมุติว่าเราจะไปสำรวจคนพิการโดยส่วนใหญ่แล้วมีบัตรคนพิการแล้วหรือยังบางคนพิการแบบกระทันหันอย่างเช่นประสบอุบัติเหตุไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องไปขึ้นทะเบียนอย่างไรและได้รับเงินช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เราต้องการคนพิการที่เข้าไม่ถึงบริการของรัฐเข้าไม่ถึงในนี้ก็คือว่ายังไม่มีบัตรผู้พิการอันนี้ต้องไปสำรวจผู้ที่ตกสำรวจ
ทางด้านคุณกัลยา เอี่ยวสกุล ตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดปัตตานี ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้พิการในพื้นที่ต้องบอกอย่างนี้ว่าจะต้องให้หมอต้องรับรองว่าเป็นผู้พิการถึงจะออกบัตรได้แต่ว่าบางคนตาบอดข้างเดียวเขาก็ว่าเป็นผู้พิการแล้ว แต่แพทย์ไม่รับรองก็ถือว่าไม่ใช่ผู้พิการ ไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนบัตรผู้พิการได้รับเงินสงเคราะห
ดร.วณี ปิ่นประทีป จะมีกรณีก่ำกึ่งแบบนี้ ตามองไม่เห็นข้างหนึ่งและแพทย์บอกว่ายังไม่ออกใบรับรองแพทย์ ทั้งที่คนไข้บอกว่ามองไม่เห็น ต้องหาแพทย์ที่รู้จักคือหน้าที่ของพวกเรา เพราะว่าผู้สูงอายุเนี่ยเป็นต้อกระจกที่มองไม่เห็นต้องไปผ่าตัด ที่จริงตอนนี้เนี่ยมันผ่าตัดง่ายขึ้นแต่กว่าผู้สูงอายุคนนั้นได้คิวผ่าตัดมันยาก

กลุ่มที่ 2 ผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องมีภาระเลี้ยงดูคนอื่นเป็นกลุ่มที่เปราะบางมาก เบี้ยยังชีพที่ดูแลตัวเองดูแลตัวเองแทบไม่ได้ (ผู้สูงอายุที่มีบัตรประชาชนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็ได้เบี้ยผู้สูงอายุ) เช่น ผู้สูงอายุที่มีภาระต้องดูแลลูกหลานส่งเด็กมาให้เลี้ยง สูงอายุที่มีภาระดูแลผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น เป็นกลุ่มที่เราปรึกษาว่ากับ สสส. ว่าจะเก็บข้อมูลกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ
ทางสภาพัฒน์ เรียกว่า “ความยากจนข้ามรุ่น” พึ่งจะมาอธิบายช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด หมายถึง ในรุ่นพ่อแม่ มีการศึกษาน้อย ต้องทำงานรับจ้างทั่วไป ในขณะเดียวกันครอบครัวก็มีการศึกษาน้อยต้องทำงานที่เป็นใช้แรงงาน ต้องดูแลผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันก็ไม่มีเงินที่จะส่งลูกเรียนในระดับสูงได้ ถึงแม้ว่าขนาดนี้มีการเรียนฟรี แต่มีข้อจำกัด ค่ารถ ค่าอาหาร เพราะฉะนั้นความยากจนจากรุ่นพ่อแม่มันจะส่งผลถึงรุ่นลูก
แล้วในสถานการณ์โควิด คนที่ตกงานนึกภาพว่ามีครอบครัวหนึ่งมีผู้สูงอายุและทำงานอยู่กรุงเทพและส่งลูกไปอยู่กับย่ากับยาย ถ้าตัวเองตกงานทั้งสามีภรรยา นึกภาพว่าตกงานแล้วกลับไปที่บ้านจากที่ตัวเองเป็นแรงงานในระบบ กลายเป็นแรงงานนอกระบบ เพราะว่ากรุงเทพช่วงที่เป็นโควิดบริษัทต่างๆ ก็ปิดไปเยอะ เพราะแบกรับไม่ไหวอันนี้จะเกิดสภาพผู้สูงอายุคนนั้นนอกจากจะดูแลหลานแล้วลูกสาวลูกชายก็กลับมามีงานทำก็ต้องหาอาชีพอันนี้จะไปบรรยายในแรงงานนอกระบบ แรงงานนอกระบบในที่นี้ก็คือที่หารับจ้างเป็นรายวันไปสถานการณ์อันนี้มันจะส่งผลต่อลูกจะได้เรียนแค่ไหนความยากจนนั้นนี้ข้ามไปสู่ลูกเลย เรานึกภาพว่าสองคนสามีภรรยากลับมาบ้านอาจจะได้เงินชดเชยแต่อาจจะไม่มากพอ ดร.วณี ปิ่นประทีป เชื่อว่าทุกจังหวัดจะมีครอบครัวแบบนี้เยอะมาก
ด้านคุณเพ็ญพร ตั้งปฏิการ ตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวเสริมว่า “แรงงานนอกระบบจะให้พ่อแม่ใช้หนี้แทนและเลี้ยงหลานไปด้วยหนักกว่าเดิม”
ข้อมูลจากสภาพัฒน์ เชื่อว่าคนเหล่านี้จะกลับไปบ้านและเค้าก็คาดการณ์ไว้ว่ามันจะเกิดสถานการณ์คนยากจนที่ข้ามรุ่นไปสู่รุ่นลูกและผู้สูงอายุเราก็อายุยืนขึ้นอีกกลายเป็นว่าคนที่เป็นแรงงานหลักต้องดูแลทั้งเด็กและผู้สูงอายุ คือ มีภาวะพึ่งพิงสูงและผู้สูงอายุทำงานไม่ได้ แล้วอย่างที่คุณเพ็ญพร ตั้งปฏิการ ว่าต้องไปพึ่งเงินนอกระบบ เป็นภาระของพ่อแม่ เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราไปสำรวจ จะกำหนดเวลาเลยว่าสำรวจแค่ระยะเวลานี้เราจะได้สถานการณ์จริงว่ามีผู้สูงอายุที่ต้องรับภาระ ผู้สูงอายุที่ไม่มีภาระ เลยเราคิดว่าไม่เปราะบาง แต่ผู้สูงอายุที่มีภาระอย่างเช่นคนในครอบครัวติดเตียงและต้องดูแลเด็กอีกและคนที่ตกงานกลับมาบ้านอีกผู้สูงอายุต้องเผชิญปัญหาถือว่าเป็นกลุ่มที่เปราะบาง
กลุ่มที่ 3 สถานการณ์คนไร้บ้าน
จากสภาพัฒน์ที่เขาสำรวจซึ่งเชื่อว่าคนเหล่านี้จะกลับไปบ้านและเขาก็คาดการณ์ไว้ว่ามันจะเกิดสถานการณ์คนยากจนที่ข้ามรุ่นไปสู่รุ่นลูกและผู้สูงอายุเราก็อายุยืนขึ้นอีกกลายเป็นว่าคนที่เป็นแรงงานหลัก ก็ต้องดูแลทั้งเด็กและผู้สูงอายุคือมีภาวะพึ่งพิงสูงและผู้สูงอายุทำงานไม่ได้
ต้องไปพึ่งเงินนอกระบบแล้วก็มาเป็นภาระของพ่อแม่อีก เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราไปสำรวจเราจะกำหนดเวลาเลยว่าสำรวจแค่ระยะเวลานี้เราจะได้สถานการณ์จริงว่ามีผู้สูงอายุที่ต้องรับภาระผู้สูงอายุที่ไม่มีภาระเลยเราคิดว่าไม่เปราะบาง แต่ผู้สูงอายุที่มีภาระอย่างเช่นคนในครอบครัวติดเตียงและต้องดูแลเด็กอีกและคนที่ตกงานกลับมาบ้านอีกผู้สูงอายุต้องเผชิญปัญหาถือว่าเป็นกลุ่มที่เปราะบาง
กลุ่มที่ 4 แรงงานนอกระบบ
เป็นการต้องยากแน่คือแรงงานนอกระบบเนี่ยในความหมายของ สสส. แรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ทำงานรับจ้างทั่วไปทีนี้แรงงานนอกระบบเนี่ยถ้าเค้าไม่เข้าใจว่าเค้าต้องทำประกันสังคมที่ประกันสุขภาพตนเองเค้าจะรู้เรื่องไหมพวกเราคิดว่าเค้าจะส่งไหมมาตรา 39 หรือ 40 ทีนี้คนทั่วไปจะรู้หรือไม่คงไม่รู้หรอกถึงแม้ว่าตัวเองจะมีนายจ้างเราสามารถที่จะส่งตัวเองได้และรัฐบาลสมทบให้ คือกลุ่มแรงงานนอกระบบเนี่ยเราหวังว่าเขาถ้าเค้าส่งเงินเนี่ยตอนที่เขาอายุ 55 มันก็จะมีกองทุนของพวกเราที่ส่งประกันสังคมเรามีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีเงินคืนให้เราตอนที่เราอายุ 55
คนที่ไม่ได้ส่งอะไรเลยถ้าไม่มีหลักประกันอะไรเลยแต่เค้าพยายามจะให้ส่งกองทุนการออมแห่งชาติ แต่กองทุนการออมแห่งชาติทั่วไปยังไม่เข้าใจเพราะกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม รัฐบาลพยายามบอกว่าให้ส่งให้เข้าการออมแห่งชาติก็คือส่งทุกเดือน สูงสุด 1,200 ต่อเดือนจะส่งเป็นปีหรือเดือนก็ได้ แล้วตอนอายุ 60 ถ้ากองทุนการออมแห่งชาติต้องอายุ 60 เค้าก็จะมีเงินเดือนคืนให้ แล้วแต่ฐานที่เราส่งอันนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้
เพราะฉะนั้นกลุ่มแรงงานนอกระบบที่เรากังวลก็คือว่าเรื่องของใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพมันได้อยู่แล้วแต่ว่าเรื่องของการมีงานใช้หลังจากที่ตัวเองเกษียณอายุแล้วนี้จะลำบาก เพราะฉะนั้นเวลาพวกเราไปสำรวจเนี่ยอาจจะต้องถามว่าเป็นแรงงานนอกระบบที่เค้ามีหลักประกันสังคมหรือเปล่า หมายความว่าส่งตัวเองหรือไม่ ถ้าไม่ส่งเนี่ยแน่นอนเวลาไปโรงพยาบาลเข้าไปได้เพราะใช้หลักประกันสุขภาพแต่สวัสดิการ อย่างอื่นเขาจะไม่มีเลยเรื่องของความมั่นคงของระบบบำนาญ
ขณะนี้การทำฐานข้อมูล สสส. ยังไม่ชัดเจนว่าจะเอาแค่ไหนเรารู้ว่าเอาตามนี้นะทั้ง 10 กลุ่มแต่แรงงานนอกระบบเรายังคิดอยู่ว่าถ้าไปสำรวจต้องเป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย ก็คือแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้ส่งประกันสังคมอยู่แล้วแต่บางคนแรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่เค้ามีฝีมือพวกช่างและเขามีรายได้สูง แต่แรงงานนอกระบบที่เป็นแรงงานรับจ้างอันนี้เนี่ยน่าเป็นห่วงแน่นอนว่าเรื่องเจ็บป่วยเราไม่ห่วง แต่ถ้ามีเรื่องอื่นที่จำเป็นที่เขาจะต้องใช้เงินขึ้นมาเนี่ยหรือเจ็บป่วยหนักมากการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพเนี่ยบางเรื่อง คือถ้าเค้าเจ็บป่วยแน่นอนว่าเข้ารักษาโรงพยาบาลแต่รายได้เค้าไม่มีแต่เค้าต้องกินทุกวัน อันนี้มันจะกระทบทันทีเลย หมายถึงว่าแข็งแรงทำงานได้โอเค เจ็บป่วยรายได้แต่ละวันมันไม่มีอันนี้มันเป็นความเปราะบาง
กลุ่มที่ 5 กลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สถานการณ์ชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง
กลุ่มที่ห้า กลุ่มที่มีสถานะบุคคลกลุ่มชาติพันธ์กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองอันนี้ในหลายจังหวัดคงมีปัญหาจังหวัดที่อยู่ขอบชายแดนจังหวัดที่มีพี่น้องชนชาติน่านก็ยังเป็นปัญหาอยู่ใช่ไหม น้องชนชาติจังหวัดชายแดนแถวกาญจนบุรีหรือแม้แต่จังหวัดใหญ่ที่มีแรงงานต่างชาติ เด็กป่วยขึ้นมานายจ้างบางคนก็ไม่ดูแลเราต้องสำรวจพวกที่ไม่มีบัตรเกี่ยวกับเรื่องการทำงานพวกนี้มีความเปราะบางเรื่องของการเจ็บป่วย และไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ คือ ด้วยกฏหมายเราอยากให้แรงงานต่างชาติทุกคนขึ้นทะเบียนและนายจ้างต้องพาไปขึ้นทะเบียนแต่โดยส่วนใหญ่นายจ้างไม่พาไปขึ้นทะเบียน โดยเฉพาะพวกที่ทำงานตามบ้านหรือทำงานตามสวนไร่นา
แต่เราต้องบอกได้ว่ายกสถานการณ์อย่าง เช่น จังหวัดตราดเรามีแรงงานนอกระบบเอาเท่าที่เราสำรวจ คือมันจะมีแรงงานต่างชาติที่ขึ้นทะเบียนกับไม่ได้ขึ้นทะเบียน แต่ขึ้นทะเบียนเราไม่ห่วงเราจะหาคนที่ไม่ขึ้นทะเบียนกลุ่มพวกนี้เป็นกลุ่มที่เปราะบาง คือทั่วๆไปถ้าเด็กมันมาเรียนหนังสือเราก็พอรู้อยู่และโรงเรียนก็ให้เด็กต่างชาติเข้ามาให้เรียนแต่ว่าพ่อแม่เค้าไม่ให้รู้ว่ามีนายจ้างพาไปขึ้นทะเบียนหรือไม่อันนี้ยากแต่ก็ไม่เป็นไร
ด้านคุณศิรินภา ทองพูล ตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเสริมว่า “มีเด็กฝั่งโน้นที่มาตอนเช้ากลับตอนเย็น”
ตอนหลังทางกระทรวงศึกษาที่การเห็นว่า แรงงานพม่า แรงงานลาว แรงงานเขมร เข้ามาทำงานเยอะมากก็เป็นห่วงเด็กที่เกิดขึ้นจะไม่มีที่เรียน เดี๋ยวนี้พอเด็กได้เรียนแล้วเรียนเก่งกว่าเด็กไทยบางคน แต่แรงงานพม่าก็จะมีแต่ชื่อ ไม่มีนามสกุล ก็จะกลายเป็นเหมือนกับไปสังเกตเขามากขึ้น ทีนี้พอเด็กไปเรียนมีแต่ชื่อก็จะรู้เลยว่าเป็นเด็กพม่า ที่ไม่ใช่คนไทยอันนี้เป็นความเปราะบางของเด็ก และเป็นปมด้อยถึงแม้ว่าเขาจะเรียนเก่ง ก็มีเด็กที่บ้านน้องสาวของคุณหมอเป็นพม่ามาเป็นแรงงานนี่แหละเรียนหนังสือเก่งแต่ว่ามีชื่อเดียวเด็กชายโม ไม่มีนามสกุลไปที่ไหนเค้าก็รู้ได้ใบประกาศนะว่าเป็นเด็กเรียนเก่ง คือ สถานการณ์ในตอนนี้ประเทศเราก็ต้องยอมรับว่าเราต้องใช้แรงงานต่างชาติเยอะ แต่มีเงื่อนไขตั้งแต่เรื่องของการที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานแค่ไหนมาในนามของผู้อพยพ คือ ในขณะนี้ทางราชการเองก็พยายามดูว่าถ้าเรียนคือตอนนี้มันมีเงื่อนไขว่าคุณต้องอายุ 18 ปีเรียนในเมื่อไทยถึงอายุ 18 ปี จนเข้ามหาลัยถึงจะมีสิทธิ์ได้บัตรประชาชนไทย โดยอายุ โดยการเรียนหนังสือ
เมื่อปี 2533 มีกฎหมายเรื่องของการได้สัญชาติโดยการเกิดตอนนั้น 2533 ทีนี้ปรากฏว่า คนข้ามมาคลอดฝั่งเราเยอะมากเพื่อที่จะได้สัญชาติไทยตอนหลังเค้ายกเลิกกฎหมายนี้ พอปี 2534 ยกเลิกกฎหมายนี้แล้ว ก็ออกกฏหมายใหม่ว่าเป็นผู้อพยพในสงครามแต่ต้องก่อนหน้านั้นก่อนปี 2533 และมาอยู่เมืองไทยจนเรียนจบปริญญาตรีที่พวกเราฟังข่าวหรือเป็นบุคคลที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศอย่าง เช่น เด็กที่ไปแข่งเครื่องบินเล็กอันนี้จะได้เฉพาะเป็นรายๆ
มาถึงเรื่องของความหมายของทาง สสส. ก็มองเรื่องของกลุ่มเปราะบางตรงที่ว่าอย่างที่พวกเราคุยมาตอนต้นแรงงานต่างชาติที่ไม่ขึ้นทะเบียนก็จะมีปัญหาเจ็บป่วยไปโรงพยาบาลไม่ได้ ต้องจ่ายเต็มนายจ้างใจดีก็ทำบัตรให้
กลุ่มพวกนี้มันจะสำรวจยากอย่างที่พวกเราบอกและอันตรายต่อผู้ที่สำรวจด้วย แต่ไม่เป็นไรเราอาจจะเจรจากับทาง สสส. เค้าว่าเราเข้าใจว่ากลุ่มพวกนี้เป็นกลุ่มเปราะบางจริงๆ แล้วก็มาอยู่ในประเทศไทยแต่ว่าการสำรวจพวกนี้มันจะมีข้อจำกัดเราอาจจะได้แค่เด็กนักเรียนที่เข้ามาเรียนอันนี้เราได้แน่ เพราะว่าจะมีชื่อชัดเจนในโรงเรียนอย่างที่มีเด็กต่างชาติเข้ามาแต่ได้เฉพาะเด็กนักเรียนเนี่ยพ่อแม่เค้าอาจจะเป็นทั้งแรงงานที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน แต่ไม่ต้องเสี่ยวชีวิตขนาดนั้น
เดี๋ยวตอนเก็บข้อมูลจะให้ทาง สสส. ต้องทำเกี่ยวกับเรื่องการยืนยันเรื่องข้อมูลในการนำมาใช้เพื่อการออกแบบต่างๆ คือวันนี้มาเล่าให้พวกเราฟังทาง สสส. บอกว่าจะมาวันนี้แต่ยังไม่เห็นมาต้องไปคุยกับทางสำนักของเขาว่ารายละเอียดที่จะเก็บข้อมูลจะเอาแค่ไหนคือจังหวัดเราเชื่อว่าไม่มีทั้ง 10 กลุ่ม เราอาจจะมี 3 กลุ่มหรือ 4 กลุ่ม แล้วจะเอาข้อมูลรายละเอียดแค่ไหนเนื่องจากมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สสส. ต้องทำหนังสือให้เราพอจะยืนยันในการเก็บข้อมูลของเราว่าเป็นความลับ แต่อย่างน้อยรับรองพวกเราในการไปเก็บและเราต้องอธิบายให้เขาว่ามันมีประโยชน์อย่างไร
กลุ่มที่ 6 กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
หมายถึง ชาวเขาชาวม้ง แต่ถ้ากลุ่ม 6 เป็นแรงงานข้ามชาติเลย แรงงานพม่าที่เข้ามาใช้แรงงานในประเทศไทยกลุ่มเนี่ยน่าจะเป็นกลุ่มที่ น่ากลัวที่สุดถูกไหมกลุ่มที่ห้ากลุ่มที่มีปัญหาสถานะบุคคลเนี่ยกลายเป็นกลุ่มที่เราอาจจะสำรวจมาว่ามีกลุ่มชาวเขาแบบไหนที่ยังไม่สามารถที่จะมีบัตรประชาชนได้โดยเฉพาะจังหวัดอุบล จังหวัดที่อยู่ชายแดน หรือจังหวัดน่าน จะมีคนพี่น้องชนชาติบางส่วน ยังไม่ได้บัตรประชาชนยังมีปัญหาหรือไม่เพราะถ้าได้บัตรประชาชนแล้วสวัสดิการจะตามมาเยอะอย่างเรื่องสุขภาพเรื่องเข้าเรียน
กลุ่มที่ 7 กลุ่มมุสลิมไทย
เป็นเรื่องละเอียดอ่อน คือ สสส. เองใช้คำว่า “มุสลิมไทย” ทาง ดร.วณี ปิ่นประทีป บอกทาง สสส. ว่า ใช้คำนี้มันเป็นความหมายที่กว้าง เพราะฉะนั้นในการศึกษาในครั้งนี้อาจารย์จะถือว่าจะศึกษาจะเน้นเฉพาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเน้นกลุ่มผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในเขตชายแดนภาคใต้ คือสถานการณ์ความไม่สงบความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ มันทำให้เกิดสถานการณ์ของผู้หญิงม่ายหรือกำพร้าเยอะมาก เพราะฉะนั้นกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่เปราะบางมาก เหมือนกับเสาหลักของครอบครัว
วันนี้ไหมที่เป็นวันที่ครบรอบซึ่งอันเนี่ยเราถือว่าเราสูญเสียผู้ชายไปตั้งเยอะ แล้วหลังจากนั้นมาความไม่สงบในภาคใต้ก็มีมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชายก็เป็นเสาหลักของครอบครัวก็เหลือแต่ผู้หญิงซึ่งประสบเป็นผู้หญิงเลี้ยงเดี่ยวมีเด็กกำพร้าซึ่ง
ข้อมูลอันเนี่ยเราจะเน้นเฉพาะทาง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ข้อมูลของผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวที่จะต้องเลี้ยงดูลูกด้วยตัวเองเดี๋ยวข้อมูลที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐให้เราไปสำรวจเฉพาะส่วนนี้ส่วนที่เค้าไปขึ้นทะเบียนกับ พม. เรื่องของเด็กกำพร้าเด็กที่ได้รับการดูแลเราลองไปสำรวจดูของทีมยะลา ยะลามีข้อมูลไหมผู้หญิงที่เป็นหญิงหม้ายและก็พวกเด็กกำพร้า ของนราธิวาส มีข้อมูลพวกนี้ไหม
กลุ่มที่ 8 กลุ่มผู้หญิง
ใช้คำว่าผู้หญิงมันกว้างมาก ในการศึกษาครั้งนี้เราเลยจะเน้นกลุ่มที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หมายถึงว่ากลุ่มที่ยากจนแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ยากจนที่เลี้ยงลูกไปทำงานไม่ได้ หรือมีรายได้ไม่แน่นอน หรือกลุ่มที่ถูกล่อลวง ยังนึกอยู่เลยว่าพวกเราจะไปสำรวจได้ไหม ทำได้หรือไม่มีคนบอกว่าทำได้ เพราะพวกเราลองจัดกลุ่มกันทีนี้
ดร.วณี ปิ่นประทีป จะเจรจากับทาง สสส. ว่าเวลาเราใช้คำว่าผู้หญิง คือ ผู้หญิงทุกคนมันต้องเป็นผู้หญิงที่อยู่ในภาวะยากลำบาก หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงจากครอบครัวถึงจะเป็นกลุ่มที่เปราะบาง
กลุ่มที่ 9 กลุ่มผู้ต้องขังหญิง
เรื่องของผู้ต้องขังหญิงไม่ต้องเนื่องจากเราไม่จำเป็นเข้าไปในเรือนจำและมันมีงานของพระเจ้าหลานเธอ กำลังทำอยู่
กลุ่มที่ 10 กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ คือ ตอนนี้กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศสิ่งที่เขาต้องการคือเรื่องของการ พ.ร.บ.คู่ชีวิต เขาอยากแต่งงานเพื่อที่ว่าเกี่ยวกับเรื่องของทรัพย์สิน ถ้าคนหนึ่งเสียชีวิตจะได้มีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินอันนี้เรื่องที่หนึ่ง เรื่องที่ยังไม่ตายหมายถึงว่าเค้าแต่งงานกันได้ เขาสามารถที่จะใช้สิทธิ์แต่ถ้าคนหนึ่งเป็นข้าราชการ เขาก็สามารถใช้สิทธิ์ในการดูแลสามีหรือภรรยาเขาได้ซึ่งอันนี้ยังไม่ผ่านสภาฯ
ผู้มีความหลากหลายทางเพศเนี่ยจะมาเปราะบางตรงที่ ถ้าเขาอยู่กันสามีภรรยาเนี่ยเค้าควรจะแต่งงานกันได้เพื่อที่จะได้ดูแลกัน เรื่องของการดูแล ค่ารักษาพยาบาล แบ่งมรดก เพราะเดี๋ยวนี้เขาไม่สนใจแล้วเรื่องการแต่งกายตามเพศสภาพได้หรืออันนึง ที่เขารู้สึกว่าไม่ค่อยชอบอย่าง เช่น ไปโรงพยาบาลทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ควรจะขึ้นคำว่านายหรือนางเรียกคุณอย่างสมมติว่าเรียกนายคนนั้นแล้วเดินมาสวย คนไข้คนอื่นก็มองเขาด้วยสายตาไม่ดีหรือเรียกนางสาวคนนี้แล้วเดินมาหล่อ
เขาก็เลยสะท้อนว่าโดยเฉพาะโรงพยาบาล เขาไม่อยากให้เรียกคนไข้ที่ขึ้นต้นด้วยนายหรือนางสาวให้เรียกคุณ เพราะฉะนั้นพยาบาลหรือหน่วยงานที่จำเป็นจะต้องประกาศชื่อไม่ต้องขึ้นต้นด้วยนายหรือนางสาว
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่เขารณรงค์ที่ให้ทำห้องน้ำสำหรับพวกเขาห้องน้ำ คุณจะเข้าแบบไหนซึ่งมันไม่เป็นไปในทางปฏิบัติ ช่วงหนึ่งที่เขารณรงค์เรื่องห้องน้ำผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
แต่เรื่องของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเนี่ยถ้าเราไปเจอในจังหวัดเราให้ดูในเรื่องของแต่ส่วนใหญ่เขาไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงระบบสวัสดิการสุขภาพ คือ โดยสภาพของเขามันทำให้เขาเป็นกลุ่มที่เราเรียกว่า เปราะบางการเข้าถึงสวัสดิการสุขภาพ
เขาเป็นผู้หญิง แต่เขายังมีหน้าอกแต่เขาอยากเป็นผู้ชายอันเนี่ยเป็นปัญหามากที่ผู้ชายอยากเป็นผู้หญิงแต่ผู้หญิงที่จะเป็นผู้ชายเพราะว่าบางคนก็ต้องไปกินฮอร์โมน พวกเราดูแล้วกันว่าในจังหวัดเรามีกลุ่มพวกนี้ไหมที่เขารู้สึกว่าเขาได้รับผลกระทบจากการที่การเข้าถึงบริการของรัฐตั้งแต่เรื่องของการไปโรงพยาบาล
บัตรสวัสดิการ
เรื่องของการมีบัตรสวัสดิการต่างๆ เพราะว่าในช่วงที่เราสำรวจมันมีเรื่องของการได้บัตรสวัสดิการของรัฐด้วยคนยากคนจน หรือคนยากไร้ อันนึงที่เราต้องถามเขาคือมีบัตรสวัสดิการหรือไม่ถ้ามีบัตรสวัสดิการ พวกเราอาจจะไปเจอคนที่ยากไร้จริงๆหรือคนจนอาจจะไม่มีบัตรสวัสดิการเลยก็ได้ รัฐบาลให้ขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการของรัฐมันเป็นเหมือนกับขึ้นทะเบียนกว้างเราเชื่อว่าถ้าไปสำรวจกลุ่มที่ยากจน
คุณเกรียงไกร บุญประจง สมาคมสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดยโสธร กล่าวเสริมว่า
จากการที่ผมได้เจอเคสหนึ่งผู้หญิงเป็นคนนครสวรรค์แต่แฟนอยู่อีกอำเภอหนึ่งและมาอาศัยอยู่ที่นี่ แล้วมีมอเตอร์ไซค์มีลูกอยู่สามคน นอนตามทุ่งนา และไปหาไม้ไผ่มาจักรสานเพื่อเลี้ยงชีพ ผมก็เลยถามเขาว่าทำไมบัตรสวัสดิการแห่งรัฐถึงไม่ได้และเจ็บป่วยบ่อยจะทำอย่างไร ผมไม่มีปัญญาทำหรอกครับ เพราะว่าแค่ค่าน้ำมันไปเอาบัตรประจำตัวก็ไม่มีปัญญาไปแล้วครับก็อาศัยนอนตามเถียงนา ผมก็ระดมช่วยเอาเสื้อผ้าเงินให้แล้วก็ให้กำลังใจไปอันนี้คือเป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในประเทศไทยครับไม่สามารถที่จะเข้าถึงบริการของรัฐได้เพราะอะไร
1. เพราะความยากจน
2. มันไม่มีอะไรที่จะไปดูแลเขา
3. อาศัยอยู่ที่บ้านญาติ ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่เอาใจใส่เพราะไม่ใช่ลูกบ้านของเขา
ดร.วณี ปิ่นประทีป กล่าวเสริมว่า ที่จริงผู้ใหญ่บ้านต้องสนใจ ในขณะนี้ช่วงสถานการณ์โควิด มีคนกลับมาอยู่บ้านหรือมีคนจากนอกพื้นที่เข้ามาอยู่และเขาอยู่ยังไง เข้าถึงสวัสดิการของรัฐแค่ไหน โดยเฉพาะที่อย่างตอนนี้เนี่ยให้ขึ้นทะเบียนใหม่บัตรสวัสดิการให้ขึ้นทะเบียนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2565 อาจารย์ยังเชื่อว่ายังมีคนตกหล่นอย่างที่ คุณเกรียงไกร บุญประจง ว่านี่แหละ คนตกหล่นพวกนี้เราต้องไปหาให้เจอแต่ถ้าหาเจอแล้วสามารถพาไปเข้าระบบได้ก็ถือว่าเราได้ช่วยเหลือเหมือนกับที่เราทำโครงการเมื่อปี 2561-2562
กลไกช่วยเหลือประชากรกลุ่มเฉพาะ และนวัตกรรม
อันสุดท้ายที่เราอยากเห็นที่ทาง สสส. อยากเห็นที่จริงเป็นขั้นตอน เขาอยากเห็นถึงระดับมีกลไก กลไกในที่นี้ก็คือรูปแบบของคณะกรรมการหรือรูปแบบของกองทุนที่จะช่วยเหลือผู้ยากลำบากให้กับในจังหวัดนั้นที่เป็นไปในระยะยาว เรียกว่าระดับที่ 5
มีกลไกที่นี่ ได้ทั้งตัวกองทุนได้ทั้งรูปแบบของคณะกรรมการประสานความร่วมมือช่วยเหลือผู้ยากลำบาก ที่จะดูแลผู้ยากลำบากในจังหวัดนั้น
ดร.วณี ปิ่นประทีป กล่าวต่อว่า เห็นตัวอย่างชัดเจน คือ จังหวัดสงขลาตั้งแต่เราทำงานปี 2561 ตั้งแต่ตอนนั้นมาจนถึงปัจจุบันของจังหวัดสงขลาเรื่องของการดูแลกลุ่มผู้เปลาะบางสงขลาได้พัฒนาเป็นตัวอย่างถือว่าค่อนข้างที่ดี ของจังหวัดอื่นอาจารย์ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม LINE นี้อาจารย์อยู่ในกลุ่ม LINE สงขลา เลยรู้ความคืบหน้ารู้เรื่องของการช่วยเหลือต่างๆ ในสงขลาช่วยกันมาตลอดนี่คืองานที่เราจะต้องทำคือรอบนี้
สำรวจข้อมูลเรื่องของตั้งกลไกของจังหวัดและดูเรื่องของกองทุนที่จะช่วยเหลือและจังหวัดไหนมีตัวอย่างดี เรียกว่า นวัตกรรม ก็ต้องเขียนเป็นเหมือนเรื่องเล่าว่านวัตกรรมเราไปให้ความช่วยเหลือและคนเหล่านั้นได้รับการช่วยเหลือและมีชีวิตดีขึ้นได้อย่างไรแต่ละจังหวัดต้องมีตัวอย่างอย่างน้อย 1-2 ตัวอย่างเรา 30 จังหวัดต้องมีอย่างน้อย 60 ตัวอย่าง ต้องเป็นตัวอย่างรูปธรรมช่วยเหลือ แล้วเขาพ้นจากการเป็นกลุ่มผู้เปราะบางได้อย่างไร
ตัวอย่างพวกนี้ สสส.จะเอาไปเป็นรูปแบบเผยแพร่ว่ามันสามารถทำได้ในกลุ่มประชากรเฉพาะ เราสามารถที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากความยากลำบาก พ้นจากการเป็นที่ไปเรียกเขาว่าเป็นกลุ่มผู้เปราะบางเพราะในความหมายของ สสส. ใช้ความหมายที่ค่อนข้างกว้าง
แต่ว่าในการศึกษาของเราให้มันแคบลงและระยะเวลาในการดำเนินงานเรามีระยะเวลา 18 เดือน เพราะการเก็บข้อมูลมันต้องเป็นไปในทางสถิติเวลาเดียวกันมันถึงจะอธิบายได้ไม่ใช่เก็บต้นปีถ้าบอกว่าเก็บภายในสองเดือนนี้เราก็ต้องพยายามไปดูเลยเราต้องไปดูก่อนว่าคนผู้ยากลำบากได้รับความช่วยเหลือแล้วหรือยัง เพราะบางทีเราไปสำรวจจริงๆอาจจะไม่เจอแต่ตอนที่ไม่สำรวจไปเจอ
คาดว่าอาจารย์จะแจ้งให้พวกเราเก็บข้อมูลน่าจะประมาณต้นปีเพราะว่าอันที่หนึ่งอาจารย์ต้องเจรจากับทาง สสส. แล้วทาง สสส. ต้องดูอีกว่า เขาต้องการข้อมูลละเอียดแบบไหนและเกี่ยวกับเรื่องของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแน่นอน ว่าทาง สสส. ต้องมีหนังสือในขณะเดียวกันพวกเราเก็บข้อมูลต้องขออนุญาตเขา เพราะเดี๋ยวเวลานำเสนอ สสส. ก็ต้องบอกเองว่าเขาได้ทำเรื่องของการทำตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว เพราะตัวอย่างที่เราจะทำเป็นตัวอย่างต่างๆนั้นเราก็ต้องมีตัวนี้แนบท้ายว่าเราขออนุญาตเขาแล้ว
แน่นอนทาง สสส. เน้นเรื่องของการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐเรื่องของบริการสุขภาพ แต่เราดูภาพรวมเลยตั้งแต่บ้านที่อยู่อาศัยเพราะว่ามันส่งผลต่อความเป็นอยู่ของเค้าถึงแม้ว่าเขาจะเจ็บป่วยไปใช้สวัสดิการของรัฐได้ แต่ระหว่างที่ไม่เจ็บป่วยมีกินหรือไม่ มีบ้านอยู่หรือไม่เดี๋ยวอาจารย์จะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปคุยกับทาง สสส. ว่าคือเค้าแบ่งกลุ่มคร่าวๆ 10 กลุ่มและมันกว้างมากเวลาไปเก็บต้องจำกัดตรงนี้ให้ชัด ต้องการคนที่เป็นกลุ่มเปราะบางจริงๆ และมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้มสุขภาพดี หรือไม่มีบ้านอยู่ ไม่มีที่อยู่อาศัย
บางทีมันไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียวแรงงานข้ามชาติไม่มีบัตรประชาชน คนไร้บ้าน ผู้พิการ มันข้ามกลุ่มกันเป็นผู้สูงอายุ แต่พิการไม่มีคนดูแลไม่มีบ้าน กลายเป็นผู้สูงอายุไปถึงคนไร้บ้านมันข้ามกลุ่มกัน แล้วบันทึกข้อมูล สสส. จะเอาข้อมูลลึกขนาดไหนเรื่องที่สำคัญเค้าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรเราใช้ประโยชน์ได้ในจังหวัดเรา เราเก็บข้อมูลเราได้ประโยชน์อยู่แล้วแต่แน่นอน สสส. จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร คือ สสส. ก็ยอมรับว่าเขาทำงานมาถึง 15 ปีเขายังไม่มีฐานข้อมูลพวกนี้เลย
ที่จริงอาจารย์ก็บอกว่าจะคุยกับ พม. ซึ่งทำงานโดยตรง สสส. ก็บอกว่าได้เฉพาะผู้ยากลำบากที่เดินทางมาถึงและลงทะเบียนได้ แต่ไม่เป็นไรก็อยากให้เราสำรวจเรามีเครือข่ายคนทำงานอยู่ในพื้นที่เพราะเราเคยสำรวจผู้ที่ตกสำรวจ เราเชื่อว่าขณะนี้นโยบายของรัฐมีเพิ่มมากขึ้นเยอะ ตั้งแต่เรื่องบัตรสวัสดิการ เราเชื่อว่ายังมีคนส่วนหนึ่งมาไม่ถึงขึ้นทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพราะว่าขณะนี้บางคนอาจจะเชื่อว่าคนจนทุกคนได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่มันก็มีบางคนที่ไม่จน แต่ได้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่คนที่จนจริงๆ ไม่มีเงินจะมาธนาคาร เงินจะกินแต่ละวันยังไม่มีเลย
หลังจากนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแต่จังหวัดต่อไป.