โครงการสนับสนุนกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัด ดำเนินงานโดยสมาคมองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมไทยเข้มแข็ง (สxส) ได้รับการสนับสนุนทุนจาก สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด (ศปจ.) 30 จังหวัด ระหว่างปี 2565 -2567
เป้าหมายของโครงการฯ (1) ส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมเข้าไปมีบทบาทในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับจังหวัด, อำเภอ, ตำบล เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเฉพาะในพื้นที่ (2) สนับสนุนจังหวัดให้เกิดกลไกการทำงานของภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม (3) มีฐานข้อมูลกลุ่มประชากรเฉพาะ ในระดับจังหวัด
ตามที่สํานักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สํานัก 4) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สนับสนุนและดําเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรมทางสุขภาพ เกิดการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในประชากรกลุ่มเฉพาะ ในการนี้สํานักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ” ครั้งที่ 2 ระหว่างวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อ
- สื่อสารสังคมถึงนโยบายที่ช่วยสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ซึ่งได้มาจากความรู้ และปฏิบัติการจริงของเครือข่ายประชากรกลุ่มเฉพาะ
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้การ ดําเนินงาน เครื่องมือและวิธีการทํางานระหว่างเครือข่ายในช่วงที่ผ่านมา
- แสวงหาโอกาสในการยกระดับการทํางานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพของประชากรกลุ่มเฉพาะ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกําลังใจ ให้กับประชากรกลุ่มเฉพาะ บุคคล และองค์กร ที่มีอุดมการณ์ในการ ทํางานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ จึงมีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลหรือองค์กร ที่ขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ
เนื่องจาก เครือข่ายศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด (ศปจ.) ทั้ง 30 จังหวัด ต่างมีประสบการณ์ในการดำเนินงาน การดูแลกลุ่มประชากรที่มีความยากลำบาก โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งองค์กรชุมชนในพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น มีระยะเวลาประมาณ 5-6 ปี เป็นอย่างน้อย แต่ละจังหวัดจึงมีประสบการณ์ที่มีความหลากหลายในการให้การช่วยเหลือ ดูแลกลุ่มประชากรที่ยากลำบาก เมื่อนำมาปรับใช้กับการให้การช่วยเหลือกลุ่ม ประชากรเฉพาะภายใต้โครงการฯ นี้ ซึ่งมีหลายกลุ่มที่เป็นกลุ่มเดียวกัน การออกแบบกลไกเพื่อการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีความยั่งยืน เป็นเรื่องที่แต่ละจังหวัดต้องร่วมกันปรึกษาหารือ และออกแบบให้มีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละจังหวัดสามารถเรียนรู้ได้จาก จ.น่าน จ.เพชรบุรี และ จ.สงขลา ทั้ง 3 จังหวัด ได้รับรางวัล “องค์กรขวัญใจกลุ่มประชากรเฉพาะ พ.ศ. 2566” (Voice of the Voiceless Award)
จึงได้รวบรวมเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาต่อไป
โครงการสนับสนุนกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัด
สารบัญ
- การคัดเลือกรางวัลองค์กรขวัญใจประชากรกลุ่มเฉพาะ
- คุณสมบัติ
- เกณฑ์การคัดเลือก
- รายชื่อผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด
- ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน
- มูลนิธิชุมชนสงขลา
- สมาคมกลุ่มคนรักเมืองเพชร












