นำแนวคิดมูลนิธิชุมชนที่มีทั่วโลกมาดำเนินการพัฒนาเสริมสร้างคุณภาพชีวิตประชาชนและชุมชนในเชิงพื้นที่ มีบทบาทนำในการแก้ปัญหาของชุมชน โดยเป็นผู้ประสาน ผู้รวบรวมคน และเชิญประชุม เป็นตัวเร่งและเป็นตัวกลางในการประสานงานในการแก้ปัญหาของชุมชน
โดยมี ดร.จุรี วิจิตรวาทการ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็นผู้มาสนับสนุนการจัดตั้ง มีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีทั้งจากภาคส่วนเอกชน ราชการ และภาคประชาสังคม รวมตัวกัน 12 คน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 โดยมี คุณชิต สง่ากุลพงศ์ เป็นประธานมูลนิธิ

ประวัติการทำงานขององค์กร
ปี 2554 – ปัจจุบัน ดำเนินการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา 2570 ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน และสังคมเป็นสุข” หนุนเสริมให้เกิดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะให้กับชุมชน โดยการสนับสนุนหลักจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) มีผลงาน เด่นๆ ได้แก่
- พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการงานคนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบาก โดยมีต้นแบบอยู่ ในพื้นที่ระดับอำเภอ โดยพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในอำเภอนาทวีร่วมกับโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ www.ข้อมูลชุมชน.com, และพัฒนาแอพพลิเคชั่น iMed@home ใช้ระบบเยี่ยมบ้านสำรวจข้อมูลความ ต้องการ รายงานกิจกรรมการช่วยเหลือ ร่วมกับเครือข่ายท้องถิ่นระดับตำบล จัดทำกติกาสนับสนุนการช่วยเหลือคนพิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัด เป็น 1 ใน 11 องค์กรที่ได้ MOU เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางจังหวัดสงขลาที่มีกองทุนฟื้นฟูมรรถภาพจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพหลัก
- ธรรมนูญตำบลน่าอยู่ หนุนเสริมขบวนเครือข่าย อปท. ในจังหวัด 20 แห่ง ร่วมมือขับเคลื่อน การทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ ทอดผ้าป่าขยะ รีไซเคิล ระดมทุนนำเงินไปจัดตั้งกองทุนกลางช่วยคนยากลำบากใน ระดับตำบล โดยร่วมกับ พชอ. (คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ) นอกจากนั้นยังมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตรายบุคคลที่ตำบลคูหา การจัดตั้งครัวกลาง “ปิ่นโตตุ้มตุ้ย” ช่วยเหลือคนจนเมือง ตำบลบ่อยาง
- จัดงานวันพลเมืองสงขลา ร่วมกับ อบจ. สงขลาสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาเสนอแนะเชิงนโยบายระดับจังหวัด เป็นประจำทุกปี ร่วมให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสร้างความร่วมมือภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัด
- สิ่งที่กำลังดำเนินการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยที่บ้านร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดทำแอพพลิเคชั่น iMedcare พัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Care giver)
ผลงาน
- เป็นแอพพิเคชั่นเพื่อบริการทางสังคมในยุคดิจิทัล (Social-application) พัฒนาโดย คุณภาณุมาศ นนทพันธ์ และมูลนิธิชุมชนสงขลาสนองตอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร กลุ่มเปราะบางทางสังคมทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ คนยากลำบาก
- เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างภาคประชาสังคมกับภาครัฐส่วนภูมิภาค (พมจ./สสจ.) ส่วนท้องถิ่น (อบจ./ทม./ทต./อบต.) ผ่านการ MOU เพื่อลดช่องว่างการให้บริการของภาครัฐและสร้างการมีส่วน ร่วมขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ในการดูแลกลุ่มเปราะบางทางสังคมงบในการพัฒนาได้มาจากรัฐบาลผ่านมาทางสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ปี 2560
- การเข้าถึงคำนึงถึงสิทธิ์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการจำกัดสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สาธารณะชนเข้าถึงได้เพียงข้อมูลเชิงสถิติเพื่อนำไปประกอบการทำแผนงานช่วยเหลือ
- ปัจจุบันให้บริการทางสังคม ไม่มีค่าบริการ ในการจัดเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มเปราะบางทาง สังคมทั้งผ่านแบบสอบถามหรือผ่านระบบเยี่ยมบ้านพร้อมนำภาพข้อมูลรายบุคคลไปประกอบการทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมรายงานเชิงสถิติเชิงพื้นที่/ประเภทและยังร่วมกับกองทุนฟื้นฟูสมรรรถภาพจังหวัดสงขลา/พมจ.สงขลา ในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางระดับจังหวัด โดยข้อมูลจากแอพฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบดังกล่าว
การนำไปใช้ประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย
- ลดช่องว่างข้อมูลรายบุคคลที่หน่วยงานต่างๆ ถือกันคนละชุดโดยใช้เลข 13 หลักเป็นตัวตั้งบูรณาการข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิ
- ข้อมูลพื้นฐาน สุขภาพ สังคม การศึกษา อาชีพ
- ความต้องการ สิ่งที่ขาดแคลน
- ข้อมูลเฉพาะด้านของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
- บันทึกภาพถ่ายเพื่อให้คณะทำงานได้เข้าถึงและเข้าใจสภาพปัญหาได้อย่างชัดเจนและเติมข้อมูลเฉพาะด้านโดยมีแบบสอบถามกลางให้ดาวน์โหลดไปใช้
- มีระบบเยี่ยมบ้านเพื่อรายงานกิจกรรมการช่วยเหลือดูแลประชากรกลุ่มเปราะบาง พร้อมสำรวจ ความต้องการ และรายงานความต้องการ การวัดสัญญาณชีพ วัด ADLฯลฯ ลดความซ้ำซ้อน ส่งต่อเชื่อมโยง การช่วยเหลือ พร้อมระบบรายงาน
- การทำงานผ่านระบบกลุ่ม สามารถจัดทำ Care plan คุณภาพชีวิตรายบุคคล
- ข้อมูลกายอุปกรณ์
- การทำงานมีทั้งระบบ Admin ตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ สามารถดูและแก้ไขข้อมูลรายบุคคล และการสมัครสมาชิกเพื่อให้สามารถใช้ระบบการเยี่ยมบ้าน หรือบันทึกนำเข้าผู้ป่วยรายใหม่
- ปัจจุบันมี User 5,898 คน กระจายอยู่ในพื้นที่เขต 12 โดยเฉพาะจังหวัดสงขลา (ส่วนใหญ่ผู้ใช้ คือ CG , อสม. , อพม. , นักบริบาลท้องถิ่น,นักศึกษาคณะพยาบาล, นักพัฒนาชุมชน อปท.ฯลฯ) มี Admin 1,055 คน มีข้อมูลคนพิการอยู่ในระบบ จำนวน 51,681 คน ผู้สูงอายุ 9,956 คน คนยากลำบาก 15,061 คน รวมทั้งสิ้น 76,698 คน (เฉพาะในเขต 12, 10 มี.ค.65)
- ผู้ได้รับประโยชน์จากงานประกอบด้วยกิจกรรมการลงเก็บข้อมูลการให้ความช่วยเหลือ ดูแล ด้านสุขภาพ/ฟื้นฟูสุขภาพ การซ่อมบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวก การทำบัตรประชาชน/บัตรคนพิการ/เบี้ยยังชีพ ปี 2560 จำนวน 3481 คน มีการเยี่ยมบ้าน 4027 ครั้ง, ปี 2561 จำนวน 1235 คน มีการเยี่ยมบ้าน 1589 ครั้ง, ปี2562 จำนวน 2391 คน มีการเยี่ยมบ้าน 3503 ครั้ง ปี 2563 จำนวน 2594 คน มีการเยี่ยมบ้าน 5643 ครั้ง ปี 2564 จำนวน 952 คน มีการเยี่ยมบ้าน 1,313 ครั้ง ปี 2565 จำนวน 505 คน มีการเยี่ยมบ้าน 581 ครั้ง (รายงานผ่านระบบเยี่ยมบ้าน 21 เม.ย. 2565)