ปี 2537 เริ่มจากการเป็นศูนย์ประสานงานรณรงค์จัดตั้งมหาวิทยาลัย มีสำนักงานอยู่ที่ห้องประชุม 3 โรงพยาบาลน่าน ต่อมาได้มีการจุดประกายความคิดด้านประชาคมโดยสภาพัฒน์และนักคิดนักวิชาการจากส่วนกลางทำให้เกิดการรวมกลุ่มทั้งในเมืองประกอบด้วย
กลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องมหาวิทยาลัย กลุ่มองค์กรกลาง นักวิชาการ ข้าราชการ และกลุ่มคนชนบท ซึ่งมีกลุ่มฮักเมืองน่านเป็นแกนนํา มารวมพลังกันจัดตั้งประชาคมขึ้นและได้ใช้ศูนย์ประสานงานน่านสันติสุขเป็นศูนย์ปฏิบัติการ จึงได้เปลี่ยนชื่อของศูนย์มาเป็นศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2539 โดยมีนายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นหัวหน้าศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน

การทำงานด้านการลดความเหลื่อมล้ำและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเฉพาะ
ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่านร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่าน ทำหน้าที่พี่เลี้ยงในการดำเนินโครงการจัดสวัสดิการชุมชนเร่งด่วนเพื่อผู้ยากลำบากจังหวัดน่าน เมื่อปี 2543 ถึงปี 2544
ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ ถูกทอดทิ้ง ผู้พิการ เด็กด้อยโอกาสและผู้ติดเชื้อเอดส์ถึง 5,192 คน ต่อมาปี 2560 ได้ดำเนินโครงการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจังหวัดเสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ. 2560 สามารถช่วยเหลือคนไร้บ้าน คนไร้สัญชาติ ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ผู้พิการซ้ำซ้อน ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยติดเตียง และอดีตผู้ต้องขังเป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ได้รับการช่วยเหลือและส่งต่อไปยังผู้ มีหน้าที่เกี่ยวข้องมีฐานข้อมูลครบทั้ง 15 อำเภอในจังหวัดน่าน
ตัวอย่างการช่วยเหลือผู้ไร้สัญชาติ
นางสุภาพ สิริบรรสพ เลขานุการศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน ในฐานะหัวหน้า โครงการพัฒนาศักยภาพกลไกสนับสนุนภาคีพลเมืองอาสาประชารัฐสานต่อภารกิจการเสริมสร้างสังคมสุขภาวะจังหวัดน่าน ได้จัดตั้งคณะทำงานโครงการระดับอำเภอและมอบหมายภารกิจให้คณะทำงานได้ ค้นหาผู้เปราะบางทางสังคมทั้ง 7 ประเภท นอกจากจะได้ฐานข้อมูลแล้วได้ดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
รายแรก นางโยม อายุ 53 ปี ถูกค้นพบโดยผู้นําชุมชนและคณะทำงานพลเมืองจิตอาสาประชารัฐอำเภอบ่อเกลือ ซึ่งนางโยมไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน กลายเป็นคนไร้สัญชาติที่ต้องเสียสิทธิต่างๆ ซึ่งนางโยม ยังเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ด้วย ดังนั้น หากต้องพิสูจน์บุคคลด้วยการตรวจหาสารพันธุกรรมทางสายเลือด นางโยมจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง โดยทางกรมทหารพรานที่ 32 ซึ่งเป็น 1 ในคณะทำงานจะสนับสนุนรถยนต์พาไปตรวจที่กรุงเทพฯ ทางคณะทำงานจังหวัดและอำเภอ จึงหารือกับนายอำเภอ และฝ่ายปกครองที่มีอำนาจสูงสุดในการพิจารณาวินิจฉัยพิสูจน์บุคคล
จึงเริ่มกระบวนการสืบค้นอ้างอิง ลำดับทางสายเลือด ซึ่งยังมีพี่น้องอยู่ในพื้นที่อย่างชัดเจนและมีการรับรองของผู้ใหญ่บ้าน ทำให้ภายใน 2 สัปดาห์ สามารถสืบค้นและพิสูจน์บุคคลจนสามารถออกบัตรประจําตัวให้นางโยมได้สำเร็จ ทำให้นางโยม ได้สิทธิความเป็นคนไทยได้รับบัตรสวัสดิการของรัฐ และยังได้สิทธิในการรักษาพยาบาลเพื่อรักษาโรคประจำตัวด้วย
รายที่ 2 นายอินทน อายุ 62 ปี ใช้ชีวิตอย่างยากลําบากจากที่ไม่มีบัตรประชาชน มานานกว่า 20 ปี ทำให้ต้องเสียสิทธิต่างๆ และสูญเสียอิสรภาพที่จะเดินทางผ่านด่าน เพราะกลัวการตรวจค้น ติดต่อหน่วยราชการไม่ได้ รวมถึงการใช้บริการของโรงพยาบาล จนต้องทำตัวเองให้แข็งแรงป่วยไม่ได้ นายอินทนเคยมีบัตรประจำตัวประชาชนและได้ไปขอต่อบัตรที่ว่าการอำเภอท่าวังผาเมื่อ 20 กว่าปี แต่ทางอำเภอแจ้งว่าไม่มีต้นขั้วบัตร เดิมจึงไม่สามารถออกบัตรใหม่ได้ ทางผู้ใหญ่บ้านได้พยายามช่วยเหลือมาโดยตลอดยังไม่สำเร็จ
ทางคณะทำงานโครงการและผู้นำชุมชนจึงรวบรวมข้อมูลจากเอกสารราชการเดิมคือสูจิบัตร และใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้ารับราชการทหารกองประจำการ และติดตามตัวน้องสาวมายืนยันเพราะทางอำเภอท่าวังผา ยืนยันให้ตรวจ DNA ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากกว่า 15,000 บาท
ทางคณะทำงานจึงประสานไปทางปกครองจังหวัดด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวแบบไม่เป็นทางการบวกกับการผลักดันอย่างมุ่งมั่นจนปลัดจังหวัดน่านได้รับทราบข้อมูลจึงสั่งการให้ปกครองจังหวัดน่าน รับตัวนายอินทนไปลงทะเบียนที่ว่าการอำเภอท่าวังผา จนได้รับบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 สร้างความดีใจ ตื้นตันใจ ซาบซึ้งจนน้ำตาไหลเหมือนได้เกิดใหม่อีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ถึง 3 กันยายน 2561 ใช้เวลาเกือบปีสำหรับการช่วยเหลือครั้งนี้
ตัวอย่างการช่วยเหลือคนไร้บ้าน “สร้างบ้าน พักทันใจ
ปี 2560 จากกระบวนการค้นหาผู้เปราะบางทางสังคม 7 ประเภท ตามฐานข้อมูลที่คณะทำงานอำเภอบ่อเกลือรวบรวมและส่งต่อขอความช่วยเหลือจากคณะทำงานจังหวัดให้ช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ และสนับสนุนจนประสบผลสำเร็จ
รายที่ 1 นางโยม อายุ 53 ปี ในขณะนั้นนางโยมเป็นผู้เปราะบางทางสังคมซ้ำซ้อนถึง 3 ประเภท คือ คนไร้บ้าน คนไร้สัญชาติ และผู้ติดเชื้อ HIV แม้จะได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับบัตรประจำตัวประชาชนไปแล้ว แต่ความเดือดร้อน เรื่องที่อยู่อาศัยกว่า 6 ปี นางโยมได้อาศัยใต้ยุ้งฉางของเพื่อบ้าน ผู้ใจดี ล้อมรอบด้วยตาข่ายพลาสติกหรือผ้าสแลนป้องกันสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษต่างๆ ในช่วงฤดูฝน จะมีน้ำไหลผ่านใต้ถุนยุ้งฉางข้าวทำให้อยู่อาศัยลำบากเพราะลำพังค่ารับจ้างทั่วไปในหมู่บ้านมีไม่มาก นายประเทือง เขื่อนเมือง อายุ 26 ปี เกษตรกรทำไร่ ทำสวน และได้มีโอกาสลงเยี่ยมบ้านนางโยม ได้ เห็นสภาพความเป็นอยู่และเห็นพลังการช่วยเหลือจนได้บัตรประจำตัวประชาชน จึงเกิดแรงบันดาลใจทำ ความดี โดยมอบที่ดินครึ่งหนึ่งของตนเองเป็นจำนวน 500 ตารางวา โดยโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง นับว่าเป็นการให้ที่สูงส่ง เพราะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์บนดอยอำเภอบ่อเกลือมีราคาสูงมาก ต่อมาทาง องค์การบริหารส่วนตำบลดงพญา ฝ่ายปกครองอำเภอบ่อเกลือ ผู้นําชุมชนและคณะทำงานฯ ได้ระดมทุน เงินและสิ่งของที่จำเป็นในการก่อสร้าง โดยทีมกองร้อยทหารพรานที่ 3203 มาสร้างบ้านจนสำเร็จ
รายที่ 2 นายสงัด อายุ 63 ปี (ในปี 2560) ถูกค้นพบโดยคณะกรรมการหมู่บ้านนากอก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีอาชีพเก็บต้นบอนในหมู่บ้านขายเลี้ยงชีพ กระสอบละ 20 บาท ตลอด ระยะเวลา 13 ปี ที่ผ่านมาอาศัยในยุ้งฉางของพี่ชาย ซึ่งมีความยากลำบากโดยเฉพาะฤดูฝน น้ำฝนจะไหลตามเนินดินเข้าไปในยุ้งฉาง ทำให้เปียกแฉะ เต็มไปด้วยโคลนดิน ไม่สามารถนอนได้ ข้าวของเครื่องใช้เสียหาย รวมถึงสัตว์เลื่อยคลาน มีพิษ ทั้งงู ตะขาบ แมลงปอง ก็เข้ามาหลบอาศัยตรงนี้ นับเป็นความยากลําบากของชายสูงอายุ ที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ตามลำพังนานกว่า 13 ปี ด้วยข้อมูล
จากการสํารวจพบว่า นายสงัดเป็นคนดีมีน้ำใจช่วยเหลืองานส่วนรวม กับทางหมู่บ้านเสมอมา ประกอบ กับข่าวจากกรมอุตินิยมวิทยาแจ้งว่าจะมีพายุเข้าพื้นที่ทำให้กรรการหมู่บ้านและคณะทำงานจิตอาสาประชารัฐอำเภอบ่อเกลือได้เร่งดำเนินการสร้างบ้านให้แล้วเสร็จก่อนพายุจะมา ด้วยรองบประมาณจากรัฐ ไม่ได้จึงระดมขอบริจาคสิ่งของ ตะปู กระเบื้อง ไม้ ปูน ทางชุมชนมีมติให้นำไม้จากป่าชุมชนมาสร้าง พระสงฆ์สมทบเสาปูนและทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ให้ ทางกรมทหารพรานที่ 32 ส่งช่างทหารพรานจำนวน 10 นาย มาช่วยสร้างร่วมกับทีมช่างของหมู่บ้าน สร้างเสร็จภายใน 1 วัน ทำให้นายสงัด มีบ้านที่มั่นคง คุ้มแดดและฝน โดยไม่ใช้งบประมาณจากทางราชการ เป็นบ้านที่สร้างด้วยน้ำใจไมตรีจากเพื่อนมนุษย์ได้ มอบเพื่อตอบแทนความดีแก่ นายสงัด ให้มีบ้านได้อาศัยอย่างทันใจและทันกาล