โจทย์ใหญ่ของงานพัฒนาคือข้อมูล ซึ่งกระจัดกระจายไปตามอำนาจหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลแตกต่างกัน และการมีกฏหมายควบคุม
ทำให้เกิดการริเริ่มพัฒนาระบบเพื่อลดช่องว่างการทำงานร่วมกันโดยใช้พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเป็นฐาน
กรณีจังหวัดสงขลา
เป้าหมายเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่บนฐานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ระยะที่หนึ่งดำเนินการโดยกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลาและเครือข่าย เน้นงานคนพิการ
วัตถุประสงค์
- ลดความเหลือมล้ำการบริการ ความซ้ำซ้อน ตกหล่น ไม่ครอบคลุม
- ปรับระบบการทำงาน ลดช่องว่าง เชื่อมต่อการบริการ
- เพิ่มประสิทธิภาพของแผนงาน/งบประมาณ
ดำเนินการร่วมกัน 11 องค์กรประกอบด้วย จังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา ท้องถิ่นจังหวัดสงขลา กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา พมจ.สงขลา สสจ.สงขลา สนง.สถิติจังหวัดสงขลา ศูนย์การศึกษาพิเศษ สนง.ประกันสังคมจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มูลนิธิชุมชนสงขลา
ขั้นตอนดำเนินการ
- MOU ความร่วมมือ 11 องค์กร ระบุข้อมูลที่จำเป็น ประกอบด้วย 1)ข้อมูลพื้นฐาน 2)ข้อมูลการรับบริการ 3)ข้อมูลความต้องการความช่วยเหลือ ตรวจสอบการทำงานของแต่ละหน่วยงานถึงมาตรฐาน ประเภทของข้อมูล แหล่งที่มา วิธีการจัดเก็บ รวมไปถึงจัดลำดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล กำหนดเป้าหมาย พัฒนาช่องทางรวบรวม การเข้าถึง และการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงการจัดตั้งทีมธรรมาภิบาลข้อมูลเพื่อควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามกฏหมาย
- จัดตั้งทีมข้อมูลกลาง ภายใต้งานของกองทุนฟื้นฟูฯ ประกอบด้วยทีมโปรแกรมเมอร์ของกองทุนฟื้นฟูฯ สสจ. พมจ. มูลนิธิชุมชนสงขลา โดยมีคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหัวหน้าทีม ทำหน้าที่พัฒนาระบบ ประสานควบคุมกำกับ ปรับปรุงแก้ไข จัดทำโครงการเพื่อจัดทำระบบข้อมูลกลาง
- จัดทำระบบแม่ของงานข้อมูล www.khonsongkhla.com ในระยะแรกเน้นนำเข้าข้อมูลประชากรเป้าหมายให้ครอบคลุมประเภทข้อมูลที่แต่ละองค์กรมี และเห็นชอบที่จะนำเข้า ปัจจุบันได้ข้อมูลประชากรทั้งสิ้น 2.5 แสนกว่ารายการ ซึ่งประกอบด้วยไปด้วยข้อมูลจากหน่วยงานสำคัญ 1.งานข้อมูลกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์สร้างสุขชุมชน ศูนย์ซ่อมสร้างสุข บ้านสร้างสุข ธนาคารกายอุปกรณ์ ผ้าอ้อมปันสุข 2.ข้อมูลด้านสุขภาพจากสนง.สาธารณสุขจังหวัดสงขลา 3.ข้อมูลด้านสังคม เศรษฐกิจ จากสนง.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา 4.ข้อมูลคนพิการจากการศึกษาพิเศษ 5.ข้อมูลคุณภาพชีวิต ข้อมูลจากระบบเยี่ยมบ้าน iMed@home จากมูลนิธิชุมชนสงขลา และร่วมมือในการใช้คลาวด์ของกระทรวงดิจิตอลจัดเก็บข้อมูลเพื่อความปลอดภัย โดยใช้งบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูฯ รับผิดชอบโดยมูลนิธิชุมชนสงขลา
- นำเสนอข้อมูล จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ Open Data ประมวลผลข้อมูลนำเสนอสู่สาธารณะ และข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการทำงานของคณะทำงาน 11 องค์กรความร่วมมือ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ ได้แก่
1) ข้อมูลพื้นฐาน(ประเภท/จำนวน/พื้นที่)
2) ข้อมูลการรับบริการ(ด้านสุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม)
3) ข้อมูลความต้องการ(สุขภาพ/เศรษฐกิจ/สังคม)
ระยะแรก เริ่มด้วยการนำเสนอข้อมูลคนพิการ เนื่องจากมีข้อมูลรองรับค่อนข้างครอบคลุม ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการอบรม admin แต่ละองค์กรให้สามารถเข้าถึงข้อมูลตามความรับผิดชอบเชิงพื้นที่ต่อไป
ระบบดังกล่าวใช้เวลาพัฒนา ปรับปรุงเกือบ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ
ระยะต่อไป ส่งต่อข้อมูลเข้าสู่กรรมการกองทุนฯพัฒนาระบบบริการ จัดทำแผนงานและงบประมาณเพื่อรองรับการแก้ปัญหา(บางส่วนได้ดำเนินการคู่ขนานไปแล้ว) ควบคู่กับความร่วมมือกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 12 และสนง.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 ขยายผลความร่วมมือไประดับเขต นำระบบข้อมูลดังกล่าวไปปรับใช้กับกองทุนฟื้นฟูฯจังหวัดอื่นๆ
ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วบางจังหวัด ได้แก่ จ.สตูล จ.ยะลา
เริ่มด้วยการประชุมกับทีมงานจังหวัดเพื่อสร้างความเข้าใจ
1) ประชุมกรรมการกองทุนฯ
2) ชี้แจงทำความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม
3) กำหนดเป้าหมายการดำเนินการ
2.MOU ความร่วมมือระดับพื้นที่ โดย อบจ.เป็นเจ้าภาพ กำหนดเป้าหมายการทำงาน แต่งตั้งคณะทำงานข้อมูลระดับจังหวัด จัดหางบประมาณรองรับ (บริหารและพัฒนา)
3.คณะทำงานข้อมูลกำหนดเป้าหมายการทำงานของพื้นที่ ระยะที่หนึ่งประสานทางเทคนิคกับทีมกลางสงขลา ส่งต่อระบบแม่ของสงขลา พัฒนาเป็นระบบของจังหวัด หากมีความต้องการมากกว่าระบบที่สงขลามี ให้พัฒนาทีมโปรแกรมเมอร์ในจังหวัดมาดำเนินการในระยะต่อไป
4.พัฒนาระบบข้อมูลกลางของจังหวัด ระยะแรกให้กองทุนฯขอความร่วมมือกับกองทุนนสงขลา ขอใช้พื้นที่คลาวด์ของกระทรวงดิจิตอล พร้อมจัดทำ TOR จ้างทีมกลางพัฒนาระบบ
5.MOU งานกองทุนฟื้นฟูฯ 7 จังหวัด ขอใช้พื้นที่คลาวด์ของกระทรวงดิจิตอล ขยายความร่วมมือระดับเขต



ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิชุมชนสงขลา