โครงการขยายบทบาทภาคประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มประชากรเฉพาะ

ในการดำเนินโครงการขยายบทบาทภาคประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มประชากรเฉพาะนี้ จึงมุ่งเน้นที่ออกแบบการให้ความช่วยเหลือที่ทำให้กลุ่มประชากรเฉพาะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สามารถพึ่งตนเองได้ในเบื้องต้น อันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาวต่อไป

กลุ่มประชากรเฉพาะที่สำรวจพบในโครงการสนับสนุนกลไกการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะในระดับจังหวัด  มีกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและควรต้องออกแบบการให้การช่วยเหลือในระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุที่พิการ กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาระเลี้ยงดูเด็ก กลุ่มผู้พิการที่ไม่มีงานทำ กลุ่มผู้พิการที่มีภาวะเจ็บป่วย กลุ่มคนไร้สัญชาติ (คนไทยแต่ไร้สิทธิ) ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ดำรงอยู่ในพื้นที่ที่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ

ปัจจุบันหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐท้องถิ่นตลอดจนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะเหล่านี้  ได้เข้าสู่กระบวนการเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ทั้งด้านสุขภาพ  และสวัสดิการด้านอื่น ๆ

บทบาทของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกลุ่มประชากรเฉพาะ  ได้แก่

  • การให้บริการผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก
  • กระบวนการเข้าถึงสิทธิของคนไทยตกหล่น
  • กลไกสนับสนุนกลุ่มคนพิการ
  • การช่วยเหลือคนไร้บ้าน
  • ฐานข้อมูลกลุ่มประชากรเฉพาะระดับจังหวัด

เป้าหมายโครงการ

       ส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมในการหนุนเสริมการทำงานร่วมกับภาคีส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและมีระบบเฝ้าระวังของกลุ่มประชากรเฉพาะ

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคมในการช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะได้อย่างมีคุณภาพ
  2. เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลุ่มประชากรเฉพาะในการช่วยเหลือเบื้องต้
  3. เพื่อเสริมสร้างพื้นที่ต้นแบบในการขยายผลในระดับท้องถิ่นให้เกิดผลลัพธ์มากขึ้น
  4. เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายใน 3 กลุ่มประชากรเฉพาะ

กลุ่มเป้าหมาย

พื้นที่ดำเนินการ 25 จังหวัด ได้แก่ แพร่  น่าน พิจิตร ลำปาง ชัยนาท พิษณุโลก อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ ลพบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี อ่างทอง เพชรบุรี ตราด ปัตตานี ภูเก็ต พังงา ยะลา กระบี่ ระนอง

ครอบคลุมประชากรกลุ่มเฉพาะ 9 + 1 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มคนพิการ 2) กลุ่มผู้สูงอายุ 3) กลุ่มสถานการณ์คนไร้บ้าน 4) กลุ่มแรงงานนอกระบบ 5) กลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล สถานการณ์ชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง 6) กลุ่มแรงงานข้ามชาติ 7) กลุ่มมุสลิมไทย 8) กลุ่มผู้หญิง 9) กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ LGPTQ+ และ 10) กลุ่มเด็ก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ภาคประชาสังคมมีศักยภาพในการช่วยเหลือกลุ่มประชากรเฉพาะได้อย่างมีคุณภาพ
  2. มีระบบฐานข้อมูลกลุ่มประชากรเฉพาะในการช่วยเหลือเบื้องต้น
  3. มีพื้นที่ต้นแบบในการขยายผลในระดับท้องถิ่นให้เกิดผลลัพธ์มากขึ้น
  4. มีข้อเสนอเชิงนโยบายใน 3 กลุ่มประชากรเฉพาะ