เศรษฐกิจพอเพียง ของ แม่ฤทธิ์ บุญประกอบ

เศรษฐกิจพอพียง คือการอยู่ดีกินดี การปลูกผักเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน มีแหล่งน้ำเพียงพอ ไม่ต้องพึ่งพิงตลาดมาก ให้มีปลากิน มีไก่กิน มีป่ามีของตามธรรมชาติ เช่น เห็ด หน่อไม้ ผัก รัฐ ไม่ต้องนำเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวมาให้ชาวบ้าน …..

1) ท่านเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ?

เศรษฐกิจพอพียง คือการอยู่ดีกินดี การปลูกผักเลี้ยงสัตว์ผสมผสาน มีแหล่งน้ำเพียงพอ ไม่ต้องพึ่งพิงตลาดมาก ให้มีปลากิน มีไก่กิน มีป่ามีของตามธรรมชาติ เช่น เห็ด หน่อไม้ ผัก รัฐ ไม่ต้องนำเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวมาให้ชาวบ้าน ความพอเพียงเราต้องสร้างขึ้นมาเอง ให้มีที่ดินทำกิน มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ไม่ต้องสร้างเขื่อน การปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นการทำลายล้างผลาญ สิ่งที่ มีอยู่เดิม สารเคมีทำลายระบบนิเวศน์ เชิงเดี่ยวกับธรรมชาติ มีความแตกต่างกัน

องค์ประกอบของการทำเศรษฐกิจพอเพียงคือ ต้องมี ไก่ ที่ดิน หมู ปลา ผัก ไม้ผล ป่าและ สมุนไพร และทำให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชีวิต เหลือกินก็สามารถขายได้ ถ้าเลี้ยงหมูเราก็ สามารถใช้ขี้หมูมาใส่ผักได้ ลดการพึ่งพิงสารเคมี แม่ฤทธิ์เองก็เลี้ยงหมูและสามารถนำขี้หมูมาใส่ผัก

นอกจากนั้นยังสามารถขายขี้หมูได้อีกด้วย หรือแม้แต่ขี้วัวก็สามารถทำให้ดินนุ่ม ร่วนซุย ถ้าทำนา แล้วใส่ปุ๋ยคอกจะทำให้น้ำในนาเป็นสีแดง แต่ถ้าปุ๋ยเคมีน้ำจะเป็นสีเขียว

คนเราอยากจะไปก้าวไกลแต่ไม่มองต้นทุนตนเอง ถ้าดูต้นทุนการทำนาเหมือนกับว่าเราซื้อ ข้าวสารเม็ดละ 20 บาท การทำนาลงทุนสูงเกินไป การอยู่พอเพียงคือการทำเท่าไรกินเท่านั้นไม่ต้อง


เน้นส่งตลาดและไม่ต้องลงทุนสูง ทุกวันเราอยากให้คนก้าวทันโลก ปัจจุบันแม่ฤทธิ์ ปลูกพืช เลี้ยงไก่ หมู และปลา สามารถเป็นต้นแบบให้ชาวบ้านได้ ถ้าเราเลี้ยงสัตว์ยังสามารถสร้างรายได้ และเป็นค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ชาวบ้านมาดูการเลี้ยงหมู ปลา ก็เกิดความสนใจ และนำไปทำใน ครอบครัวของตนเอง ปัจจุบันแม่ฤทธิ์ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ ทำให้รู้ข้อมูลการใช้จ่ายใน ครัวเรือน
2) ชุมชนหรือบุคคลถ้าจะทำเศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นอย่างไร ?

ชุมชนต้องมีความเข้าใจการทำเกษตรของตนเอง ไม่ยุ่งกับอบายมุข ชาวบ้านได้ของป่า สามารถเลี้ยงดูครอบครัวเป็นอาหารและสร้างรายได้ อยากให้ชาวบ้านเปรียบ เทียบระหว่าง ธรรมชาติและของใหม่ อยากให้ชุมชนทำความเข้าใจเกี่ยวกับความพอเพียง และทำความเข้าใจ กับนโยบายรัฐที่จะเข้ามา ที่ผ่านมารัฐทำโครงการที่ใหญ่และส่งผลกระทบต่อชุมชน เช่นหนี้สิน ความขัดแย้ง ปัจจุบันชาวบ้านได้รับผลกระทบจากนโยบายเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกยางพารา ภาครัฐ ต้องสนับสนุนชุมชนตามความถนัดของแต่ละครอบครัว ให้เกิดความเหมาะสมกับปัจจัยที่มีอยู่ ที่ ผ่านมาโครงการรัฐส่งผลให้ชาวบ้านต้องนำเอาเอกสารสิทธิ์เข้าไปจำนองและไม่สามารถหาทาง ออกได้ โครงการมุ่งให้ปลดหนี้แต่ความเป็นจริงคือการเพิ่มหนี้ เมื่อไม่กี่วันหน่วยงานราชการลงมา พื้นที่ ซึ่งมีการดำเนินการให้ประชาชน จะต้องเป็นหนี้ เช่น การให้นำเอาเอกสารสิทธิ์เข้ามาใน โครงการเศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะคล้ายกับนโยบายแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน เช่น มีการสำรวจ ข้อมูลพื้นที่ และแนะนำการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เปิดโอกาสให้กู้ยืมและปลูกพืชเชิงเดี่ยวได้ เช่น การปลูกมันสำปะหลัง โดยนำพันธุ์มันสำปะหลังที่มีขนาดหัวมันที่ใหญ่เพื่อดึงดูดให้ชาวบ้าน เข้าร่วมโครงการ

3) ถ้าจะให้สังคมนี้เป็นเศรษฐกิจพอเพียง รัฐควรต้องทำอย่างไร่ ?

รัฐถ้าจะช่วยต้องเรื่องทุน คนที่ปลูกพืชเพื่อส่งตลาดไม่ควรใช้สารเคมี ที่ผ่านมาคนที่ปลูก
ไม่กินของตนเองเพราะใช้สารเคมีมาก รัฐไม่ควรส่งเสริมให้มีการโฆษณามากเกินไป ไม่ควร ส่งเสริมให้เกิดการบริโภคนิยม ซึ่งไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรพอเพียง ควรให้มีความเหมาะ สมกับครัวเรือน เราตามหลังตะวันตกจนไม่มีทางเดิน ทุกวันเราอยากให้คนก้าวทันโลก แนวคิด เกษตรพอเพียงในไทยสามารถเป็นไปได้ถ้ารัฐไม่เอานโยบายมาทับ รัฐไม่ควรทำเป็นแค่กล่าวขาน รัฐต้องลงมาดูในพื้นที่ให้รู้ชัดเจนและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
ต้องให้แหล่งทุนมาส่งเสริมและให้เงินเปล่าเพื่อสร้างกลุ่ม ไม่ควรเอาเอกสารสิทธิ์ เข้าไป จำนองกับรัฐ เรามีประสบการณ์ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น การปลูกปอ มะม่วงหิมพานต์ มันสำปะหลัง อ้อย ถ้ารัฐออกนโยบายความพอเพียง แต่หน่วยงานรัฐยังสนับสนุนให้มีการกู้ยืมก็เปรียบเสมือน ให้เกิดการจำนองเพื่อความพอเพียง รัฐต้องดูชาวบ้านที่ขาดแคลน และส่งเสริม แต่ไม่ใช่ให้ สถา บันการเงินของรัฐมาแสวงหาผลกำไร เช่น ธ.ก.ส. ปัจจุบัน หน่วยงานรัฐยิ่งมากอบโกยกับชาวบ้าน กลัวว่าต่อไปที่ดินจะหลุดมือ ต้องทำให้ชาวบ้านตื่นตัวเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ หน่วยงานรัฐที่นำ นโยบายมาในชุมชนยังไม่มีความเข้าใจชาวบ้านเลยสักหน่วยงาน ควรมีการทำความเข้าใจกับ หน่วยงานในท้องถิ่น เช่น อ.บ.ต. รัฐต้องตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะเรื่องพอเพียง ให้ลงมาพื้นที่เพื่อ ให้เข้าใจชุมชนจริง ๆ และอยากให้หน่วยงานพัฒนาเอกชนลงมาช่วยเหลืออีกแรงหนึ่ง เพื่อลงมา ร่วมมือกับรัฐ ทำการศึกษาชุมชนทั้งสองฝ่าย จากนั้นเอาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนวางแผนกัน รวมทั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบการทำงานของหกน่วยงานราชการด้วย

สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
ที่มา : http://www.esanvoice.net

Be the first to comment on "เศรษฐกิจพอเพียง ของ แม่ฤทธิ์ บุญประกอบ"

Leave a comment

Your email address will not be published.