ชุมชนท้องถิ่น ร่วมกำหนดอนาคตตนเอง

สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตัวเอง หมายถึง สิทธิในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้วยตัวเอง สิทธิในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน สิทธิในการมีอาหารพอเพียงและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และสิทธิในการดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ….

 

Fact Sheet  กุมภาพันธ์ 48

โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่

 

 

 

 

 

.เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้นำเสนอแนวคิดสำคัญในด้านการพัฒนาชุมชน สรุปได้คือ ต้องประกอบด้วย

      1. ผู้นำชุมชนโดยธรรมชาติ ที่มีทั้งภูมิปัญญา และคุณธรรม เป็นหัวขบวนการขับเคลื่อนชุมชน

      2. หลักการมีส่วนร่วมของชุมชน

      3. ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน    

 

 

         เป็นที่ทราบกันดีว่าในสังคมที่มีโครงสร้างแนวดิ่งหรือ โครงสร้างอำนาจ เศรษฐกิจจะไม่ดี การเมืองจะไม่ดี และศีลธรรมจะไม่ดี แต่ในสังคมที่มี โครงสร้างทางราบ นั่นคือทุกคนเท่าเทียมกัน และมีการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ในทุกพื้นที่ ในทุกองค์กร และในทุกเรื่อง ที่เรียกว่ามีความเป็น ประชาสังคม(Civil Society) เศรษฐกิจจะดี การเมืองจะดี และศีลธรรมจะดี ความเป็นประชาสังคม คือ การแก้ปัญหาทุกเรื่องอย่างยั่งยืน

(มรรค 8 ประเทศไทย สำหรับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประเวศ วะสี , มติชนรายวัน 5 ..2548)

        4. สิทธิชุมชนในการกำหนดชะตากรรมของตัวเอง

      5. การมอบอำนาจให้ชุมชน ในการเป็นเจ้าของและดูแลทรัพยากร

      6. การสร้างเครือข่ายชุมชน

      ในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชน เพียงใช้องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ผู้นำชุมชนโดยธรรมชาติ หลักการมีส่วนร่วม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน ผลที่ติดตามมาก็คือ ชุมชนเรียนรู้ที่จกำหนดชะตากรรมตนเอง  มองเห็นพลังอำนาจในการพัฒนาตัวเอง โดยไม่ต้องให้ใครมอบหมาย หากสำนึกด้วยความเป็นเจ้าของ และใช้ประโยชน์อย่างคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ มีการกระจายอำนาจในการผลิต

 

 

โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่

เป็นกระบวนการสร้างและพัฒนาความตื่นตัว ความสนใจ และความมีส่วนร่วมอย่างมีศักยภาพ ในการกำหนด และ การทำงาน ในประเด็นสาธารณะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของชุมชน ท้องถิ่น ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม และ ด้วยความเชื่อมั่นว่า การรวมตัวกันเป็น พลเมืองที่ตื่นตัว (active citizen) “ คือ การสร้าง และ การพัฒนาวัฒนธรรม จิตสำนึกสาธารณะ (public spirit)” หรือความห่วงใยและผูกพันกับประเด็นเรื่องราวที่กระทบต่อการใช้ชีวิตร่วมกัน (public concern) ที่ไม่ปะทะ ประท้วง ร้องขอ แต่ลงมือกระทำ ด้วยการประสานกับทุกภาคส่วน อย่างมุ่งหวัง สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้เกิดขึ้นทั่วไทย

 

 

 

และการจัดระบบชุมชนแบบพึ่งพิงกัน

(การสร้างฐานสิทธิมนุษยชนและ ภูมิคุ้มกันที่ชุมชน พิทยา ว่องกุล , คณะกรรมการเผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา

สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตัวเอง

          …. สมรรถนะแห่งสิทธิจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ .. คือ

ต้องมี เครือข่ายความสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่เป็นของตัวเอง

Table of Contents

และต้องมี พื้นที่สาธารณะ

          การมีเครือข่ายความสัมพันธ์ คือ การรวมตัวกันเป็นเครือข่ายของคนที่เข้าใจหรือเกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิแบบเดียวกัน เพื่อที่จะร่วมกันยืนยัน เรียกร้อง และปกป้องรักษาสิทธิของตน การมีข้อมูลข่าวสารองค์ความรู้และภูมิปัญญาที่เป็นของตัวเอง หมายถึงการสร้างข้อมูลข่าวสารองค์ความรู้และภูมิปัญญาขึ้นด้วยตัวเอง ในเรื่องที่สัมพันธ์กับสิทธิของตน  การมีพื้นที่สาธารณะ หมายถึง การสร้างพื้นที่ ช่องทาง หรือ โอกาสที่เปิดกว้างให้กับการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ……  

 (สิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน กับ ความเป็นคนของเรา บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล ,จดหมายข่าวสิทธิชุมชน 1/2545)
หมายถึง สิทธิในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้วยตัวเอง สิทธิในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน สิทธิในการมีอาหารพอเพียงและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และสิทธิในการดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ….ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม กล่าวถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมซึ่งปรากฏในมาตรา 60 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 เช่นกัน ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาตรา 17 ระบุว่า ไม่มีใครสามารถจะลิดรอนชีวิตความเป็นอยู่ทีเป็นไปตามหนทางของเราได้

ยุทธศาสตร์งานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ (ปี 2547-2549)

ยุทธศาสตร์ภาคประชาชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (มี..47 – มี..49)

แผนงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะฯ ภาคเหนือ (2547-2549)

นราธิวาส

          เสริมสร้างแกนนำระดับพื้นที่ กระตุ้นจิตสำนึกสาธารณะ พัฒนาศักยภาพผู้นำศาสนาให้มีบทบาทในการบริการสาธารณะมากขึ้น  เกิดเครือข่าย กลุ่มผู้นำศาสนาและกลุ่มกิจกรรมหลากหลายจากภายนอก      ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ภาวะผู้นำของคณะกรรมการมัสยิด ที่สามารถดึงดูดประชาชนสู่วิถีคิดเชิงสาธารณะ ร่วมมือกันในการพัฒนาท้องถิ่นให้น่าอยู่ มีการบริหารจัดการมัสยิด เกิดการเรียนรู้ระหว่างมัสยิดต่อมัสยิด

 

ปัตตานี

            ตำบลมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้ดีขึ้น  ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้อย่างเป็นระบบ (คิด วางแผน/สรรหาทีมและทำงานร่วมกันในการแก้ปัญหาของตนเองได้)   ทีมงานทั้งในระดับตำบล /อำเภอ /จังหวัด มีทักษะและศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น สร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติในการขับเคลื่อนงานประเด็นร่วมในพื้นที่อ่าวปัตตานี สร้างการสื่อสารในโครงการและการสื่อสารกับภายนอกโดยผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง/หอกระจายข่าว  สื่อวัฒนธรรมท้องถิ่น(ลิเกฮูลู/วีดิทัศน์)

 

ภูเก็ต

          พัฒนาเครือข่ายอาหารเพื่อชีวิต  ทำการรวบรวม/วิเคราะห์ข้อมูล จัดหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร สืบสานวัฒนธรรมการบริโภค ให้ความรู้การสังเกต และประกอบการ ตามมาตรฐานของกระทรวงฯ       รวบรวมและส่งข้อมูลจากการสังเกต ให้ภาคีเครือข่าย   ผลักดันให้เกิดการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

เชียงราย

            สังคมและสิ่งแวดล้อมมีสุขภาวะด้วยพลังประชาชนบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น คนเชียงรายมีความตระหนักรักท้องถิ่นและวัฒนธรรม มีชุมชนต้นแบบทางวัฒนธรรม รวบรวมผู้รู้ ปราชญ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รับการได้รับการปลูกฝังค่านิยม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน

 

แม่ฮ่องสอน

          ชาวแม่ฮ่องสอนเข้ามีส่วนร่วมตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร เกษตรกรรมยั่งยืนและสุขภาพ โดยใช้วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่สุขภาวะของคนแม่ฮ่องสอน

พัฒนาองค์ความรู้ ฟื้นฟูภูมิปัญญา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม พัฒนากลไกพื้นที่ให้เป็นหน่วยจัดการองค์ความรู้  เชื่อมร้อยเครือข่ายการเรียนรู้ และประสานภาคีพันธมิตรที่มีพลัง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสื่อสารสู่สาธารณะ

 

พิษณุโลก

พัฒนาตัวแบบของหน่วยจัดการการเรียนรู้ท้องถิ่น ด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริม/ผลักดันการจัดการประเด็นสาธารณะให้เป็นเรื่องส่วนรวม จัดอบรมวิทยากรกระบวนการเพื่อพัฒนาศักยภาพพลเมืองอาสา   ผลักดันให้มีเครือข่ายพลเมืองอาสาเพื่อชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่    ประยุกต์กลไกกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อขับเคลื่อนพลังสังคม รวบรวมองค์ความรู้  ประเมินผลสะท้อนกลับ  ปรับกระบวนการขับเคลื่อน

 

อุทัยธานี

          พัฒนาการสื่อสาร อบรมการผลิตสื่อ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์/อินเตอร์เน็ต/สื่อบุคคล/สื่อพื้นบ้าน  วิทยุชุมชน/เสียงตามสาย/หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเขียน การสัมภาษณ์ การถ่ายภาพ       กระบวนการทำงานเชิงความรู้ สืบค้นข้อมูล ภาพเมืองอุทัย ทำวิจัยเรื่องรูปแบบที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนงานในเขตเทศบาลเมืองอุทัย    กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคประชาสังคม/ส่วนราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สื่อสาร เป้าหมาย แผนงานโครงการ กิจกรรมของภาคประชาสังคมสู่สาธารณะ มีประเด็นและกิจกรรมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

 

เพชรบูรณ์

            สร้างสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนฅนเพชรบูรณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยกระดับการทำวานร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนฯลฯ จัดเวทีสาธารณะเรื่องการแก้ไขวิกฤติน้ำท่วม การผลิตพืชผักปลอดสารพิษ การสืบค้นวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นฯลฯ    พัฒนาประสบการณ์ในการบริหารจัดการสภาฯ ประเมิน วิจัยให้เกิดองค์ความรู้ สำหรับเผยแพร่ขยายผล การทำงานและผลงานของสภาเครือข่ายองค์กรประชาชนฅนเพชรบูรณ์

ตาก

          สร้างพลเมืองคุณภาพ ด้วยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการสื่อสารของบุคคล ด้าน ระบบคิด ทัศนคติ การพูด การฟัง การตัดสินใจ การกระทำ การทำงาน และการใช้ชีวิต  พัฒนาศักยภาพพลเมือง ที่มีจิตสำนึกต่อสังคมสูง ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคม 

 

พะเยา

          ชุมชนคนพะเยาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น  จัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ปฏิบัติการและขยายผล สรุปบทเรียน ถอดองค์ความรู้ ที่เกี่ยวกับคุณค่า ศาสนา วัฒนธรรม เรื่องน้ำ เกษตร บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น สรุปบทเรียน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของคนพะเยา

 

ลำพูน

          ภาคีความร่วมมือที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากร หนี้สินเกษตรกร สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาด้าน เกษตร ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม หมอพื้นบ้าน ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด วิทยากรชาวบ้านได้รับการพัฒนาศักยภาพ ด้านรู้จริงและถ่ายทอดได้

 

แผนงานในโครงการฯ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปี 2547-2548

แผนงานโครงการฯ  ภาคกลาง
ปี 2547-2549


กาฬสินธุ์
                 

          เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดกาฬสินธุ์  มีเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันคือ ส่งเสริมการพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืน เพื่อทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีท้องถิ่นที่น่าอยู่ในทุกๆ หมู่บ้าน ทุกๆ ตำบลและอำเภอ โดยมี 3 โครงการดังนี้   โครงการบริหารจัดการ   เพื่อขับเคลื่อนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  โครงการส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สุขภาพ เศรษฐกิจ หัตกรรม วิทยุชุมชน และชุมชนต้นแบบพัฒนาตัวชี้วัดสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่จังหวัดกาฬสินธุ์    โครงการวิจัยสื่อวิทยุชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์  เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการการขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะผ่านสื่อวิทยุชุมชน

 

ชัยภูมิ

            แนวทางในการขับเคลื่อนงานปีที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกทั้ง 15 เครือข่ายให้มีสุขภาพดี ปลอดภัยและขยายผลสู่คนอื่นๆ ในชุมชน  พัฒนาคณะทำงานโครงการฯ และภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพทำงานร่วมกันอย่างสมานสามัคคี  จัดสวัสดิการสังคมร่วมกัน เช่น กลุ่มออมทรัพย์และกองทุน สวัสดิการชุมชน สหกรณ์ลอยฟ้า ร้านค้ากลางและตลาดชุมชน  ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาระบบนิเวศน์เชิงลึก การทำเกษตรนำร่อง เตาเผาถ่านแบบอนุรักษ์ เป็นต้น สร้างเครือข่ายเยาวชน เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่เรื่องการเมืองภาคพลเมือง

 

นครราชสีมา

          เป้าหมายโครงการฯ จังหวัดนครราชสีมา คือ การพัฒนากลไกการจัดการและการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม ในประเด็น ชีวิตสาธารณะ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมที่เกิดสุขภาวะที่ดี รวมถึงจิตใจ จิตวิญญาณและปัญญาที่ดีด้วย  ทิศทางการทำงาน 2 ปี  (2547-2548) เป็นการพัฒนากลไกการจัดการความรู้ในระดับจังหวัดและพื้นที่ และการพัฒนาความสัมพันธ์การประสานงานแนวราบ ระหว่างภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศักยภาพผู้นำ ทั้งรุ่นเก่า-รุ่นใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์ชุมชนเครือข่าย และการใช้กลไกเครื่องมือ สื่อสาธารณะ เช่น วิทยุชุมชน จดหมายข่าว วีซีดี อินเตอร์เน็ต และสื่อกระแสหลักต่างๆ

 

ร้อยเอ็ด                  

            พันธกิจของจังหวัดร้อยเอ็ดคือ ประสานการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพของคนให้มีจิตสำนึกรักท้องถิ่น จัดการสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งตนเองได้ ภายใต้กฏหมายหรือข้อบังคับที่เอื้อต่อชุมชนท้องถิ่น โดยมีแผนงานการทำงานและกระบวนการขับเคลื่อนดังนี้ 1)งานพัฒนาแกนนำเครือข่ายประชาคมสุขภาพท้องถิ่น 2) งานเวทีสังเคราะห์องค์ความรู้และนำเสนอผลงาน 3)งานพัฒนาสุขภาพดี ชีวียืนยาว 4) งานการศึกษา เพื่อพัฒนาเครือข่ายกระบวนการเรียนรู้ชุมชน 5) งานสร้างเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนปลอดสารพิษ ชีวิตปลอดโรคภัย 6)งานพัฒนาเครือข่ายอนุรักษ์พิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อท้องถิ่นน่าอยู่ และ 7.งานพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน คนเมืองสาเกตนคร ซึ่งขับเคลื่อนงานในประเด็นสุขภาวะ

 

ลพบุรี

          ส่งเสริมกระบวนการเสริมสร้างประชาสังคมสุขภาวะในระดับจังหวัด และนำความรู้ของพลเมืองอาสามาใช้ในการขับเคลื่อนการจัดการท้องถิ่นในประเด็นสาธารณะของพื้นที่ให้เกิดประชาคมที่มีความเข้มแข็งจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ท้องถิ่น  เพื่อขยายผลสู่ระดับนโยบาย

 

นครนายก

          เป็นกลไกเชื่อมระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมการสื่อสารสาธารณะระหว่างเครือข่าย  รวมถึงพัฒนาการเกษตร สินค้าเกษตรแบบธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นให้มีความปลอดภัย

 

ประจวบคีรีขันธ์

          เครือข่ายประชาสังคมเป็นกลไกในการสนับสนุนให้เกิด การดูแลจัดการผลผลิตทางการเกษตรทั้งพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรในท้องถิ่นที่มีความปลอดภัย  ผลผลิตปลอดสารเคมี โดยเน้นการทำงานทั้งด้านเครือข่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค

 

ปราจีนบุรี

          สร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและรักษาคุณภาพทรัพยากรน้ำโดยการฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิม และการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่ลดการใช้สารเคมีเพื่อให้เป็นสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยกับผู้บริโภค โดยมีตลาดรองรับและเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค

 

สระบุรี

          ส่งเสริมกลุ่ม เครือข่ายและประชาชนให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะในเรื่องการฟื้นฟูสำนึกในวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาของท้องถิ่น  การสนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์และการจัดการปัญหาขยะที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน

 

ตราด

          แก้ไขหนี้สินภาคประชาชน โดยการทำบัญชีรับจ่ายครัวเรือนให้ประชาชนได้รู้เท่าทันตนเอง เรื่องเกษตรอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม เรื่องสื่อ รวมทั้งการพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาทีมงานในระดับส่วนกลาง และในพื้นที่เพื่อไปสู่วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอดีมีความสุข

 

สมุทรปราการ

          สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรชุมชนด้วยกระบวนการเรียนรู้ระหว่างองค์กรและเครือข่ายชุมชน โดยการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นทุนทางสังคม เพื่อติดตามประเด็นที่เป็นปัญหาในท้องถิ่น

 

กาญจนบุรี

          การผนึกกำลังระหว่างแกนนำจังหวัดและระดับพื้นที่เพื่อเคลื่อนงานสุขภาวะในท้องถิ่น โดยใช้การจัดการความรู้ท้องถิ่นและการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะของท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

 


เลย

          กระบวนการขับเคลื่อนโครงการฯ ของจังหวัดเลยมุ่งเน้นการสนับสนุน ให้มี พื้นที่สาธารณะ ทั้งในระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ต้นแบบให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้คนในสังคมได้ใช้เป็น เวทีสาธารณะ ในการแก้ไขปัญหาทุกด้าน ด้วยกระบวนการทาง ประชาสังคม ด้วยเงื่อนไขสำคัญ คือ ทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกันและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว โดยมีแผนงานสนับสนุน เช่น การจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำ การชำระประวัติศาสตร์ของชุมชนวัฒนธรรมนาอ้อ การจัดการลุ่มน้ำเลย เป็นต้น  และแผนงานสนับสนุนด้านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามประเมินผลของคณะทำงาน และแผนงานสื่อสารและประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ

อุบลราชธานี

          ฮักแพง…แปงอุบล คือชื่อในการเคลื่อนไหวงานโครงการฯ ของจังหวัดอุบลฯ ที่เน้นเรื่องการพัฒนาชีวิตสาธารณะและประชาสังคมที่เข้มแข็ง  เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นที่น่าอยู่และยั่งยืน โดยผ่านประเด็นที่เป็นรูปธรรม 7 ประเด็นคือ 1.ท่องธารธรรม 2.บรรพชนคนการเมืองและเสรีไทย (นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์) 3.ฮักแพง…ครูเพลงเมืองดอกบัว 4.ฮูปเก่า…เว้าอุบล 5.พลิกฟื้นคุณภาพชีวิตเมืองเก่า 6.ศาลาแซ่บ และ 7.ประเทศฮิมของ (ริมโขง)

 

สุรินทร์

          มีแผนการดำเนินงาน 2 ระดับ คือ  แผนงานระดับจังหวัด  ใช้ยุทธศาสตร์การสร้างองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อเกิดองค์ความรู้ กระบวนการ และการจัดการองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น และยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดพันธมิตร เครือข่ายความร่วมมือที่มีพลังในการเคลื่อนงานพัฒนาสังคมท้องถิ่น แผนงานขับเคลื่อนกลไกประชาสังคมระดับภูมิภาค  ใช้ยุทธศาสตร์การสร้างพื้นที่ทางสังคม ประเด็นสาธารณะ ตลาดสีเขียว

 

อำนาจเจริญ

                เป้าหมายการทำงานโครงการฯ คือ ภายในปี 2548 ประชาชนจังหวัดอำนาจเจริญ มีกระบวนการเรียนรู้กระบวนการทำงาน ก้าวสู่การมีสุขภาวะที่ดี และจิตเป็นสาธารณะ โดยขับเคลื่อนงานผ่านประเด็น ด้านสุขภาพ (อาหารปลอดภัย ตลาดเพื่อสุขภาพ),  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ,  สื่อภาคประชาชน สื่อเพื่อการเรียนรู้ภาคไทบ้าน,  ส่งเสริมกองทุนสวัสดิการประชาชนและปัญหาสตรีและเด็ก

 

 

โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาชีวิตสาธารณะ และประชาคมที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นน่าอยู่และยั่งยืน ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตรัง ลำปาง นครสวรรค์ สมุทรสงคราม และอุบลราชธานี

 

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่  ดำเนินการโดย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI)  สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม(Civicnet)  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

 


การจัดวางโครงสร้างและความสัมพันธ์ของทีมงาน

1)     เจ้าหน้าที่ประจำ เป็น External Change Agent ที่มีความหลากหลาย คอยติดต่อ ประสานงาน เชื่อมโยงกับสาธารณะชนคนท้องถิ่น

2)     พลเมืองคนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมงานเป็น Internal Change Agent เข้าร่วมงานและให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ประจำ

3)     สาธารณชนคนท้องถิ่น ที่ทั้งเข้าร่วมงานโดยตรง และรับผลกระทบจากกิจการงานสาธารณะต่างๆ

4)     งานสาธารณสัมพันธ์ ทั้งเวทีสาธารณะที่เป็นสื่อในตัวเองรวมทั้งการทำงานผ่านสื่อต่างๆ ในท้องถิ่น

5)     ฝ่ายวิชาการ ทั้งนำเข้าและสร้างความรู้ วิชาการ

6)     กิจกรรมสาธารณะต่างๆ คือกิจการงานสาธารณะที่ร่วมกันริเริ่มเป็นชุดโครงการที่มีพลเมืองท้องถิ่นเป็นแกนนำ มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งหวัง

7)     ผู้ประเมิน ทั้งผู้ประเมินภายในที่เข้าร่วมงานอย่างใกล้ชิด และผู้ประเมินภายนอก

8)     การฝึกอบรม ที่หนุนเสริมศักยภาพของทีมงานเป็นระยะ

 

การพัฒนาเนื้อหางาน

1)     ความรัก และความผูกพัน เป็นเรื่องของการร่วมกันสร้างประสบการณ์ความหลัง ความภูมิใจในถิ่นเกิดที่กระทบจิตวิญญาณ หรือผูกจิตใจผู้คนเข้าด้วยกัน

2)     การใช้ชีวิตผูกพันระหว่างผู้คน การสร้างสรรค์การดำเนินชีวิตที่สนุกและมีสีสัน เป็นเรื่องปัจจุบันที่ผูกพันด้วยสำนึกหมู่เหล่าจากการใช้ชีวิตร่วมกันในหลากหลายมิติ

3)     สานพลังเพื่อท้องถิ่น บูรณาการคนทำงานในด้านต่างๆ ของท้องถิ่นได้ร่วมคิด ร่วมเห็น และผสานการทำงานร่วมกัน

4)     อาคารสถานที่ พื้นที่สาธารณะ ที่ว่าง ลานหน้าใหม่ เข้ารองรับวิถีชีวิตใหม่ๆ ร่วมกัน เวที  สื่อท้องถิ่น การสื่อสารผ่านคลื่น ฯล

 

ออกแบบการปฏิบัติการเป็น 6 โครงการย่อย คือ

 

1. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาชีวิตสาธารณะ และประชาคมที่เข้มแข็ง เพื่อสร้างสรรค์ท้องถิ่นน่าอยู่และยั่งยืน ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตรัง ลำปาง นครสวรรค์ สมุทรสงคราม และอุบลราชธานี

2. โครงการเสริมสร้างกระบวนการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในประเด็นสุขภาวะ ดำเนินการใน 29 จังหวัด คือ ภาคกลาง(9 จังหวัด) สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ตราด นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี สมุทรปราการ ภาคอีสาน (7 จังหวัด) นครราชสีมา ชัยภูมิ อำนาจเจริญ สุรินทร์ เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ภาคเหนือ (8 จังหวัด) ตาก แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลำพูน เชียงราย พะเยา ภาคใต้ (5 จังหวัด) สุราษฏร์ธานี ปัตตานี นราธิวาส ภูเก็ต พังงา

3. โครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและเครือข่าย  ด้วยการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

4. โครงการประเมินภายในและสังเคราะห์องค์ความรู้ ศึกษา สังเคราะห์ ปฏิบัติการในโครงการฯ เสนอข้อมูล ความรู้เพื่อพัฒนาทิศทาง  กระบวนการทำงานให้บรรลุเป้าหมายชุดโครงการ

5.  โครงการชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ กรุงเทพฯและปริมณฑล เน้นการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองด้วยกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการสร้างและขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะต่างๆ

6.  โครงการ การสื่อสารงานประเด็นสาธารณะ (Communication for Social Change) เป็นการสังเคราะห์เนื้อหา และกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อขยายผล งานภาคพลเมือง(Civic Sector) กับ ประเด็นสาธารณะ ผ่านสื่อสาธารณะ (Public Media) สื่อกิจกรรม (Interactive Media) และสื่อเสรี (Independent Media)

 


 

 

จังหวะการทำงานในช่วง 3 ปี

 

18 เดือนแรก เป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์ การสืบค้น พบ และสัมผัสความหลังของท้องถิ่นร่วมกัน เพื่อสร้างจิตวิญญาณ และความรู้เกี่ยวกับ เราหรือตัวตนของท้องถิ่นให้ชัดเจน และมีพลัง

          18 เดือนหลัง เป็นการก้าวเข้าสู่การเข้าพบเรื่องราว หรือสถานการณ์ปัจจุบันของท้องถิ่น รวมทั้งการเคลื่อนสู่อนาคตร่วมกัน


จัดทำโดย…งานสื่อสารสาธารณะ  
HPL

สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  สนับสนุนโดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

Be the first to comment on "ชุมชนท้องถิ่น ร่วมกำหนดอนาคตตนเอง"

Leave a comment

Your email address will not be published.