พรรณิภา โสตถิพันธุ์ กับงานสื่อสารเพื่อประชาสังคม

“ร่มโพธิ์ ลานไทร แอลดีไอแสควร์” ก้าวสู่เดือนที่ 2 กับ ตอนที่ 6: พรรณิภา โสตถิพันธุ์ กับงานสื่อสารเพื่อประชาสังคม

ในตอนนี้พี่น้องข่ายงานประชาสังคมจะได้ฟังทัศนะ แง่มุมของประสบการณ์ชีวิต จากบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คนเดือนตุลา อดีตครู กศน.ที่สอบได้ทุนองค์การสหประชาชาติ ไปเรียนสาขาวิทยุที่บีบีซีประเทศอังกฤษ ฝึกจัดรายการนาน 8 เดือน แล้วกลับมาผลิตรายการวิทยุการศึกษาทางไกลสายภาคใต้ ควบคู่กับคอร์เรดิโอ รายการวิทยุที่สามารถรวมพลังคนรักบ้านเกิดสงขลาให้มาร่วมกันทำประโยชน์เพื่อบ้านเพื่อเมือง ปัจจุบันพี่หนู “พรรณิภา โสตถิพันธุ์” ทำงานที่ไทยพีบีเอส ตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านประชาสังคม เธอคือคนทำงานรับใช้สังคมมาเนิ่นนาน ผู้หญิงหัวก้าวหน้าผู้จุดประกายความเปลี่ยนแปลงของคนเล็กๆ ผู้นำเสนอในสิ่งที่สังคมไทยยังขาด อย่างไม่เคยหมดหวัง และไม่มีหมดแรง…

พี่น้องข่ายงานประชาสังคม โปรดคลิกโดยพลัน…

 

*************************************************

พรรณิภา โสตถิพันธุ์ กับงานสื่อสารเพื่อประชาสังคม
เรียบเรียง: รุ่งโรจน์ เพชระบูรณิน

 

คอร์เรดิโอ: จุดเริ่มต้นเพื่อคนสงขลา
เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว สภาพสังคมช่วงนั้น ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือที่ไม่ได้เป็นภาครัฐ ที่เป็น NGO และภาคธุรกิจแทบไม่มีความหมายในเชิงการพัฒนาสังคมเลย ก็เกิดคำถามกับตัวเองว่า คนตัวเล็กๆ อย่างเรานี้จะอยู่ตรงไหน ถ้าหากเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการสร้างบ้านแปงเมือง ซึ่งคิดมาโดยตลอด ในขณะที่ตัวเองก็ทำเรื่องสื่อวิทยุเล็กๆ พอไปทำก็เกิดคำถามขึ้นเยอะมาก สมัยนั้นสถานีวิทยุถูกผูกขาดหมายความว่าถ้าเราจะสื่อก็จะต้องสื่อในเนื้อหาของรัฐ หรือของธุรกิจ ซึ่งไม่มีพื้นที่สำหรับคนเล็กๆ อย่างชาวบ้าน และเริ่มสนใจอยากจะสื่อสารกับคนเหล่านั้นว่าเขามีตัวตนอยู่อย่างไร ก็เลยทดลองทำสื่อท้องถิ่นเล็กๆ ขึ้นมา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นงานประชาสังคม คือเราพยายามที่จะสื่อสารกับคนเล็กๆ เหล่านั้น โดยใช้อะไรบางอย่างที่เรียกว่าเป็นจุดศูนย์รวมของจังหวัดสงขลา อย่างจังหวัดนครศรีธรรมราช พระธาตุวรมหาวิหารก็เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนนครฯ เวลาพูดถึงพระธาตุฯ ทุกภาคส่วนสามารถพูดคุยกันได้ ซึ่ง ณ ขณะนั้นที่สงขลายังไม่มีประเด็นที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนได้
ทะเลสาบสงขลา: รวมพลังคนรักบ้านเกิด
เราจึงค้นหาประเด็นในลักษณะอย่างที่นครฯ ก็เลยหยิบเรื่องทะเลสาบสงขลาขึ้นมาแล้วก็ลองทดลองทำอย่างต่อเนื่อง ในสองปีแรกตัวเองเป็นเจ้าภาพหาทุนเองคือเอาเงินเดือนส่วนตัวมาใช้ ตอนนั้นยังเป็นอาจารย์สอนอยู่ กศน.ที่สงขลา และก็ได้รับทุนไปอบรมด้านวิทยุเพื่อการพัฒนาที่บีบีซี คือไม่ใช่ไปเข้าครอส์จบมาแล้วเป็นดีเจแบบทั่วไป ซึ่งความรู้ที่ได้ทำให้คิดว่าจะไปสื่อสารกับคนที่ด้อยโอกาสในสังคมที่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ ก็คิดว่าต้องทำอะไรที่มันไม่ใช่รายการวิทยุทั่วๆไป ซึ่งรายการวิทยุที่ทำอยู่ก็เป็นช่องทางหนึ่งแต่ก็เป็นแค่วิทยุเพื่อการศึกษาของ กศน. ซึ่งเราจะไปเตะไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของตัวหลักสูตร แต่ด้วยความสนใจส่วนตัวร่วมกับเพื่อน กศน.ด้วยกัน เราก็เลยซื้อเวลาวิทยุทุกต้นชั่วโมง เดี๋ยวนี้ทุกต้นชั่วโมงมันต้องใช้เงินโฆษณาเป็นแสน แต่สมัยนั้นเมื่อสามสิบปียังไม่มีใครสนใจ เราก็ใช้เวลาทุกต้นชั่วโมงกระจายเสียงทุกวัน พอต้นชั่วโมงคนฟังก็ได้ยินเสียงเราแล้ว
สามสิบปีที่แล้วเราทำรายการ รวมพลังคนรักบ้านเกิดสงขลา เป็นรายการสารคดีทุกต้นชั่วโมง แล้วก็ใส่ความรู้เรื่องทะเลสาบสงขลาที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นที่รวมวัฒนธรรมของคนในลุ่มน้ำทะเลสาบ และจากทะเลสาบที่แตกลุ่มน้ำสาขาออกไปเป็นคนต้นน้ำ คนที่อยู่สูงขึ้นไปที่อยู่ป่าแถวสะบ้าย้อย, นาทวี คนที่อยู่ระหว่างลุ่มน้ำลำคลองสาขาที่หล่อเลี้ยงทะเลสาบมาเชื่อมโยงกัน กลายเป็นว่าที่เราต้องการจะสื่อสารกับคนจำนวนไม่มาก ก็กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น พอทำไปสักพักเราได้สร้างช่องทางให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมขึ้น
จากรายการวิทยุสู่: เวทีโลกสดใสในบ้านเกิด
การสร้างการมีส่วนร่วมช่องทางเริ่มแรกก็คือติชมรายการ ส่งข้อมูลร่วมในรายการ เราก็พบว่าเดือนหนึ่งมีจดหมายเข้ามาหลายร้อยฉบับ แสดงว่าตัวตนเขามีอยู่จริง คือคนที่เขาอยากทำอะไรเพื่อบ้านเกิดที่ไม่ได้มาตามช่องทางของราชการ ตามวัดหรือพระภิกษุต่างๆ เราก็เลยคิดว่าแฟนคลับของเราที่เป็นเชิงอาสาสมัครเพื่อบ้านเมืองน่าจะมาปรากฏตัวตน น่าจะมีเวทีกลางที่ให้เจ้าของจดหมายที่ตกเดือนละสองถึงสามร้อยฉบับมาเจอกัน เราก็เลยจัดประชุมเครือข่าย และเชิญมาให้ใช้วิทยุในการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ อย่างนักวิชาการที่เขามาทำวิจัยเรื่องทะเลสาบก็มาสื่อสารในรายการของเรา หรือน้องๆ เอ็นจีโอที่ทำงาน ที่ไม่มีใครรู้ รู้แต่เขาเป็นผู้ร้ายของแผ่นดินอยู่ร่ำไป เขาก็ได้มาพูดเรื่องประมงชายฝั่ง เรื่องประมงพื้นบ้าน รายการวิทยุก็เหมือนเป็นเวทีเล็กๆให้ พอปรึกษากันแล้วเราก็คิดว่าควรจัดให้มีเวทีกลางที่ได้มาพบเจอกัน คนที่เราเคยโทรศัพท์คุย เขียนจดหมายสื่อสารถึงกัน ก็เลยเกิดเวทีโลกสดใสในบ้านเกิด ปี 34 เป็นครั้งแรก แล้วเราก็จะหมุนกันเป็นเจ้าภาพ
พอเปิดเวทีครั้งแรกที่ JB เราเช่าในโรงแรมประชุมห้องหนึ่งที่เจบีแต่ปรากฏว่าคนที่มามันล้นถึงถนนมันเหมือนเป็นปรากฏการณ์คนหาดใหญ่ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วโรงแรมก็อินกับเรามาก คือเขาไม่เคยเห็นการจัดงานที่คนมามาก ต้องต่อจอมอนิเตอร์ออกมาเพื่อให้คนที่อยู่ข้างนอกเห็นในห้องประชุม ก็คือคนที่ตำแหน่งใหญ่ๆ รองผู้ว่า, หมอ, คณบดี พื้นที่มันเต็มเขาก็นั่งกับพื้น คือทุกคนอยากจะมางานนี้เพื่อจะบอกว่าฉันรักบ้านเกิดและอยากจะทำอะไร แสดงว่าเขาติดตามสิ่งที่เราสื่อสารมาโดยตลอด NGO ซึ่งก็ทำบ้านเลขที่สิบของเขาเป็นศูนย์เยาวชน หมายถึงว่าเด็กมีทางเลือกในกิจกรรมดีกว่าต้องไปเรียนพิเศษที่บ้าน ปีนั้นก็เลยเน้นเรื่องเยาวชนรักบ้านเกิด พอปีที่แปดเรารู้สึกว่าเหมือนทำอะไรซ้ำไปในรูปแบบเดิมมันต้องมีการพัฒนา และก็ดาวแต่ละดวงที่เกิดขึ้นมาในระหว่างแปดปีเขาก็เริ่มเข้มข้นพอที่จะมีทางเดินของเขาแล้ว ไม่ใช่มารอเวทีนี้เวทีเดียว ปีที่แปดปีสุดท้ายนี้จะเป็นโครงการชุมชนแออัดคนจนเมืองเป็นเจ้าภาพ และหลังจากนั้นเวทีคนรักบ้านเกิดก็สลายคือต่างคนต่างก็ไปมีโครงการแต่ละแบบกันไป แล้วมันก็จะมาบ่มเพาะมาถึงจุดที่การเป็นประชาคมที่จะต้องมาร้อยกับเพื่อนคนอื่นๆ เพราะตอนนั้นบางกอกฟอร์มรัมก็เพิ่งเกิด ไม่อย่างนั้นเขาคงไม่มา เพราะฉะนั้นครั้งที่หนึ่งมันเป็นกำลังใจมาก มันเหมือนกับว่าเราก็ตกลงกันว่าเราจะทำกันต่อเนื่องและหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เช่นปีนี้เป็นกลุ่ม คอร์เรดิโอวิทยุสร้างสรรค์ ปีต่อไปก็มหาวิทยาลัยสงขลานครินคร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม และเขาก็สามารถดึงวันสิ่งแวดล้อมที่ปีนั้นจัดที่กรุงเทพมาจัดที่ทะเลสาบสงขลา ก็หมุนกันแล้วแต่ความถนัดว่าใครจะจัดและเป็นโฟกัสเรื่องอะไร แล้วก็กลับมาปีที่สามเป็นของคอร์เรดิโออีกครั้งซึ่งเราสนใจประเด็นจะแปลงความเป็นเยาวชนให้เป็นพลเมืองเด็ก เราไม่อยากเห็นเยาวชนแค่ถูกเกณฑ์มา เวลาเจ้านายมาจากกรุงเทพฯก็มายืนกันอยู่อะไรอย่างนี้อยากให้มันเป็นมากกว่านั้น ก็ต้องประสานกับน้องที่เป็น
ด้วยข้อจำกัดกับกลายเป็นโอกาสค้นพบ: นักธุรกิจเพื่อสังคม
ในการทำรายการวิทยุและการจัดเวทีต่างๆ งบประมาณเราไม่ได้จากใครเลย ได้มาจากรายการวิทยุที่เราทำเราต้องใช้วิธีที่เอาตัวให้รอด คือค่าเวลามันแพงต้องใช้วิธีหาสปอนเซอร์ เพื่อที่เขาจะเข้ามาเป็นอาสาสมัครกับเราด้วย เช่นตอนนั้นอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู เราก็พยายามไปนั่งคุยกับนายทุนที่เขาจะทำโครงการบ้านจัดสรร คือเขาจะทำอยู่ริมคลองอู่ตะเภา แต่เขาจะรักษาคลองได้อย่างไรถ้าเขาไม่ลงทุนเรื่องบ่อบำบัดน้ำเสียในบ้านทุกหลัง ก็เจรจากันอยู่นาน นั่นก็หมายถึงเขาต้องลงทุนอีกเยอะเพื่อที่จะทำระบบอันนี้แต่เขาก็ยอม
จากเคยมองนักธุรกิจไม่เคยมีใจกับบ้านเมืองซึ่งไม่ใช่ กลับกลายเป็นว่าสปอนเซอร์ของเรามีวิธีคิดเรื่องการเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม อย่างจุลดิศ คุณธีรพจน์ จรูญศรี ตอนนั้นเขาก็มีโครงการใหญ่ลงไปทางใต้ เราก็เลยคุยกับเขา ปรากกว่าเขาปิ๊งไอเดียนี้มาก ตอนนั้นเขาอาจจะคิดแค่สร้างภาพให้ดูดี แต่ตอนที่เราพูดนะมองสายตาและสื่อสารกันด้วยความเป็นมนุษย์มันคงไม่ใช่เป็นการสร้างภาพ เขาเองก็ประสบความสำเร็จมาจากที่อื่นแล้วอยากทำเพื่อบ้านเกิด มันน่าจะทำในส่วนที่ต่างจากธุรกิจอื่น จุลดิศก็กลายเป็นคนที่ให้เงินมาสนับสนุนโดยไม่ออกหน้าทำให้เราได้เปิดเวทีใหญ่ เพราะว่าเวทีก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเยอะ เพราะว่าต้องดึงคนต้นน้ำ สายน้ำต่างๆ ของทะเลสาบให้มาเจอกัน
สื่อเพื่อสาธารณะ: แรงกระเพื่อมที่สำคัญ
จากประสบการณ์ที่เดินมาเส้นทางนี้ คิดว่าสิ่งที่สำคัญมากก็คือเรื่องการสื่อสารกับสาธารณะ เพราะที่ตัวเองคิดคนที่อยากจะทำอะไรเพื่อบ้านเมือง นั้นมีอีกเยอะมากแต่ไม่มีช่องทางที่จะสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ว่าถ้าเป็นสื่อกระแสหลัก ปีหนึ่งเขาถึงจะลงไปที่สงขลาสักครั้ง ก็คิดว่าตรงนี้ทำให้น้องๆที่เป็นดีเจหรือคนจัดรายการ คือตอนที่เราเกิดขึ้นในวงการวิทยุเราเกิดในอีกมิติหนึ่ง เราไม่ได้สนใจมาอ่านโพยของบริษัทผลิตเพลงหรือเพลงที่เราดึงมาก็เป็นเพลงที่เราเลือกให้มีสาระที่เราจะเชื่อมโยง หรือเรามีและเรามีประเด็นที่ชัดเจน และคนที่จะมาพูดออกหน้าไมล์มันไม่ใช่ดีเจเจ๊าะแจ๊ มันต้องมีการค้นคว้ามีการหนุนเสริม มันต้องมีบุคลิก ตรงนี้มันทำให้เกิดความสะเทือนกับสื่อในท้องถิ่นเหมือนกัน
8 ปีของเวทีคนรักบ้านเกิด: สู่ประชาคมสงขลา
เวทีรวมพลังคนรักบ้านเกิดสงขลา เป็นก้าวสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนามาระดับหนึ่ง บางคนมองว่าเหมือนจะแตกกันแล้วหรือคนรักบ้านเกิดเพราะว่าแปดปีแล้วทำไมมันไม่มีทุกปีจนมาถึงปัจจุปัน แต่เท่าที่ตัวเองมองอย่างใจเป็นธรรมมันเหมือนเป็นอะไรบางอย่างเราทำในมิติเดิมๆไม่ได้ ถึงเวลามันต้องยกระดับตัวเองเหมือนกัน คิดว่า 7-8 ปี ที่เราทำงานร่วมกันในตอนนั้น ยังไม่เรียกว่าภาคที่เป็นประชาสังคม ทุกคนก็เหมือนจะมีคำตอบแล้วว่าเส้นทางอย่างนี้เราน่าจะไปทำอะไรต่อในจุดโฟกัสที่เราสนใจในแนวลึกมากขึ้น เพราะตอนนั้นเราอาจจะมีคำว่าบ้านเกิดกับทะเลสาบเป็นศูนย์กลาง แต่ว่าประเด็นท่ามกลางรักบ้านเกิดมันน่าจะมีประเด็นอื่นๆอีกเยอะ บางคนอาจจะสนใจในเรื่องของผู้บริโภค สนใจในเรื่องของเยาวชนโดยตรง ซึ่งไม่ใช่เยาวชนแค่ลุ่มน้ำทะเลสาบ มันมีเรื่องวิกฤติ เรื่องการศึกษา เรื่องทางเลือก ทุกคนค่อนข้างแตกทางความคิดขึ้น ก็คล้ายๆมันเหมือนเป็นทฤษฏีดาวกระจาย พอกระจายไปสายใยมันยังมีอยู่ก็จะมีศูนย์กลางที่จะเชื่อมร้อย ทุกคนต่างไปทำสิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่บางประเด็นที่เป็นประเด็นร่วม เราก็จะมาร่วมกัน ตอนนั้นตัวเราเองก็จะแกนๆกับหลายๆคนจะมีเหมือนจะเป็นเซ็นเตอร์ของสงขลาประชาคม แต่ตอนนั้นเรายังไม่ถนัดที่จะเรียกเป็นประชาคมอะไรสักอย่าง
พอดีช่วงนั้นบางกอกฟอร์มรัมปี 36,37 อาจารย์ชัยวัฒน์เริ่มที่จะมีเวิคร์ช็อปที่จะพูดในเรื่อง ซีวิวโซไซค์ตี้ แล้วก็เริ่มจะมีคล้ายๆกับเสริมศักยภาพของคนๆนี้ เจอกันครั้งแรกในโลกสดใสรวมพลังคนรักบ้านเกิด มีอยู่ครั้งหนึ่งเราทำเหมือนเป็นเวิคร์กิ้งทัวร์ในใจกลางบ้านเกิดเรา เพราะว่าในสงขลามันนี่จะมีถนนสายโบราณ ละครนอก ละครใน เราก็จะเชิญทีมจากกรุงเทพ คือเรามาร่วมงานกันในเวทีสิ่งแวดล้อม ช่วงนั้นต้องให้เครดิตพี่ชัยวัฒน์ และอาจารย์อ้อ ที่จัดทำเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการที่มันจะเกิดขึ้นในประเทศไทย หลังจากนั้นมันก็เหมือนจะแตกหน่อทางความคิดที่จะ ตอนนั้นบางกอกฟอร์มรัมก็กำลังขยายความคิดประชาสังคมไปสู่เมืองใหญๆ ตอนนั้นมีฟอร์มรัมตามเมืองใหญ่ๆสงขลา ขอนแก่น โคราช เชียงใหม่ พวกเราก็จะมีเวิคร์ช็อป พี่ชัยวัฒน์ก็จะหนุนเสริมให้พวกเราต้องเรียนรู้ ก็ทำให้ภาพของคำว่าประชาสังคมชัดขึ้น เราก็นำความรู้ที่ได้ไปทำต่อในพื้นที่ของเรา เพื่อที่ว่าดาวกระจายที่เป็นในพื้นที่จะได้ชัดขึ้นในเรื่องของความเป็นประชาสังคม และในดาวนั้นจริงๆเขามาทำงานในสงขลา อย่างพี่ทวีศักดิ์บ้านจริงอยู่สุราษฏร์ธานี หรือพี่พิชัยอยู่ลานสกา ทุกคนก็อยากกลับไปทำอะไรกับบ้านของตัวเอง ช่วงนั้นก็จะมีการประสานเป็นเชิงประชาคมทักษิณ เป็นกลุ่มพวกแกนนำภาคใต้
แต่ตัวเองยังมองในงานที่ยังต่างกัน ตัวเองมองว่าแค่สงขลาเรายังเก็บไม่หมดแล้วถ้ากระจายไปภาคใต้มันยังไม่ชัด ทั้งที่ตัวเองยังไม่ถนัด แต่ว่าด้วยหลักของดาวกระจาย ทุกคนกลับไปทำบ้านเกิดของตัวเองมันใช่ คือทุกคนต้องไปจุดประกายในบ้านเกิด และเขาเองก็คงใช้หลักเหมือนกับเราว่ามันก็ต้องมีเซ็นเตอร์ที่จะร้อยในแต่ละจังหวัด ก็ทางสายนั้นเขาก็ทำกันไป พี่ชัยวัฒน์ก็ช่วยเสริมในภาคใต้จนขึ้นมาในระดับประเทศ แต่ตัวเองถ้าจะเสริมในระดับภาคก็จะเรื่องสื่อตัวเดียว หลังจากที่มีรายการของตัวเองเล็กๆ ต้นชั่งโมง และเริ่มได้เวลาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่เราก็เผชิญหน้าอยู่กับความไม่แน่นอนในเรื่องขอการให้เวลา เพราะว่าเขาจะมองว่ามิติที่จัดรายการไม่มีเพลงแบบนี้เป็นการเมืองหมดเลย เวลาเราพูดถึงที่ไปแตะของ เทศบาล ของ อบจ. หรืออะไรอย่างนั้นเราจะถูกปิด ในสถานีจะกลัวมาก แค่เราพูดเรื่องภาษีหรืออะไรที่ไม่ยุติธรรมหรือในโรงเรียนที่ไม่ยุติธรรมกับนักเรียน แต่พูดในสไตล์เหมือนแม่คนหนึ่งที่จะพูดถึงลูก และก็ลูกคนอื่นด้วย แต่รายการของเราก็โดนจะพยายามจะบีบให้ย้ายจากสถานีของรัฐมาสถานีทหารก็กลัวอีก คือแบบว่าเป็นคนที่อยู่สงขลานานแล้วครอบครัวเป็นที่รู้จัก แล้วเขาก็น่าจะรู้ว่าตระกูลเรามาทางวิชาการก็ยังไม่เว้น ก็เลยรู้สึกเบื่อมาก ก็เลยคิดว่าจะปรับมาทำเรื่องเด็กมาหนุนเสริมให้เด็กรู้ทันสื่อ คือมีความรู้สึกว่าถ้าจะผลิตสื่ออยากจะสร้าง สองข้อที่ตัวเองเห็นตอนนั้น ก็คือเหมือนจะเพิ่มปริมาณให้ภาคประชาสังคมมีคนที่ทำงานสื่อที่ไม่ใช่ ดีเจเจ๊าะแจ๊ะ
เพราะโอกาสจาก กศน.
ตัวเองอาจจะโชคดี โดยปรัชญาการศึกษานอกโรงเรียนต้องให้เครดิต มันคือการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาเพื่อปวงชน ทุกครั้งที่เราสื่อสารกับเจ้านาย ท่านอธิบดียังบอกกับเราว่า ถ้าเกษียนแล้วอยากจะมา ปรัชญาการศึกษานอกโรงเรียนสิ่งนี้แหละคือใช่ และการที่เป็นการที่จะเปิดช่องทางให้เป็นการศึกษาของประชาชนโดยทั่วไป เขาก็เชื่อมั่นในเรื่องสื่อ ก็ที่ตัวเองเติบโตมาจากงาน กศน. เป็นงานหน้าใหม่ของกศน. ก็คือการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งสมัยนั้นที่ทำยังไม่มีทีวี ก็สอนทางวิทยุหรือไปรษณีย์ และเรามีการไปพบกลุ่มก็คือ ฟอร์มรัม ทุกเสาร์-อาทิตย์ และก็จะมีครูมาอาสา คือจริงๆแล้วมันเป็นระบบประชาสังคมเลย อันนี้ต้องให้เครดิต กศน. โดยปรัชญาแล้วเขาแข้มข้นอย่างนี้ มันไม่ใช่มาจัดการศึกษามาก๊อปปี้ในรูปแบบในโรงเรียน มันเหมือนต้องจัดในระบบนอกโรงเรียนโชคดีที่ตัวเองไม่เคยมีปัญหาในเรื่องนี้ และก็มันสามารถเชื่อมโยงมาสู่งานประจำได้ อยากเพราะว่าตอนที่ทำราชการเป็นฝ่ายสื่อเทคโนโลยีการศึษารับผิดชอบการผลิตรายการ 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ และก็จะเป็นคนที่เมามันมากเพราะชอบเรื่องสื่อ ก็จะมีสตูดิโอเล็กๆของเราอยู่ที่บ้านและก็จะยิงออกไปเวลาที่จะซื้อและเราก็ทำเทป คือสถานการณ์เราต้องให้สดสุดๆแต่ว่าต้องทำงานหนัก ก็มีเพื่อนที่ดีที่เขามีใจมีระบบความคิดมาช่วย และตอนนั้นเขาก็มีงานที่เจริญเติบโตสูงขึ้น อยากให้ความเชื่อมั่นในข้าราชการนะ นี่มันคือคำตอบของแผ่นดิน มันไม่ใช่ทำงานแล้วเพื่อให้รวย เรายังต้องเอาเงินของเราไปซื้อเวลาเลย แล้วสปอนต์เซอร์ที่มีก็ไม่ได้มาโฆษณาแบบสปอต์โฆษณาที่มาเป็นสินค้านะ เป็นสปอนต์เซอร์ที่เป็นเรื่องบำบัดน้ำเสียก็จะมาคุยเรื่องบำบัดน้ำเสีย และปิดท้ายด้วยชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรเขาแค่นั้นเอง ซึ่งเขาต้องมีใจมากเลยที่จะไม่ต้องมาโฆษณาที่ อัตควาสซิสตั้ม แต่เอาโครงการที่หมู่บ้านของเขามีระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนั่นหมายถึงมันทำงานในระบบความคิดกันด้วย
จากการสื่อสารในระดับท้องถิ่น: สู่สื่อสาธารณะระดับประเทศ
ที่เล่าไปสักครู่มันเหมือนเป็นสื่อสาธารณะในระดับชุมชนในระดับท้องถิ่น แต่ตอนนี้อาจจะเป็นความโชคดีที่ได้มีโอกาสเข้ามาทำงานในระดับที่เรียกว่าเป็นสื่อสาธารณะแห่งชาติ ซึ่งมันก็ยังไม่ขาดสายกัน ทีนี้งานที่ทำตอนนี้โชคดีตรงที่ว่าไทยพีบีเอส เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแพร่ภาพและสื่อสารสาธารณะ ความจริงแล้วมันจะต้องมีสื่ออื่น ต่อไปไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชนหรืออะไรตามมาอีก แต่สิ่งที่อยากจะบอกก็คือว่าความต้องการที่จะให้ภาคที่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม มันก็ต้องมีพื้นที่สื่อสารถึงกัน และต้องสื่อสารกันสองทาง ไม่ใช่แค่ผู้ผลิตส่งอะไรไปให้ฝ่ายเดียว มันจะต้องกลับมาทีนี้ไทยพีบีเอส เขาออกแบบไว้ดีตรงนี้เขาเพิ่งเกิดอีกภาคหนึ่งคือภาคประชาสังคม อันนี้ตัวเองเข้ามาอยู่เป็นรองผิอำนวยการด้านประชาสังคม และในด้านนี้ก็จะเป็นกันเป็นสามสำนักใหญ่ๆ ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วม,สำนักการตลาดเพื่อสังคม,สำนักเครือข่ายสื่อประชาสังคม ตรงนี้เราเป็นคนตั้งชื่อขึ้นมา ซึ่งในสื่อเครือข่ายภาคประชาสังคม ทั้งสามตัวมันจะเป็นเหมือนเปิดพื้นที่ไว้ให้มีการสื่อสารสองทาง ยกตัวอย่างงานสังคมในไทยพีบีเอส ซึ่งเขาได้ออกแบบด้านบริหารกับรายการ ต่อไปนี้เขาจะมีสื่อประชาสังคม เพราะเขาคิดว่าคำว่าสาธารณะตรงนั้นมันมีความหมายลึกซึ้งมาก มันไม่ใช่แค่หน้าจอ มันเป็นเหมือนสมองกับจิตวิญญาณซึ่งมันเหมือนไม่มีตัวตนคือเราต้องปิดทองหลังพระจะไม่มีชื่อออกไปนอกจอ แต่ว่าจะต้องทำอย่างไรที่จะต้องดันประเด็นที่มันเป็นวาระอยู่ในชุมชนต่างๆเข้ามาสู่หน้าจอ และทำอย่างไรให้บางประเด็นยกระดับขึ้นมาเป็นวาระของสังคมไทย
เพราะว่าตอนนี้มันเหมือนทุกสื่อโดนคุมเข้ม มองว่าถ้าภาคประชาสังคมเกิด เราต้องทำงานให้มากกว่านี้ มันไม่ใช่แค่วาระของคนกรุงเทพ บางอย่างเป็นวาระของคนกรุงเทพที่เราร่วมด้วยได้ แต่บางอย่างเหมือนด้ามขวานซึ่งมีอยู่สองด้านก็คือฝั่งทะเล ทรัพยากรชายฝั่งมันต้องถูกดันมาจากประเด็นปัญหาของคนที่อยู่บริเวณด้ามขวาน ถ้าอยู่ที่กรุงเทพอาจจะมองไม่เห็น อาจจะมองไปเรื่องรถติด คนตกงานซึ่งจริงๆ ก็เป็นประเด็นร่วมทั้งหมดแต่ว่าบางเรื่องก็ร้อนมาจากท้องถิ่นเหมือนกัน ชุมชนเหมือนกัน ถ้าว่ากันจริงๆ แล้วฝ่ายที่เขาทำอยู่เขาก็มีความสามารถของการผลิต คือรู้เทคนิคของรายการ แต่พอมาเป็นสื่อสาธารณะแล้วเขาต้องเติมอีกตัวหนึ่งไปก็คือ เรื่องราวของสาธารณะที่รอบด้าน แล้วก็เข้าถึงผู้คนได้อย่างทั่วถึงและมากขึ้นคือบางทีถ้าเราทำอยู่เดิมๆ จะพบทางตัน ความจริงเรื่องที่เขาทำก็สำคัญ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างไปจากช่องอื่นที่ไม่ได้เป็นสื่อสาธารณะ ซึ่งคิดว่าคนในไทยพีบีเอส เขาก็ตระหนักในเรื่องนี้อยู่และก็มีความพยายาม เช่นว่าข้างในเขาก็จะมีเวทีที่ฝ่ายข่าวมาพบกับฝ่ายประชาสังคม และก็มาพูดคุยในประเด็นที่อยู่ในระดับชุมชนท้องถิ่นไปถึงระดับประเทศ พอมานั่งพูดคุยแล้วเราก็มาเติมมุมมองกัน หรือบางทีเราอาจจะเชิญผู้เชี่ยวชาญในภาคส่วนต่างๆ มาพบคุย เป็นการเหมือนเติมความรู้กัน อีกส่วนหนึ่งก็คิดว่าเราพยายามที่จะโดยเฉพาะในภาคประชาสังคม ซึ่งยังมีที่เป็นคนขององค์กรเดิม อย่างไอทีวี ถ้าฝ่ายสาธารณะสัมพันธุ์เขาก็คิดไปในเชิงธุรกิจ แต่ต่อไปนี้มันไม่ใช่มันเป็นอีกมิติหนึ่ง ก็ต้องเตรียมพัฒนาบุคลากรข้างในโดยเฉพาะภาคประชาสังคมเรามีคนในเริ่มแรกตกประมาณ 20 กว่าคนเราต้องทำเวิคร์ช็อปเล็กๆให้ทำความเข้าใจว่าภาคประชาสังคมทำอะไร แล้วก็พาเขาไปสัมผัสในพื้นที่บ้าง
ที่เราทำบ่อยมากก็คือนั่งพูดคุย พยายามที่จะลงทุนทางระบบคิดเยอะมาก ช่องทางที่จะมาร่วมกับอาจารย์ในด้านประชาสังคม ตอนนี้เรามีอยู่สามสำนัก สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมจะมีกลไกที่ตัวกกหมายบัญญัติก็คือมีสภาผู้ชมผู้ฟังซึ่งตรงนั้นก็จะมีตัวแทนที่องค์กรคัดเลือกขึ้นมา 50 คน แต่ไม่ใช่ทำงานแค่ 50 คน เขามียวงใยสัมพันธุ์ซึ่งตรงนั้นจะเป็นช่องทางอันหนึ่งจากกลไกของสภา และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นกลไกของเพื่อนทีวีไทย ที่เราจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรงที่ว่า ติชมเสนอแนะมา เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สื่อสาธารณะจะต้องมีและอยู่ได้ด้วยคำติชมจากทุกท่าน แล้วนำมาพัฒนาในรายการ ไม่ใช่คิดเองแต่ในองค์กร ชอบไม่ชอบยังไงก็เรื่องของคุณ ถ้าเป็นช่อนช่องธุรกิจมันก็ แม็กมันนี่ ไปตามครรลองของเขา แต่ช่องนี้ต้องรับฟังแล้วนำมาปรับปรุง มันฟังเหมือนง่าย มันน่าจะมีกลไกอะไรที่ทำให้ผู้ชมไม่ใช่เป็นแค่ผู้บริโภค ดูมันไม่มัน ดีไม่ดี แต่เขาดูแล้วเกิดความรู้สึกว่าชื่นใจมากเลยถ้าสื่อสาธารณะตรงนี้ทำหน้าที่สื่อสารในเรื่องการเป็นอาสาสมัครจัดรายการคนละไม้ละมืออย่างนี้ช่วยสร้างเสริมการเป็นอาสาสมัครต่อสังคม ถ้าสื่อตรงนี้ทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ เหมือนมีสิ่งกระทบที่ทำให้เกิดสิ่งดีๆในสังคม ถ้าคนวิจารณ์เราเขาพูดคุยได้ถึงระดับนี้ เขาไม่ใช่เป็นแค่ผู้บริโภคนะ เขาน่าจะเป็นพลเมืองที่เอาการเอางาน น่าจะเป็นคนที่อยากช่วยเหลืออะไรในสังคม ซึ่งตรงนั้นเป็นกลไกที่อยากสื่อไปทางน้องๆได้
สิ่งที่พูดถึงไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ เลยนะ เราตามมาตั้งแต่มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญปี 40 จนถึงปัจจุปัน แล้วเราก็เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมจากวิทยุชุมชน ถึงไทยพีบีเอส เพราะตรงนี้คิดว่า ไม่ใช่เรียกร้องให้ทุกคนมาเป็นเจ้าของและก็ประคับประคองไม่ให้หายไปไหน แต่ควรต้องตั้งโจทย์ว่า สื่อสาธารณะอย่างที่เล่ามาทั้งหมดจะเป็นเวทีกลางที่สื่อกันทางความคิดทั้งสองทางอย่างต่อเนื่องและแรง เพราะทุกวันตั้งแต่เช้าไปถึงดึก เราจะช่วยกันสร้างสรรค์ให้คู่กับความเป็นประชาสังคมของคนไทยได้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่กำลังพยายามค้นหาคำตอบอยู่

Be the first to comment on "พรรณิภา โสตถิพันธุ์ กับงานสื่อสารเพื่อประชาสังคม"

Leave a comment

Your email address will not be published.