[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 6 ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

ภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดริมลำน้ำน่าน แหล่งน้ำที่สำคัญคือ หนองบัว และหนองน้อย พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ช่วงฤดูน้ำหลากช่วงเดือน สิงหาคม-กันนยายน

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อกับ  บ้านคัวะ ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ บ้านต้นฮ่าง ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ บ้านดอยติ้ว ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน 

จำนวนครัวเรือน 130 หลังคาเรือน  จำนวนประชากร ……… คน

4.สถานที่สำคัญ

  1. วัดดอนแก้ว
  2. พระธาตุจอมแจ้งบัว

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ

เส้นที่น้ำสำคัญ คือ ลำน้ำน่าน ไหลจากทิศเหนือมาทิศใต้ ลำน้ำสายย่อย คือ ร่องน้อย ร่องหลวง ไหลจากหนองบัว แต่ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลจากลำน้ำน่านขึ้นไปหนองบัวย้อนกลับเข้าท่วมหมู่บ้าน

7.พื้นที่เสี่ยง

พื้นที่ประมาณร้อยละ 80 ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงบริเวณพื้นที่การเกษตร

8.ผลกระทบ

ผลกระทบจากน้ำท่วมประมาณ 100 ครัวเรือน สาเหตุจากลำน้ำน่านไหลเอ่ยเข้าท่วม 

9.การจัดการภัย  

การแก้ปัญหาโดยสร้างผนังกันตลิ่งพังบริเวณลำน้ำน่าน

การเฝ้าระวังแจ้งเตือนเป็นการฟังข่าวทางวิทยุ เฝ้าดูกันเอง จากผู้ใหญ่บ้าน และญาติๆที่เชียงกลาง ปัว ยม และจอมพระ

ระหว่างเกิดภัยอพยพไปที่พระธาตุจอมแจ้ง

10. ข้อเสนอแนะ

      …………………..

11. พิกัดพื้นที่

  1. พิกัดจุดเสี่ยง/จุดปัญหา

จุดที่ 1 ชุมชนด้านทิศใต้

ปัญหาที่พบ มีพังทลายของดินบริเวณริมน้ำน่านมีการแก้ปัญหาโดยสร้างผนังกันตลิ่งพังยาวประมาณ 300 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี 2559 ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ผลกระทบบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 40 หลังคาเรือน

บริเวณสีแดงพื้นที่น้ำท่วม

จุดที่ 2 วัดดอนแก้ว

บริเวณหน้าวัดดอนแก้วผลกระทบกว่า60 หลังคาเรือนน้ำไหลมาจากหนองบัว

ผนังกั้นน้ำหน้าวัดดอนแก้วเพื่อป้องกันตลิ่งพัง

จุดที่ 3 ร่องน้อย

            น้ำน่านหนุนเข้าไปหนองบัว

จุดที่ 4 จุดที่น้ำไหลผ่านถนน

            น้ำไหลจากทิศเหนือผ่านถนนทำให้น้ำไหลแรง และไม่สามารถผ่านเข้าออกหมู่บ้านได้

ขอบเขตที่น้ำท่วมถึง บริเวณน้ำท่วม  ระดับน้ำท่วม

จุดที่ 5 หนองบัว

เนื้อที่ผิวน้ำ ประมาณ 19.375 ไร่ (31,000 ตารางเมตร) บริเวณที่น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรก่อนเข้าหมู่บ้าน 

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

ศศิภา ไชยวงศ์ (สอบต.ป่าคา) 088-587-1171

รวบรวมข้อมูลโดย ปาลิต วรพงศ์พิบูลย์ E-mail : Palitldi@gmail.com

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562