บทความ

ประสบการณ์ประชาสังคม (27) : ศตจ.ปชช.(2547)

          ผลจากการหารือกันระหว่างผู้ใหญ่ 4 ท่าน เมื่อตอนจบโครงการถักทอพลังชุมชนพลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติดฯ ทำให้รัฐบาลออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 271


ประสบการณ์ประชาสังคม (26): ไฟใต้ระลอกใหม่ (2547)

          กรณีการปล้นปืนที่ค่ายทหารกองพันพัฒนา   บ้านปิเหล็ง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นสัญญาณการลุกโหมของไฟใต้ระลอกใหม่    ภายหลังจากที่ได้สงบลงไปแล้วเกือบสิบปี


ประสบการณ์ประชาสังคม (25): ศึกปุระชัย (2546-2547)

          รัฐบาลทักษิณมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใน ครม. บ่อยมาก ประมาณว่าทุกรอบ 2-3 เดือนเลยทีเดียว  รัฐมนตรีแต่ละคนจึงต้องอยู่ในภาวะที่ตื่นตัวและสนองนโยบายนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็น CEO อยู่ตลอดเวลา   สไตล์การบริหารงานแบบนี้เรามักไม่เห็นในรัฐบาลสายอนุรักษ์นิยมหรือแม้แต่เผด็จการทหาร


ประสบการณ์ประชาสังคม (24): ฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา (2546)

          ช่วงนั้นผมเริ่มมีงานเกี่ยวพันใกล้ชิดรองนายกรัฐมนตรีอีกท่านหนึ่งในรัฐบาลคุณทักษิณมากขึ้นเรื่อย ๆ   คือ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ    เริ่มจากงานชุมชนแก้ปัญหายาเสพติด มาสู่เรื่องศูนย์ต่อสู้เอาชนะความยากจนแห่งชาติ   แล้วท่านก็ดึงผมเข้าไปช่วยเรื่องการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา


ประสบการณ์ประชาสังคม (23): เวทียุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะความยากจน (2546-2547)

          ในขณะที่ ดร.เดวิด แมทธิวส์ และมูลนิธิแคทเทอร์ริงในสหรัฐอเมริกาใช้เวทีประเด็นสาธารณะแห่งชาติ (National Issue Forums) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยพลเมืองที่ใช้วิจารณญาณ (Deliberative Democracy)     พวกเราในเมืองไทยกลุ่มหนึ่งก็ใช้เวทีเสวนาเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จัดกันเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวสังคม


ประสบการณ์ประชาสังคม (22): เครือข่ายป่าชุมชนกับรางวัลลูกโลกสีเขียว

          ในบรรดากฎหมายที่ริเริ่มขับเคลื่อนโดยภาคประชาชนนั้น  ดูเหมือนว่า  พ.ร.บ.ป่าชุมชน จะเป็นฉบับแรก และเป็นฉบับที่ใช้เวลาในการผลักดันนานที่สุด ซึ่ง LDI เป็นองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาด้วยตั้งแต่ต้น 


ประสบการณ์ประชาสังคม (21) : ชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่ (2546-2549)

          กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(ส.ส.ส.) เป็นหน่วยงานรัฐที่ไม่ใช่ราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่เป็นองค์กรมหาชนที่มีพรบ.เฉพาะของตน สสส.จัดตั้งขึ้นในปี2544 มีรายได้โดยอัตโนมัติจากระบบภาษีเหล้า บุหรี่ ที่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 โดยไม่ผ่านกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน  


ประสบการณ์ประชาสังคม(20) : เครือข่ายพลังชุมชนพลังแผ่นดิน (2545-2546)

          รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศให้การทำสงครามเอาชนะยาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ(ศตส.)ขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงเป็นผู้อำนวยการ และพลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์ เลขาธิการป.ป.ส. เป็นผู้คุมกลไกขับเคลื่อนขบวนทัพ


ประสบการณ์ประชาสังคม(19) : กองทุนสื่อประชาสังคมต้านคอร์รัปชัน (2545-2547)

           เมื่อไปประกาศในเวทีสัมมนารวมพลังประชาชนต้านคอร์รัปชันของ คปต.  ที่ศูนย์ประชุมไบเทคแล้ว คุณทักษิณ ชินวัตรได้เชิญคณะของเราไปพบที่ทำเนียบรัฐบาลในสัปดาห์ถัดมา ที่ไปในคราวนั้นมีคุณณรงค์ โชควัฒนา, หมอพลเดช ปิ่นประทีป, พลเอกกิติศักดิ์  รัฐประเสริฐ และคุณวีระ สมความคิด


ประสบการณ์ประชาสังคม (18) : ก่อตั้งเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (2544)

          ด้วยฉันทามติจากเวที “ที่ประชุมข่ายประชาสังคมไทย” ในเดือนเมษายน ซึ่งหยิบยกประเด็นสนามบินหนองงูเห่าขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา โดยที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาคอร์รัปชันเปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กัดกินสังคมไทยและถ่วงรั้งการพัฒนาประเทศ 


ประสบการณ์ประชาสังคม (17) : “รวมพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้าน” (2544-2545)

          หลังชนะการเลือกตั้งสองสัปดาห์ หมอมิ้ง (นพ.พรหมินทร์   เลิศสุริย์เดช) นัดหมายคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ กับผมไปพบปะพูดคุยกันที่อาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต ระหว่างนั้นพรรคไทยรักไทยพร้อมจัดตั้งรัฐบาลและเตรียมนโยบายการบริหารประเทศแล้ว   นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค   กองทุนหมู่บ้าน   พักหนี้เกษตรกร ฯลฯ คือนโยบายหัวหอกที่ทำให้พวกเขาชนะเลือกตั้งแบบถล่มทลาย ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องรีบดำเนินการให้เป้นรูปธรรมโดยเร็ว


ประสบการณ์ประชาสังคม (16) : รับมือเลือกตั้ง 2544

          เมื่อได้เห็น LDI และเครือข่ายประชาคมจังหวัดทั่วประเทศมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนเวทีสาธารณะระดับพื้นที่พร้อม ๆ กันทุกภูมิภาค ดร.โคทม อารียา กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม(ในขณะนั้น) จึงเข้ามาทาบทามให้ช่วยเตรียมการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง