บทความ

ประสบการณ์ประชาสังคม (15) : ที่ประชุมข่ายประชาสังคมไทย (2544-2545)

          ความเป็นชุมชนและประชาคมที่เข้มแข็ง (Community) นั้น   หัวใจอยู่ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน (Communication)           การประชุมเป็นเนื่องนิจ ตามหลักอปริหานิยธรรม คือรูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารแบบพบปะหน้าตา (on eye) ซึ่งเป็นวิธีการของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ครั้งดึกดำบรรพ์ และยังคงใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน   แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ที่สะดวกสบายมาก   ทั้งในรูปแบบสื่อสารทางไกลที่ใช้สาย (on line) และใช้คลื่นความถี่ (on air)


ประสบการณ์ประชาสังคม (14) :ต้านฮุบบางจาก (2542)

          ยุทธศาสตร์ยุทธวิธี “ใช้ชนบทล้อมเมือง แล้วยึดเมืองในที่สุด” ที่เหมาเจ๋อตงใช้ในการปฏิวัติจีนนั้น เป็นเพราะวิเคราะห์ว่าชนบทอันกว้างใหญ่ไพศาล คือจุดอ่อนช่องว่างที่อำนาจรัฐควบคุมได้ไม่ทั่วถึง จึงเหมาะสำหรับกองทัพประชาชนที่กำลังยังอ่อนจะสามารถ “ซุ่มซ่อนยาวนาน สะสมกำลัง และรอคอยโอกาส”ได้


ประสบการณ์ประชาสังคม (13): “ก่อตัวประชาคมสุขภาพ” (2543-2544)

          ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คงเป็นที่ประจักษ์และยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ขบวนการปฎิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ    นับเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีพลัง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย แนวคิด โครงสร้างและกลไกระบบสุขภาพของประเทศได้ สำเร็จอย่างงดงามในขั้นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับขบวนปฎิรูประบบการศึกษา


ประสบการณ์ประชาสังคม (12 ) : รายการโทรทัศน์ “ทิศบ้าน..ทางเมือง”

          ในช่วง 3 ปีแรกที่ผมเข้ามารับผิดชอบ LDI  และได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากเรื่องชุมชนเข้มแข็งมาสู่การขับเคลื่อนเครือข่ายประชาสังคมที่ต้องการการถักทอภาคีที่หลายหลากกว่าเดิมมากนั้น พี่น้อง NGO ซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าของ LDI พากันตั้งคำถามเชิงเสียดสีกันว่า LDI เปลี่ยนไป?  , LDI รับใช้สภาพัฒน์!?  , LDI เป็นพวกประชาสังคมหน่อมแน้ม!? ฯลฯ


ประสบการณ์ประชาสังคม (11) : “บุกเบิกประชาคมอำเภอ (2541-2542)”

            ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคสังคมในการกำหนดและจัดการตนเองได้หรือที่เรียกกันว่า งานประชาสังคมนั้น เมื่อ 10 ปีก่อนมีประเด็นถกเถียงกันว่าขอบเขตพื้นที่ (Scale) แค่ไหนจึงเหมาะสม บางท่านเห็นว่าระดับตำบล บางท่านว่าไม่ควรยึดติดกับกรอบพื้นที่การปกครอง โดยเสนอว่าเป็นเครือข่ายชุมชนระดับลุ่มน้ำ หรือย่าน/บาง หรือภูมินิเวศน์-วัฒนธรรมแบบอื่นๆ


ประสบการณ์ประชาสังคม (10): “กระบวนการแผน ๙ (2542-2543)”

            การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีมงานสภาพัฒน์ฯ (สายสังคม) กับ LDI ในช่วงนั้น โดยผ่านกลไกเวทีประชาคมแผน ๘, คณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติ (กนส.) และโครงการประชาคมอำเภอนำร่องที่วาปีปทุม (มหาสารคาม) กับพรหมพิราม (พิษณุโลก) 


ประสบการณ์ประชาสังคม (9): “วิจัยนำร่อง : ประชาคมตำบล 2542”

          กระแสการมีส่วนร่วมที่ได้รับการรับรองจากรัฐธรรมนูญ 2540 และแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 8 ได้นำมาซึ่งกิจกรรม โครงการ และการริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบการพัฒนาที่เรียกว่า “ประชาคม” มากขึ้น


ประสบการณ์ประชาสังคม (8): เวทีประชาคมแผน 8 (2540-2543)

                แผนพัฒนาประเทศเป็นเครื่องมือทางนโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐไทยได้นำมาใช้กำหนดทิศทางและจังหวะก้าวการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี   แผนพัฒนาประเทศของไทยเป็นแผนระยะ 5 ปี เริ่มตั้งแต่แผน ๑ ในปี 2504 เป็นต้นมา ถึงขณะนี้อยู่ในช่วงของแผน ๑๐ แล้ว



ประสบการณ์ประชาสังคม (7) :“สิทธิในการไม่เชื่อฟังรัฐ”

            มีการก่อหวอดฟื้นตัวอีกครั้งของกลุ่ม “การะเกด” ในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวใหญ่ทางการเมืองเพื่อตรวจสอบการทำงานของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลของเขาจนกระทั่งบานปลายไปสู่การรัฐประหาร 19 กันยายน ที่ไร้การนองเลือด


ประสบการณ์ประชาสังคม (6) : “การเคลื่อนไหวสังคมแนวใหม่”

          กระแสการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในประเทศไทยช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีลักษณะเป็นการเคลื่อนไหวแบบมวลชน (Mass Movement) ที่มุ่งสร้างแรงกดดันเพื่อบรรลุผลในทางการเมืองเป็นด้านหลัก ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบนี้ ปัจจุบันยังคงอยู่โดยสืบทอดกันมาไม่ขาดสาย


ประสบการณ์ประชาสังคม (5) : สมการประชาสังคม

          ในช่วง ปี2541 ต่อ 2542 มีความเคลื่อนไหวภายในกลุ่มก่อการประชาสังคมที่ส่วนกลาง เมื่อ เอนก นาคะบุตร ต้องไปบริหารกองทุน SIF คำถามคือ ใครจะเป็นผู้มาดูแล LDI  แทนและการเคลื่อนวิถีประชาคมจะเป็นไปข้างหน้าอย่างไร