ข่าวประชาสังคม

คณะกรรมการมรดกโลก : ชนวนความขัดแย้งระหว่างไทย – กัมพูชา

                เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังการเสวนา เรื่อง คณะกรรมการมรดกโลก : ชนวนความขัดแย้งระหว่างไทย – กัมพูชา  ซึ่งจัดโดย คณะอนุกรรมาธิการด้านการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ และภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อวันอังคารที่ 20 ตุลาคม 2552 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306-308  ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2


ตอนที่ 29: “สัปดาห์แรกของรัฐมนตรี”

          ชีวิตการเป็นรัฐมนตรีนั้นแตกต่างจากการเป็นเลขารัฐมนตรีอย่างน้อยก็ในแง่ของการที่ต้องก้าวออกมายืนอยู่ข้างหน้าในนามของกระทรวง พม. อย่างเต็มตัว และก็หมายถึงการยืนต่อหน้าสาธารณะ ที่พร้อมจะให้สาธารณะได้ตรวจสอบ ซักถาม ทวงถาม วิพากษ์วิจารณ์ ล้อเลียน ขุดคุ้ย ตีแผ่ ฯลฯ ได้ตลอดเวลา นี่แหละคือสิ่งที่ผมไม่ชอบเลย


กรณี ปราสาทพระวิหาร คนไทยจะพูดจาเป็นเสียงเดียวกันมิได้เชียวหรือ

              ผมมีคำถามที่ต้องตอบตัวเองว่า ในฐานะที่เป็นคนไทย จะทำอย่างไร และจะยืนอยู่ตรงไหน เกี่ยวกับกรณีข้อพิพาทเรื่องดินแดนปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ให้ได้รับรู้กันครับว่า ผมคิดอย่างไร


จิตวิญญาณในสังคมไทย

ปาฐกถาพิเศษ โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ในงานสานจิตรเสวนา : มหกรรมความรู้การพัฒนาจิต 10 กันยายน 2552 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา


“จุดเปราะบางของภาคประชาสังคม: ข้อสังเกตจากนักธุรกิจเพื่อสังคม”

ร่มโพธิ์ลานไทร แอลดีไอแสควร์ ตอนที่ 8 “จุดเปราะบางของภาคประชาสังคม: ข้อสังเกตจากนักธุรกิจเพื่อสังคม” ในตอนนี้พี่น้องข่ายงานประชาสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับชม รับฟัง เพราะมีข้อสังเกตบางประการถึงการขับเคลื่อนงานประชาสังคม จากคุณชูชัย ฤดีสุขสกุล อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ทำกิจกรรมทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน


โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนภาคใต้(ช.ช.ต.)

ไฟใต้กับการเผาผลาญทุนทางสังคม หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้เป็นที่แน่ชัดว่า ความมั่นคงของมนุษย์ และทุนทางสังคมในพื้นที่กำลังสั่นคลอนในทุกมิติ


แถลงการณ์ฉบับที่ ๑๑

เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย “ร่วมต่อต้านกลุ่มทุนการเมืองชุดใหม่ฮุบรถไฟไทย เปิดโปงมะเร็งร้ายคอรัปชั่นตามนโยบายกัดกินชาติ”


“เร่งสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชน ขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองสู่การปฏิบัติ”

แถลงการณ์ฉบับที่ ๑๐ ในโอกาสรำลึกวันครบรอบ ๑ ปีของการชุมนุมใหญ่ ๑๙๓ วันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “เร่งสร้างความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนขับเคลื่อนการปฏิรูปการเมืองสู่การปฏิบัติ” 


นพ.ประเวศแนะใช้สันติผ่าทางตันการเมืองไทย

            ย้ำปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยเหมือนไก่ในเข่งจิกตีกัน สุดท้ายโดนฆ่าเหมือนกันหมด ชี้ทักษิณเป็นคนเก่ง แต่จิตไม่นิ่งต้องเจริญสติ จะเกิดปัญญา ศรัทธาประชาชนจะกลับมา…


LDI กับการขับเคลื่อนพลังทางสังคม : บทสัมภาษณ์ อเนก นาคะบุตร

1. ก่อเกิดในสถานการณ์แหลมคม ช่วง LDAP มีประเด็นใหญ่ คือ เรื่องของป่า เพราะมีความขัดแย้งกันสูง ก็เลยมีเรื่องของป่าชุมชน ซึ่งปลายสมัย LDAP มีบทเรียนของเรื่องป่าชุมชนทุ่งยาว จ.ลำพูน จากทุ่งยาวก็พบว่ามีอีกหลายป่าที่มีเรื่องแบบนี้ มีอีกหลายลุ่มน้ำ เจ้าหน้าที่ก็ขึ้นไปทำที่ดอยสามหมื่น


จัดการความรู้เพื่อสร้างความเป็นสถาบันในท้องถิ่น

สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) หน่วยงานย่อยหนึ่งของมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคนในชุมชนท้องถิ่น (Learning Empowerment) และพัฒนาให้เกิดความสามารถในการจัดการการเรียนรู้เป็น คือเป็นนักออกแบบการเรียนรู้ (Learning Designer) “ทำให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาคนของเขาเองได้ มีวิธีในการพัฒนาคน และต้องทำได้ต่อเนื่อง” โดยเล็งเห็นคุณค่าของ การสร้างนวัตกรรม การสร้างระบบความสัมพันธ์ใหม่ในพื้นที่ เพื่อให้ทั้งเราและเขาเรียนรู้ว่า…การจะเปลี่ยนจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง เราจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้เรามีความรู้และพัฒนาขยายไปที่อื่นได้ ไปเป็นบทเรียนในการขยายผล ในการที่จะเรียนรู้กับสังคม เป็นการนำทฤษฎีไปปฏิบัติจริง โดยเชื่อว่าการ “สร้างความเปลี่ยนแปลง” จะเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อต้องลงมือทำ…


ทศวรรษที่สาม มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ชูแนวทางชุมชนท้องถิ่น ร่วมปฏิรูปสังคม

การเข้าสู่ทศวรรษที่สามของชีวิต สำหรับคนหรือองค์กรหนึ่งมีความหมายหลายนัยแฝงอยู่ นัยหนึ่งเป็นการสะท้อนความเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาววัยฉกรรจ์ที่เปี่ยมไปด้วยกำลังวังชา ไม่ใช่วัยเด็กที่เริ่มเตาะแตะ และไม่ใช่วัยชราที่เชื่องช้าถดถอย อีกนัยหนึ่งก็สะท้อนความมีประสบการณ์ชีวิตมาแล้วในระดับหนึ่ง