ที่นี่ CSDI

“แนวทางสยบความรุนแรงของกลุ่มเสื้อแดง”

            ท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่พลิกผันไปมาในรอบ 3 ปี วันนี้พลพรรค เสื้อแดงของนปช.กำลังปั่นป่วนสร้างสถานการณ์ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในขณะที่ฝ่ายสีเหลืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) สงบคุมเชิงอยู่ในที่ตั้งนั้น รัฐบาลร่วมของสีฟ้าและสีน้ำเงินต้องไม่ใช้ความรุนแรง และต้องจัดการปัญหาอย่างชาญฉลาด เฉียบขาด และรับผิดชอบ


“ยุทธศาสตร์รัฐดับไฟใต้ 2552”

การพูดเรื่องยุทธศาสตร์ดับไฟใต้นับเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการถูกเขม่นเอาง่ายๆ ด้านหนึ่งเพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่มีหน่วยงานด้านความมั่นคงอันมหึมาดูแลอยู่แล้ว พลเรือนตัวเล็กๆจะไปรู้เรื่องอะไร


“งานพัฒนา จชต.2552”

            แต่ไหนแต่ไรมา งานพัฒนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยส่วนใหญ่เป็นบทบาทของภาคราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนที่เป็นอิสระหรือเอ็นจีโอมีน้อยมากและองค์กรส่วนใหญ่จะไม่ถึงขั้นเป็นสถาบันที่มั่นคงนัก


“ชุมชนชายแดนใต้ 2552”

            เพื่อนฝูงหลายคนมาเลียบเคียงถามผมถึงสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าแนวโน้มจะไปทางไหน   ประชาชนเป็นอย่างไรกันบ้าง   ผมเองในระยะหลายเดือนมานี้ก็ลงพื้นที่ไม่บ่อยนัก


“เอ็นจีโอ แอ็คตีวิสต์ และแอลดีไอ”

เมื่อเดือนก่อน คณะเจ้าหน้าที่จาก World Bank 4 คน มาที่ LDI เพื่อปรึกษาหารือจะร่วมกันทำงานฟื้นฟูชุมชนชายแดนภาคใต้ พวกเขาสนใจว่าทำไม LDI จึงทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ได้ยาวนานทั้งๆ ที่เป็นองค์กรมูลนิธิที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ


“อนิจจา พม.”

             ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผมระมัดระวังที่จะไม่ไปให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในประเด็นที่พาดพิงถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของเจ้ากระทรวง เพราะถือเป็นมารยาทที่ผู้ใหญ่พึงกระทำเป็นแบบอย่าง


“วิทยุชุมชน (3) : เครื่องมือปฏิวัติประชาธิปไตย”

งานชุมชนท้องถิ่นพัฒนาที่ LDI ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องกว่า 2 ทศวรรษ เป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหว แนวคิดและแนวทางการพัฒนาด้วยวิธี “สร้างพระเจดีย์จากฐาน” ซึ่งมาจากความเชื่อมั่นพื้นฐานว่า ฐานพระเจดีย์ที่แข็งแรงจะรองรับองค์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่ และมั่นคง


“วิทยุชุมชน (2): สื่อสาธารณะระดับจุลภาค”

ปัญหาที่คุกคามสิทธิการสื่อสารและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน อย่างหนึ่งคือความเป็นอิสระในการรายงานข่าว ซึ่งสื่อมวลชนในประเทศไทยทุกแขนงมีข้อจำกัด ทั้งนี้เนื่องมาจากทุกองค์กรต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของนายทุน และนักการเมือง รวมทั้งอำนาจรัฐ


“วิทยุชุมชน(1): อย่านั่งรอเป็นฝ่ายถูกกระทำ” นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

เมื่อกระแสประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและการเมืองภาคพลเมืองในประเทศไทยพัดแรงขึ้น ภายหลังเหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 เรื่องสิทธิชุมชนจึงถูกกำหนดขึ้นไว้อย่างเป็นรูปธรรมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ทั้งในด้านฐานทรัพยากร การทำมาหากิน และการรับรู้ข่าวสาร มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ระบุชัดเจนว่าคลื่นความถี่เป็นสมบัติสาธารณะและต้องมีการจัดสรรให้ภาคส่วนต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสม ทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม โดยมีองค์กรอิสระขึ้นมาดำเนินการ


“ชีวิตและงาน จากประสบการณ์ที่ พม.” นพ.พลเดช ปิ่นประทีป

ในโอกาสครบรอบ 1 ปี ที่หมดภารกิจร่วมกับคณะรัฐมนตรีชุดขิงแก่ และเพื่อเป็นการร่วมกันสร้างสีสันให้กับ LDI-Website อันเป็นบ้านน้อยหลังหนึ่งของข่ายงานประชาสังคมในโลกไซเบอร์ ที่ www.ldinet.org ผมจึงมอบต้นฉบับบันทึกส่วนตัวที่เกี่ยวกับชีวิตและงานในช่วงนั้น ให้น้อง ๆ ที่ LDI ทะยอยจัดพิมพ์และลงเผยแพร่ทีละตอนเป็นรายสัปดาห์นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นไป


ที่นี่…LDI : จุดนัดพบทุกเช้าวันจันทร์

  คอลัมภ์ “ที่นี่ LDI” วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2552 “ที่นี่ LDI : จุดนัดพบทุกเช้าวันจันทร์” นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เพื่อนร่วมงานข่ายประชาสังคมที่รักครับ ในรอบปี 2551 ที่เพิ่งผ่านไป ความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองระดับชาติซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเมืองภาคประชาชนได้ส่งผลให้ทุกองคาพยพของสังคมไทยตึงเครียดไปหมด ผมและพวกเราที่ LDI ซึ่งเกาะติดสถานการณ์อยู่ที่ขอบสนาม ต้องพากันวิ่งเข้าวิ่งออกด้วยความห่วงใย จึงพลอยเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปด้วย