เล่าขานบ้านเมือง

ตอนที่ 45 : “หลีกวุ่นวาย ไปโอไฮโอ”

          รอบสัปดาห์นี้มีกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญ คือเรื่อง การเสนอ พรบ.งบประมาณ ปี 2551 เข้าสู่สภา ซึ่งรัฐมนตรีทั้งคณะต้องเข้าไปร่วมการประชุมกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพร้อมเพรียง 


ตอนที่ 44 : พัฒนาแฟลตดินแดง

          ในรอบสัปดาห์ หมอพลเดชยังคงติดอยู่ที่หน้าจอทีวี และหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ต้นสัปดาห์เป็นเรื่อง “รื้อแฟลตดินแดง สร้างชุมชนดินแดงใหม่” กลางสัปดาห์เรื่องจากครม. และปลายสัปดาห์เป็นบทสัมภาษณ์พิเศษ “ยุทธศาสตร์ดับไฟใต้” ในมติชน


ตอนที่ 43 : “ดีเอสไอลงดาบสอง”

          รอบสัปดาห์นี้มีเหตุการณ์บ้านเมืองที่ร้อนแรงหลายเรื่อง ฝ่ายรัฐบาลและกุมสถานการณ์ได้ดี ครองพื้นที่หน้าสื่อได้เกือบหมด รมช.พม.เปิดประเด็นรื้อแฟลตดินแดงจนเป็นเรื่องคุยกันสนั่นเมืองหัวข้อใหม่


ตอนที่ 42 : “คตส.ออกฤทธิ์”

          สัปดาห์นี้มีเรื่องหนัก ๆ มากมายประเดประดังเข้ามาสู่ศูนย์กลางอำนาจของประเทศ ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่เกินการคาดคิด คตส.ซึ่งเกาะติดบัญชีการเงินของทักษิณ และเครือญาติพบว่ามีการถ่ายโอนและเบิกจ่ายเงินออกไปผิดปกติมากถึง 8,000 ล้านบาท ประกอบกับมีหลักฐานความผิดทางทุจริตคอร์รัปชันอยู่เดิม 


ตอนที่ 41: “รัฐบาลร้าว”

          โดยไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดอะไรในรอบสัปดาห์   การโยนระเบิดของอาจารย์ ไพบูลย์ ในฐานะ รมว.พม.และรองนายกรัฐมนตรี กลางที่ประชุม ครม.เมื่อถูก รมว.มหาดไทยและหน่วยราชการรุมต้าน (ร่าง) พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนที่กระทรวง พม.เสนอว่า “เสียใจมากและอาจถึงขั้นทำงานร่วมไม่ได้!”  


ตอนที่ 40 : “พิพากษาประวัติศาสตร์”

           สัปดาห์นี้เรื่องร้องแรงที่คนไทยทั้งสังคมต่างจ้องมองด้วยความระทึกใจ คือการอ่านคำพิพากษาตัดสินคดียุบ 2 พรรคการเมืองใหญ่ “ประชาธิปัตย์” และ “ไทยรักไทย” กับอีก 3 พรรคการเมืองไม้ประดับ ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 30 พ.ค. 50 ณ ศาลรัฐธรรมนูญ กรุงเทพฯ วันนั้นมีการถ่ายทอดสดตลอดรายการ   ทุกสถานีโทรทัศน์   การอ่านคำพิพากษาใช้เวลารวม 10 ชั่วโมง (13.30-23.30 น.)  


ตอนที่ 39 : “วาทกรรมสกัดซักฟอก”

          เรื่องร้อนทางการเมืองในรอบสัปดาห์คงหนีไม่พ้น “การแถลงผลงาน 6 เดือนของรัฐบาล” และการอภิปรายของ สนช. เพราะสื่อมวลชนและสังคมกำลังจับตาดูว่าสมาชิก สนช. ที่มีการรวมกลุ่มกันประกาศเข้าชื่อขับไล่นายกสุรยุทธ์นั้นจะมีไม้เด็ดถล่มรัฐบาลประการใด และรัฐบาลจะเอาตัวรอดได้หรือไม่


ตอนที่ 38: “โจทย์ใหญ่ที่มาไม่รู้ตัว”

          สัปดาห์นี้ต้องเปลี่ยนแผนกระทันหัน เมื่อได้รับมอบหมายจากรองนายกฯไพบูลย์ให้ไปร่วมขบวน ครม. ลงใต้ที่จังหวัดกระบี่แทน   การที่วันจันทร์ไม่ได้เข้ากระทรวงส่งผลกระทบต่อการทำงานตามโปรแกรมในสัปดาห์นั้น อยู่พอสมควร


ตอนที่ 37 : “อบายมุข”

          เป็นช่วงที่ทำงานต่อเนื่องในภารกิจรัฐมนตรีโดยไม่มีวันหยุดนับเป็นสัปดาห์ที่ 9 มีความเข้มข้นในสาระของงานอยู่ทุกวัน   ประเด็นร้อนเรื่องหวย 2-3 ตัว ที่ รมว.คลัง ขับเคลื่อนออกมาได้ทำให้ รมช.พม.


ตอนที่ 36 : “ตระเวนภูมิภาค”

            สัปดาห์นี้นอกจากการประชุมครม.และคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว ยังได้เดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัด ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้สถานการณ์ ปัญหา และศักยภาพของกระทรวงพม.ในมิติต่างๆ จนเกิดแนวนโยบายที่น่าสนใจหลายเรื่อง


ตอนที่ 35 : “หลบสายตาไปอาเซียน”

            ในสัปดาห์นี้มีปฏิกิริยาน้อย ๆ จาก ครม. จนผมต้อง low profile ลงบ้าง พอดีจังหวะไปสิงคโปร์ 4 วัน ทำให้หายหน้าหายตาไปจากแวดวงสื่อสารชั่วขณะ   แต่งานประชุมรัฐมนตรีอาเซียน AMMY V (ASEAN Ministerial Meeting on Youth, 5th ) ก็ทำให้เกิดมุมมอง และวิสัยทัศน์ทางนโยบายที่กว้างออกไป จากระดับประเทศสู่ภูมิภาค กลุ่มประเทศ ASEAN


ตอนที่ 34: “ปรับ ครม.-ปรับวิธีทำงาน”

          หลังจากหยุดยาว 5 วันในช่วงสงกรานต์ เริ่มทำงานวันพุธ ด้วยการประชุม ครม.นัดพิเศษ มีการหารือเรื่องปรับ ครม.และปรับวิธีการทำงานของรัฐบาล ผลออกมาในแนวทางที่พวกเราหารือกัน