เล่าขานบ้านเมือง

ตอนที่ 15: “เขียนแผนท่ามกลางการเคลื่อนไหวและเดินทาง”

          สัปดาห์นี้ครม.งดประชุมเพราะวันอังคารเป็นวันที่ 5 ธค. 2549 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ซึ่งทั้งวันที่ 4-5 มีงานพระราชพิธี ทำให้มีเวลาอีก 1 วัน ในการทำโครงการลดละเลิกอบายมุข


ตอนที่ 13 “เดินสายพบเครือข่าย ทีวี วิทยุ”

          ชีวิตติดเครื่องต่อมาจนถึงวันจันทร์อีกครั้งโดยไม่ได้หยุดพัก             20 พย. เดินทางไปขอนแก่นตั้งแต่เช้ามืด เป็นโปรแกรมออกเยี่ยมพื้นที่ของรัฐมนตรีและทีมงาน สัปดาห์ที่แล้วเริ่มต้นที่ลำปาง เราตั้งใจไป 2 Trips จากทั้งสิ้น 6 trips ส่วนที่เหลือก็แบ่งกันไป ในขณะที่รมว.ไพบูลย์ ต้องไปทุกครั้ง


ตอนที่ 12 “HPL ปิดโครงการ แบบทะยานขึ้น”

            มีเสียงสะท้อนจากผู้ปรารถนาดีมาหนาหูมากขึ้นว่า สายงานของรมว.พม.และทีมงานค่อนข้างมีแต่ชุมชน-ท้องถิ่น ขาดภาพลักษณ์ของกลุ่มเป้าหมาย และประเด็นสังคมอื่นๆไปหน่อย สิ่งที่อ.ไพบูลย์ สัมภาษณ์สื่อมีแต่เรื่องชุมชนท้องถิ่น กลุ่มที่มาพบก็เป็นพวกชุมชนท้องถิ่น จึงอยากให้มีกิจกรรมที่สะท้อน sector อื่นๆ, issue อื่นๆ ของกระทรวงพม.ให้มากขึ้น



ตอนที่ 10 “สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน”

          สัปดาห์ที่ 5 ของการเข้ามาบริหารกระทรวง พม. เป็นสัปดาห์ที่เริ่มประกาศการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ของกระทรวง พม. ในยุคใหม่-เริ่มด้วยยุทธศาสตร์สังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน


ตอนที่ 9 “ไม้พ้นต้องลงมือ”

          ตลอดสัปดาห์นี้ อาจารย์ประเวศเป็นฝ่ายกดดันพวกเรา เพราะอาจารย์ท่านอยากเห็น “เอกสารยุทธศาสตร์” ที่มอบการบ้านให้ และพี่เอนก รับปากว่าจะเป็นผู้จัดทำ


ตอนที่ 8 “ประเมินสภาพ กำหนดยุทธศาสตร์”

          เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการเยี่ยมหน่วยงานเป็นรายกรม รายสำนักงานเพื่อทำความรู้จักคณะผู้บริหารและข้าราชการ ตลอดจนไปค้นหาศักยภาพของแต่ละหน่วย   ค้นหาคำตอบว่างานสำคัญหนึ่งเดียวที่เขาอยากทำที่สุดใน 1 ปี ร่วมกับทีม รมว.คืองานอะไร


ตอนที่ 7 “สัปดาห์แรกที่ พม.”

          เมื่อรู้ตัวและตัดสินใจที่จะต้องมาช่วยกันรับผิดชอบบริหารกระทรวง พม. อย่างน้อย 1 ปี เรา 3 พี่น้อง (ไพบูลย์ เอนก พลเดช) ต่างคนต่างมีภารกิจที่รัดตัวกันอยู่ก่อน จึงต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ โปรแกรมต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ ส่วนใหญ่ก็ตัดไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีประคับประคองตัวกันไปแบบวันต่อวัน


ตอนที่ 6 “การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิด”

           เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยเรื่องหนักๆ เช่นเคย บ่าย 15.30 น. มีนัด อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาค (ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ) เพื่อให้ข้อมูลประกอบการยกร่างกฎหมายดับไฟใต้ (พ.ร.บ.สันติสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) และความต้องการของกลุ่มประชาคมมุสลิม จชต.


ตอนที่ 5 “ควันหลง รัฐประหาร”

นอกจากงาน สัมมนาวิชาการปิดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่(HPL) และ งานสัมมนาประจำปีโครงการเมืองน่าอยู่ (HC) ที่เลื่อนไปแล้ว ยังมีภารกิจที่ค้างอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ “การจัดงาน 30 ปี 6 ตุลาคม”


16 เดือนที่ผมเป็นนักการเมือง: ตอนที่ 4 “คปค.ยึดอำนาจ”

            เช้าวันจันทร์ 18 ก.ย.ไปสอนหนังสือที่โรงเรียนนายอำเภอ รุ่น 61 ที่วิทยาลัยการปกครอง อ.ธัญบุรี             หลักสูตรนายอำเภอในระยะหลัง เขาได้บรรจุหัวข้อ “ประชาสังคมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนา” ทำนองนี้เอาไว้ทุกรุ่น และมักจะเชิญผมไปเป็นอาจารย์บรรยายประจำเลยทีเดียว คราวละ 3 ชั่วโมงเต็ม สอนมาทั้งหมดร่วม 10 รุ่นแล้ว              เป้าหมายก็มุ่งพยายามให้ข้าราชการฝ่ายปกครองระดับอาวุโสที่กำลังจะเป็นนายอำเภอได้มีความรู้ความเข้าใจต่อการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนและมีทัศนคติเชิงบวก มิใช่มองอะไรที่คับแคบ ตายตัวและยึดติดภาพของ NGO แล้วเหมารวมว่าองค์กรภาคประชาชน-ภาคประชาสังคมทั้งหมดคือ NGO ที่มีปัญหากับราชการ


16 เดือนที่ผมเป็นนักการเมือง : ตอนที่ 3 “สานใจไทยสู่ใจใต้”

เช้าวันจันทร์ 11 ก.ย. หารือกับ สสส. (คุณณัฐพงศ์ – ผอ.แผนงานด้านชุมชน) ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูโครงการยุทธศาสตร์แก้ปัญหา จชต.โครงการเสนอไป 49 ล้าน แต่เขาคงยากลำบากและไม่สุกงอมที่จะสนับสนุนเต็มที่นัก จึงตกลงกันว่าจะลดขนาดลงเหลือเพียง 9 ล้านบาทและให้ปรับโครงการใหม่ งาน จชต. นั้นยากที่จะหาคนที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีเงื่อนไขที่จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้จริง ส่วนใหญ่นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายก็มีแต่ความเห็นและจากความรู้สึกนึกคิดทั้งนั้น ในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่เกิดเหตุปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส…