เกษตรปลอดภัยและอาหารปลอดภัย

(ตอนที่ 4) วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง

วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง[1] จากสภาพพื้นที่ที่ตั้งของบ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน ตั้งอยู่เขตที่ลุ่มของจังหวัดพัทลุง เป็นทุ่งราบสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพพื้นที่เหมาะแก่การกสิกรรม อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำนา และด้วยวิถีการผลิตที่เน้นปลูกขายเพื่อขาย ทำให้ชาวนาที่นี้เร่งการผลิต ใช้สารเคมีทุกประเภท เพื่อให้ข้าวได้ผลผลิตสูงๆ แต่ผลที่ตามคือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น กำไรในแต่ละปีจึงเหลือเพียงน้อยนิดชาวนาบางรายมีหนีสินจากการทำนา และที่สำคัญนั้นชาวนาบ้านท่าช้างต่างมีร่างการทรุดโทรมลงเรื่อยๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำนาเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะทำให้ชุมชนของตนเองอยู่อย่างสมบูรณ์พุนสุข โดยเกิดจากคนในชุมชนเองที่ลุกขึ้นมาตั้งคำถาม ร่วมกันค้นหาคำตอบ และก่อนจะลงมือจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาและร่วมกันสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดแก่ชุมชน จากจุดเริ่มที่เหมือนไร้ทางออก สู่ความสำเร็จที่ชาวชุมชนได้รับกันถ้วนหน้า คือ…


(ตอนที่ 2) เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญมีพื้นที่ทั้งสิ้นจำนวน 19,795,780 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ทำการเกษตรกรรม 937,692 ไร่ คิดเป็น 47 % ของพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะกับการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวพันธุ์พื้นเมืองท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี


(ตอนที่ 1) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกฉะเชิงเทรา

เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ จ.ฉะเชิงเทรา นับได้ว่าเป็นเครือข่ายเกษตรกรที่รวมกลุ่มขนาดใหญ่ สร้างพลังการผลิต การตลาด และการขับเคลื่อนสังคมที่เข้มแข็งที่สุดกลุ่มหนึ่งของขบวนการเกษตรยั่งยืนของไทย


ถอดบทเรียนชุมชนเกษตรปลอดภัยและอาหารปลอดภัย

จากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในเรื่องเกษตร ทำให้มีการขับเคลื่อนมติโดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนซึ่งมีภารกิจทั้งการพัฒนานโยบายด้านเกษตรและอาหารปลอดภัย และการแสวงหาชุมชนต้นแบบที่ดำเนินกิจกรรมด้านเกษตรปลอดภัยและอาหารปลอดภัย เพื่อที่จะนำเสนอในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเดือนธันวาคม 2559